เทคโน
เทคโน (อังกฤษ: techno) เป็นรูปแบบของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์[1]ที่เกิดขึ้นในดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 1980 คำว่า techno ได้ถูกจัดเป็นแนวดนตรีครั้งแรกในปี ค.ศ. 1988[2][3] แม้ว่าเทคโนจะมีแนวย่อยที่หลายแนวแต่ดีทรอยต์เทคโนเป็นรากฐานที่มีการเกิดแนวเพลงย่อยจำนวนมาก[4]
เทคโน | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | เฮาส์, อิเล็กโทร, ซินธ์ป็อป, ชิคาโกเฮาส์, EBM, นิวบิต, ไฮ-เอ็นอาร์จี, แอซิดเฮาส์, ดีทรอยต์เทคโน |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | กลางทศวรรษ 1980 ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา |
เครื่องบรรเลงสามัญ | คีย์บอร์ด, เครื่องสังเคราะห์เสียง, ซีเควนเซอร์, ดรัมแมชชีน, ซามเพลอ |
รูปแบบอนุพันธุ์ | IDM, แทรนซ์, เอซิดเฮาส์, ฮาร์ดคอร์ |
แนวย่อย | |
เอซิด, มินิมอล, วองกี้, อินดัสเทรียล์ | |
แนวประสาน | |
ไมโครเฮาส์, เทคเฮาส์, เทคเทรนซ์, เทคสเตป | |
ทัศนียภาพในระดับภูมิภาค | |
Detroit techno, Nortec, Schranz, Yorkshire Bleeps and Bass, Jtek | |
หัวข้ออื่น ๆ | |
Electronic musical instrument, computer music, record labels, raves, free party, teknival |
แรกเริ่มเทคโนได้รวมดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในสไตล์ของศิลปินเช่น ครัฟท์แวร์ค (Kraftwerk) จอร์โจ มอโรเดร์ (Giorgio Moroder) และ เยลโลแมจิกออร์เคสตรา (Yellow Magic Orchestra) พร้อมกับแนวเพลงแอฟริกันอเมริกัน รวมทั้ง ฟังก์ อิเล็กโทร ชิคาโกเฮาส์ และอิเล็กทริกแจ๊ส[5] นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลรูปแบบมากมายและบทเพลงที่ไม่มีฅัวต้น[6] ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในอเมริกาในปลายยุคสังคมทุนนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือ The Third Wave (เดอะเธิร์ดเวฟ) โดย อัลวิน ทอฟเลอร์ (Alvin Toffler)[7][8] โปรดิวเซอร์เพลงผู้บุกเบิก วาน แอตกินส์ (Juan Atkins) กล่าวถึงการถ้อยคำ "เทคโนเรเบลส์" (techno rebels) ของทอฟเลอร์ ได้เป็นแรงบันดาลใจให้เขาได้ใช้คำ เทคโน ที่จะอธิบายดนตรีสไตล์เขาที่ได้ช่วยสร้างไว้ ผสมผสานเอกลักษณ์ได้รับอิทธิพลจากแนวเทคโนกับสุนทรียะที่เรียกว่า อัฟโฟรฟิวเจอร์ริสม์ (afrofuturism) โปรดิวเซอร์เช่น เดอร์ริก เมย์ (Derrick May) ได้กล่าวว่า ในการเปลี่ยนแปลงของจิตวิญญาณออกจากร่างกายไปยังเครื่องจักรกลที่มักจะเป็นต้นเหตุของความหลงใหลที่เป็นหลักการแสดงออกจากจิตวิญญาณเทคโนโลยี[9][10] ในกรณีนี้: "เทคโนแดนซ์มิวสิกสิ้นหวังเช่นไร อโดร์โน เห็นว่าเป็นผลการทำให้เหินห่างของการนำเครื่องจักรมาใช้แทนคนในจิตสำนึกที่ทันสมัย"[11]
เฉพาะรูปแบบแล้ว โดยทั่วไปเทคโน ได้ผลิตแบบบรรเลงดนตรีอย่างซ้ำ ๆ ในการใช้งานอย่างต่อเนื่องของชุดดีเจ จังหวะเสียงกลองส่วนใหญ่มักจะอยู่ในเวลาปานกลาง (4/4) ที่เวลาถูกตั้งค่ากับกลองเบสในแต่ละจังหวะโน้ตสี่ส่วน จังหวะเล่นย้อนหลังจะเป็นเสียงกลองเล็กหรือเสียงตบมือในสองและสี่จังหวะของท่อนและเปิดเสียงฉาบเพื่อการทำให้เกิดเสียงในทุกครั้งต่อวินาทีที่ท่อนแปด จังหวะมีค่อนข้างที่จะแตกต่างกันไประหว่างประมาณ 120 จังหวะต่อนาที (จังหวะโน้ตสี่ส่วนเท่ากับ 120 ต่อนาที) และ 150 ครั้งต่อนาทีที่ขึ้นอยู่กับสไตล์ของเทคโน
ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเทคโนโลยีในการผลิตเพลง เช่น ดรัมแมชชีน เครื่องสังเคราะห์เสียงและดิจิทัลออดิโอเวิร์กสเตชัน ถูกมองว่าเป็นสิ่งสำคัญของสุนทรียะของเพลง หลายโปรดิวเซอร์เพลงได้ใช้ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แบบย้อนยุคในการสร้างสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจะเป็นเทคโนเสียงจริง ดรัมแมชชีนในทศวรรษ 1980 เช่น ทีอาร์-808 ของโรแลนด์ และ ทีอาร์-909 มีราคาแพงมากและการเลียนแบบซอฟต์แวร์ย้อนยุคของเทคโนโลยีดังกล่าวได้อยู่ในความแพร่หลายในหมู่โปรดิวเซอร์
นักข่าวและแฟนเพลงเทคโน มักจะเลือกใช้คำนี้ เพื่ออธิบายถึงดนตรีที่เกี่ยวข้องกันได้ถึงแม้ว่ามีความแตกต่างที่ชัดเจน แต่มักมีแนวดนตรีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น เทคเฮาส์ และ แทรนซ์[12][13][14][15]
อ้างอิง
แก้- ↑ According to Butler (2006:33) use of the term EDM "has become increasingly common among fans in recent years. During the 1980s, the most common catchall term for EDM was house music, while techno became more prevalent during the first half of the 1990s. As EDM has become more diverse, however, these terms have come to refer to specific genres. Another word, electronica, has been widely used in mainstream journalism since 1997, but most fans view this term with suspicion as a marketing label devised by the music industry".
- ↑ Brewster 2006:354
- ↑ Reynolds 1999:71. Detroit's music had hitherto reached British ears as a subset of Chicago house; [Neil] Rushton and the Belleville Three decided to fasten on the word techno – a term that had been bandied about but never stressed – in order to define Detroit as a distinct genre.
- ↑ "Detroit techno". Keyboard Magazine (231). July 1995.
- ↑ Bogdanov, Vladimir (2001). All music guide to electronica: the definitive guide to electronic music (4 ed.). Backbeat Books. p. 582. ISBN 0-87930-628-9. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
Typically, that birth is traced to the early '80s and the emaciated inner-city of Detroit, where figures such as Juan Atkins, Derrick May, and Kevin Saunderson, among others, fused the quirky machine music of Kraftwerk and Yellow Magic Orchestra with the space-race electric funk of George Clinton, the optimistic futurism of Alvin Toffler's The Third Wave (from which the music derived its name), and the emerging electro sound elsewhere being explored by Soul Sonic Force, the Jonzun Crew, Man Parrish, "Pretty" Tony Butler, and LA's Wrecking Cru.
- ↑ Rietveld 1998:125
- ↑ Sicko 1999:28
- ↑ Having grown up with the latter-day effects of Fordism, the Detroit techno musicians read futurologist Alvin Toffler's soundbite predictions for change – 'blip culture', 'the intelligent environment', 'the infosphere', 'de-massification of the media de-massifies our minds', 'the techno rebels', 'appropriated technologies' – accorded with some, though not all, of their own intuitions, Toop, D. (1995), Ocean of Sound, Serpent's Tail, (p. 215).
- ↑ Kodwo 1998
- ↑ Reynolds 1999:51. ...techno artists often talk about what they do in the seemingly inappropriate language of traditional humanist art – 'expression', 'soul', 'authenticity', 'depth'.
- ↑ Mc Leod, K.,"Space oddities: aliens, futurism and meaning in popular music", Popular Music (2003) Volume 22/3. Copyright 2003 Cambridge University Press, pp. 337–355.
- ↑ "Music Faze - The Electro House, Dubstep, EDM Music Blog: Electronica Genre Guide". 20 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2014. สืบค้นเมื่อ 22 November 2019.
- ↑ Critzon, Michael (17 September 2001). "Eat Static is bad stuff". Central Michigan Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 August 2007.
- ↑ Hamersly, Michael (23 March 2001). "Electronic Energy". The Miami Herald: 6G.
- ↑ Schoemer, Karen (10 February 1997). "Electronic Eden". Newsweek. p. 60. Every Monday night, Natania goes to Koncrete Jungle, a dance party on new York's lower East Side that plays a hip, relatively new offshoot of dance music known as drum & bass—or, in a more general way, techno, a blanket term that describes music made on computers and electronic gadgets instead of conventional instruments, and performed by deejays instead of old-fashioned bands.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Techno Live Sets - The #1 resource for Techno sets
- "From the Autobahn to I-94: The Origins of Detroit Techno and Chicago House" เก็บถาวร 2016-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – reminiscences in 2005 by techno and house innovators
- Sounds Like Techno – online historical documentary produced by the Australian Broadcasting Corporation (ABC)
- Techno from past years เก็บถาวร 2022-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Oldie but goldie classic techno sets