เต้นไลง์
เต้นไลง์ (พม่า: သိန်းလှိုင်; Thein Hlaing) หรือชื่อเก่า เอ็ดเวิร์ด ทอมป์สัน โฮ้ก วัง (อังกฤษ: Edward Thompson Hoke Wang;[1] 3 พฤศจิกายน 1933 – 10 สิงหาคม 2021) หรือรู้จักด้วยคำนำหน้าชื่อว่า นาคาเต้นไลง์ (พม่า: နာဂသိန်းလှိုင်, ออกเสียง: [nàga̰ θèɪ̯ɰ̃ l̥àɪ̯ɰ̃]) เป็นศัลยแพทย์ชาวพม่า เป็นที่รู้จักไปทั่วจากการทำหัตถการศัลยศาสตร์ต่อมไร้ท่อโดยใช้เพียงยาชาเฉพาะที่เท่านั้นในทิวเขานาคาทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า[2] นับตั้งแต่เมื่อเขาสามารถทำการรักษาคอพอกซึ่งหมอผีในท้องถิ่นไม่สามารถรักษาได้ เต้นไลง์ก็ได้รับการยอมรับจากชาวนาคาให้เป็น นาคานะ (เทพเจ้าแห่งชาวนาคา) และได้รับการบูชาเยี่ยงเทพเจ้าในบรรดาชาวนาคา[3][4]
นาคา เต้นไลง์ | |
---|---|
နာဂသိန်းလှိုင် | |
นาคาเต้นไลง์เมื่อปี 2012 | |
เกิด | เต้นไลง์ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1933 สะเทิม ภาคตะนาวศรี พม่าของบริเตน (ปัจจุบันรัฐมอญ ประเทศพม่า) |
เสียชีวิต | 10 สิงหาคม ค.ศ. 2021 ย่างกุ้ง ประเทศพม่า | (87 ปี)
สุสาน | สุสาน Yay Way ย่างกุ้ง |
ชื่ออื่น | Edward Thompson Hoke Wang, Shwe Darr Bo |
พลเมือง | ชาวพม่า |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 1 ย่างกุ้ง |
อาชีพ | ศัลยแพทย์ |
ปีปฏิบัติงาน | 1962–1988 |
นอกจากนี้ นาคาเต้นไลง์ยังได้รับการบูชาอย่างสูงในบรรดาแพทย์ชาวพม่า[5] ประวัติชีวิตของเขายังคงเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ของพม่า ที่ซึ่งเขาได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษ[6]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
แก้เต้นไลง์เกิดเมื่อปี 1933[7] ในเมืองสะเทิม รัฐมอญ ในครอบครัวเชื้อสายจีน[8] บิดาของเขาต้องการให้เขาเป็นพ่อค้าและสืบทอดธุรกิจของที่บ้าน แต่เขาเลือกที่จะเป็นแพทย์ เขาจบการศึกษาวุฒิบัตร MBBS จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 1 ย่างกุ้ง[9]
วิชาชีพ
แก้ในสมัยเป็นนักศึกษา เต้นไลง์เป็นเลขาธิการใหญ่ประจำสหพันธ์นักเรียนแพทย์ในปี 1957 และประจำสมาคมแพทย์รุ่นเยาว์ (Young Doctors Association; YDA) ในปี 1960[8] สมัยเขาเป็นแพทย์อินเทิร์นศัลยศาสตร์ เขาเคยนำการนัดประท้วงหยุดงานเรียกร้องกรณีแพทย์อินเทิร์นในโรงพยาบาลรัฐบาลได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่า[10]
เขาเป็นแพทย์ผู้ช่วยประจำอำเภอมะริดในปี 1962[8] และจากปี 1965 ถึง 1971 เขาถูกส่งตัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ศัลยแพทย์ประจำจังหวัดคำตี่ในทิวเขานาคาของเขตซะไกง์[9] ในเวลานั้น 70% ของประชากรชาวนาคาป่วยด้วยโรคคอพอก เขาจึงมีหน้าที่ในการรักษาคอพอกโดยการผ่าตัด และรักษาโรคอื่น ๆ ในพื้นที่ ในระยะแรก เขาต้องเจอกับการต่อต้านจากชาวนาคา และพบอุปสรรคในการให้ความรู้จนถึงการชักจูงชาวนาคาเพื่อรับการรักษา เขาปฏิญาณตนด้วยชีวิตว่าจะทุ่มเทให้กับการทำงานนี้[11]
เนื่องจากในพื้นที่ขาดแคลนสาธารณูปโภคต่าง ๆ เต้นไลง์ทำการผ่าตัดแม้แต่ใต้ต้นไม้ หรือนอกบ้านเรือนของชาวนาคา[9] ในที่สุดก็สามารถชนะใจชาวนาคาและขึ้นมาทดแทนรูปแบบการรักษาด้วยหมอผีของท้องถิ่น จนในที่สุดเขาได้รับการบูชาดุจเป็นเทพเจ้าของชาวนาคา[3]
เขาระบุจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดโดยยาชาเฉพาะที่กับเขาอยู่ที่รวม 2,895 คน ตลอดระยะเวลา 47 ปี การผ่าตัดของเขาไม่เคยส่งผลให้มีผู้ป่วยชีวิตระหว่างผ่าตัดแม้แต่คนเดียวนับตั้งแต่ปี 2009 จนเขาเกษียณอายุ[10]
บั้นปลาย
แก้เต้นไลง์ เกษียณอายุทางการในวันที่ 30 เมษายน 1988 โดยไม่ได้รับเบี้ยบำนาญ[8] ในวันที่ 15 มกราคม 2020 ในพิธีปีใหม่ของนาคา เขาได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติจากผู้นำแห่งพื้นที่ปกครองตนเองนาคาสำหรับบทบาทที่เขามีต่อชาวนาคา[12][11]
เขาเสียชีวิตในวันที่ 10 สิงหาคม 2021 ด้วยวัย 87 ปีในย่างกุ้ง[3]
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้นาคาเต้นไลง์ปรากฏตัวเป็นตัวเอกในนวนิยายปี 2016 เรื่อง The Sweet Honey Drop on the Sharp Scalpel Blade โดย ญี ปู เล่[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ "စာရေးဆရာ ညီပုလေးရဲ့ ဝတ္ထု အင်္ဂလိပ်လို ဖๆတ်ရှုနိုင်ပြီ". The Irrawaddy. 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
- ↑ "Ambulatory Surgery by Dr Naga". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-10. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "၂၀၂၁ မြန်မာ စစ်အာဏာသိမ်း - ဆရာဝန်ကြီး ဒေါက်တာ နာဂသိန်းလှိုင် ကွယ်လွန်". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
- ↑ Aung Myin Thu (4 May 2015). "သံသယပျောက်ပြီး အမှန်ဘဝရောက်ဖို့" (ภาษาพม่า). Tomorrow Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-11. สืบค้นเมื่อ 25 June 2016.
- ↑ "Doctor for peace". The Myanmar Times. 11 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-11. สืบค้นเมื่อ 2021-09-18.
- ↑ "The adventures of the Myanmar surgeon in Congo". The Myanmar Times. 3 August 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-11. สืบค้นเมื่อ 2021-09-18.
- ↑ "ခွဲစိတ်ကု ဆရာဝန်ကြီး ဒေါက်တာ နာဂ သိန်းလှိုင် ကွယ်လွန်". Eleven Media Group Co., Ltd (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "ဝေးလံခေါင်ဖျားရာအရပ်တွင် လူသားအကျိုးပြုသူ ဆရာကြီး ဒေါက်တာနာဂသိန်းလှိုင် ကွယ်လွန်". Mizzima Myanmar News and Insight (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "The Naga patient". The Myanmar Times. 19 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-10. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
- ↑ 10.0 10.1 "ထက်မြက်တဲ့ဓားသွားပေါ်က ချိုမြမြပျားရည်စက် (သို့) နာဂတောင်တန်းက ဆရာဝန် သူရဲကောင်းအကြောင်း". The Myanmar Times. 31 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-10. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
- ↑ 11.0 11.1 "ထက်လွန်းတဲ့ဓား၊ ချိုလွန်းတဲ့ ပျားရည်". DVB (ภาษาพม่า). 14 April 2020.
- ↑ "နာဂဒေသ ခွဲစိတ်ဆရာဝန်ကြီး ဒေါက်တာသိန်းလှိုင် ကွယ်လွန်". Radio Free Asia. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
- ↑ "အနစ်နာခံတဲ့ ဆရာ၀န်အကြောင်း ဝတ္ထုရှည် စာပေဆု ဆွတ်ခူး ဆွတ်ခူး". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.