นายพลเดียน เดล (Dien Del) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นทหารชาวกัมพูชาที่ดำรงตำแหน่งนายพลในสมัยสาธารณรัฐเขมร และเป็นผู้นำกองทัพปลดปล่อยประชาชนเขมรระหว่างการต่อต้านการยึดครองของเวียดนาม

เดียน เดล
นายพลเดียน เดลเมื่อ พ.ศ. 2551
เกิดพ.ศ. 2475
โคชินจีน อินโดจีนฝรั่งเศส
สัญชาติกัมพูชา
อาชีพทหารบก

ช่วงแรก

แก้

เดียน เดลเป็นชาวขแมร์กรอมเกิดในอาณานิคมโคชินจีนของฝรั่งเศส[1] ได้เข้าเรียนในวิทยาลัยสีสุวัตถิ์ในพนมเปญระหว่าง พ.ศ. 2489 – 2495 จากนั้นเข้าทำงานในกองทัพฝรั่งเศสในกัมพูชา[2] ระหว่าง พ.ศ. 2496 – 2499 เขาเป็นหัวหน้ากองพันที่ 6 ที่กำปงสะปือ จากนั้น ย้ายมาอยู่ที่พนมเปญใน พ.ศ. 2500 จากนั้น เข้าเรียนในสถาบันวิชาการทางทหารระหว่าง พ.ศ. 2500 – 2501 และไปศึกษาต่อด้านการทหารที่ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2502 – 2503 และกลับมารับราชการทหารในกัมพูชาเมื่อพ.ศ. 2504

สงครามกลางเมืองกัมพูชา

แก้

ใน พ.ศ. 2513 เดลได้เป็นพันโทในกองทัพแห่งชาติกัมพูชา และเป็นผู้บัญชาการกองพันที่สองที่เปรยซอร์ใกล้กับพนมเปญ และยังเกี่ยวข้องกับการนำทหารกัมพูชาเข้าไปในเวียดนามใต้เพื่อช่วยเหลือทหารสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2514 เขาได้เป็นพันเอก และกองทหารของเขาได้เข้าร่วมในยุทธการเจนละ 2 เพื่อเข้าปราบปรามฝ่ายตรงข้ามที่จังหวัดกำปงธม[3] หลังจากนั้น เขาได้ไปศึกษาต่อที่ไซ่ง่อน เวียดนามใต้ และกลับสู่กัมพูชาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 ได้เลื่อนยศเป็นนายพลจัตวา ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2517 เขาได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพในจังหวัดกันดาล[4]

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2518 เดลมีหน้าที่ในการรบป้องกันพนมเปญ วิทยุของเขมรแดงรายงานว่าเดลได้รับบาดเจ็บที่เดยเอ็ทเมื่อ 20 กุมภาพันธ์[5] ในเดือนเมษายนเขาอยู่ในกองทหารที่ป้องกันสะพานมณีวงศ์ ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำบาสักและเป็นทางหลักในการเข้าสู่พนมเปญ เมื่อเขมรแดงเข้าเมืองได้ เดลเดินทางออจากพนมเปญพร้อมกับเฮลิคอปเตอร์เที่ยวสุดท้ายมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา[6] เขาอยู่ในค่ายผู้อพยพจนถึงเดือนพฤษภาคม จึงลี้ภัยไปสหรัฐอเมริกา[7]

บทบาทในแนวร่วมปลดปล่อยฯ

แก้

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2520 เดลเดินทางไปยังปารีสเพื่อร่วมก่อตั้งกองทัพฝ่ายต่อต้านที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ร่วมกับซอน ซาน ต่อมา ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เดลเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร[8] โดยมีทหารในช่วงแรก 1,600 นาย ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2522 กองทัพนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร โดยเขาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร

การสู้รบแบบกองโจรเพื่อต่อต้านเวียดนาม

แก้

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2524 เดลจัดตั้งค่ายฝึกที่ค่ายผู้อพยพบ้านสังแก หลังจากที่สัก สุตสคานเดินทางจากสหรัฐอเมริกามาถึงประเทศไทยและเข้าร่วมกับแนวร่วมปลดปล่อยฯ ในฤดูแล้ง พ.ศ. 2527 – 2528 แนวร่วมได้สูญเสียทหารไปราว 12,000 - 15,000 คน ในการสู้รบกับเวียดนาม[9] ความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในแนวร่วมปลดปล่อยฯ [10] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2528 ผู้นำของแนวร่วมปลดปล่อยฯ หลายคนได้ร่วมก่อตั้งคณะกรรมการกลางชั่วคราว สมาชิกหลักของกลุ่มประกอบด้วยสัก สุตสคาน เดียน เดล อับดุล กัฟฟาร์ เปียง เมท ฮิง กุนทอน และฮุย กันทวล[11]

ซอน ซานได้ต่อต้านโดยจัดตั้งหน่วยงานทางทหารใหม่ ภายใต้การบัญชาการของนายพลปรุม วิธ ผลของความขัดแย้งนี้ทำให้ สัก สุตสคานประกาศลาออกจากการควบคุมทางทหารในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2529 เดลลาออกเช่นเดียวกันในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน และไปบวชเป็นพระภิกษุ[12] หลังจากลาสิกขาในปลายปีใน พ.ศ. 2529 เดลได้เป็นผู้บัญชาการสูงสุดในการต่อต้านเวียดนาม จนกระทั่งมีการถอนทหารออกจากกัมพูชา ใน พ.ศ. 2533 เขาประกาศสลายแนวร่วมปลดปล่อยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 [13]

หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536

แก้

ใน พ.ศ. 2537 เดลได้เป็นจเรทหารทั่วไปของกองทัพกัมพูชา และใน พ.ศ. 2541 ได้เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติกัมพูชาในฐานะสมาชิกพรรคฟุนซินเปก[14] ใน พ.ศ. 2543 เดลได้เป็นคณะกรรมาธิการทางด้านมหาดไทย กลาโหม การลงทุนของสมัชชาแห่งชาติ[15] และเป็นที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชา

อ้างอิง

แก้
  1. Jennar (1995), p. 197
  2. Information supplied by General Dien Del himself during an interview with the Cambodia Oral History Project on August 22, 1994. Transcript available at The Vietnam Center and Archive, [1], item no. 3671302006.
  3. Sak S. The Khmer Republic at War and the Final Collapse. Washington: U.S. Army Center of Military History, 1980, Part 2, pp. 72-79. เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน See also Part 1 เก็บถาวร 2019-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนPart 2 เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนPart 3 เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Sak, S., 1980, p. 136
  5. Transcript available at The Vietnam Center and Archive, [2], item no. 2430708015
  6. Swain J. River of Time. London: Heinemann, 1995, p. 135
  7. Cambodia Oral History Project interview transcript, The Vietnam Center and Archive, [3], item no. 3671302006.
  8. Corfield J.J. "A History of the Cambodian Non-Communist Resistance, 1975-1983." Clayton, Vic., Australia: Centre of Southeast Asian Studies, Monash University, 1991, p. 8
  9. Russell R. Ross, ed. Cambodia: A Country Study. Washington: GPO for the Library of Congress, 1987.
  10. Far Eastern Economic Review, 24 October 1985, p. 44
  11. Ross, op. cit.
  12. “Ordained: Gen. Dien Del.” Asiaweek, 3 Aug 1986.
  13. "Cambodians Hand Over Weapons to the UN", New Straits Times, Feb 23, 1992.
  14. KINGDOM OF CAMBODIA, LEGISLATIVE ASSEMBLY OF 26 JULY 1998
  15. Television Kampuchea, Phnom Penh - May 26, 2000.
  • Jennar, Raoul Marc; Les clés du Cambodge, Maisonneuve et Larose, 1995, ISBN 2706811501

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้