เซฺว เยฺว่
เซฺว เยฺว่ (จีน: 薛岳; พินอิน: Xuē Yuè; เวด-ไจลส์: Hsüeh Yüeh; 26 ธันวาคม ค.ศ. 1896 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 เป็นนายพลผู้บัญชาการทหารแห่งพรรคก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ)
เซฺว เยฺว่ | |
---|---|
ชื่อพื้นเมือง | 薛岳 |
ชื่อเล่น | นายพลแพตตันแห่งเอเชีย, พยัคฆ์แห่งฉางชา |
เกิด | 26 ธันวาคม ค.ศ. 1896 เฉากวาน, มณฑลกวางตุ้ง, ราชวงศ์ชิง |
เสียชีวิต | 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 เทศมณฑลเจียอี้ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) | (101 ปี)
รับใช้ | สาธารณรัฐจีน |
แผนก/ | กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน ค.ศ. 1914–1950 |
ชั้นยศ | นายพล |
หน่วย | เหล่าที่ 4 |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งเขตสงครามต่อต้านญี่ปุ่นที่ 9 |
การยุทธ์ | |
บำเหน็จ | Order of Blue Sky and White Sun |
งานอื่น | นักการเมือง |
ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองได้รับสมญานามจากแคลร์ ลี เชนนลต์ นายทหารอเมริกันฝ่ายสัมพันธมิตรให้เซฺว เยฺว่ เป็น "นายพลแพตตันแห่งเอเชีย"[1] และได้รับสมญานามจากชาวจีนว่าเป็น พยัคฆ์แห่งฉางชา เนื่องจากได้เอาชนะกองทัพญี่ปุ่นจากการบุกเมืองฉางชาได้สำเร็จถึง 3 ครั้งในยุทธการฉางชา
ชีวิตช่วงแรกและอาชีพ
แก้เซฺว เยฺว่ เกิดที่เฉากวาน มณฑลกวางตุ้ง ในครอบครัวชาวจีนแคะที่ประกอบอาชีพเป็นชาวนา
เซฺวเข้าร่วมสมาคมถงเหมิงฮุ่ยในปี ค.ศ. 1909 ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1912 เขาเข้าเรียนโรงเรียนประถมทหารกวางตุ้ง ในปี ค.ศ. 1917 เขาได้เข้าเรียนในชั้นที่หกของ โรงเรียนการทหารเป่าติ้ง อย่างไรก็ตามในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1918 เขาออกเดินทางไปทางใต้เพื่อไปกวางโจวและเข้าร่วมกองทัพปฏิวัติชาติจีนที่ก่อตั้งรวบรวมอาสาสมัครโดย ดร.ซุน ยัตเซ็นและเฉิน เจียงหมิง พร้อมกับยศร้อยเอก หลังจากนั้นเขากลายเป็นผู้บัญชาการกองพันแรกของผู้องครักษ์คุ้มกันของ ดร.ซุน ยัตเซ็น เมื่อ ดร.ซุนกับเฉินเจียงหมิงขัดแย้งและสู้รบกันเอง เซฺวก็พาภริยาของ ดร.ซุน ซ่ง ชิงหลิงหลบหนีการสู้รบได้อย่างปลอดภัย
สมัยขุนศึก
แก้เซฺวเป็นหนึ่งในผู้บังคับการทหารพรรคก๊กมินตั๋งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกรีฑาทัพขึ้นเหนือเพื่อรวบรวมแผ่นดินจีนที่อยู่ระหว่างสมัยขุนศึก เมื่อเจียงไคเชกรวบแผ่นดินจีนสำเร็จและตั้งรัฐบาลชาตินิยมที่กรุงหนานจิงได้เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในพรรคก๊กมินตั๋ง เกิดการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ภายในพรรค ในช่วงแรกเซฺวได้คัดค้านการกวาดล้างดังกล่าวและกลับไปเข้ากับขุนศึกทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ของกองทัพที่ 1 หลังจากเหตุการณ์ 12 เมษายน เซฺวกลับมาที่มณฑลกวางตุ้งเพื่อรับใช้เป็นผู้บัญชาการกองพลภายใต้หลี่ จีเฉิน จากการเคลื่อนย้ายของกองทัพที่ 1 หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองที่เห็นว่าเจียงไคเชกกลับสู่อำนาจ เซฺวได้เข้าร่วมจาง ฟากุ้ยและรับใช้ในกองทัพกวางตุ้งที่ 4
ในช่วงการจลาจลกวางโจว กองทัพของเซฺวถูกเรียกตัวเข้ามาในเมืองเพื่อช่วยปราบปรามคอมมิวนิสต์ เนื่องจากความสูญเสียที่ได้รับอย่างหนักในช่วงหลังของปี ค.ศ. 1927 กองทัพที่ 4 ยอมรับข้อเสนอของเจียงไคเชกเพื่อจัดระเบียบใหม่ อย่างไรก็ตามหน่วยงานภายในเห็นว่าผู้บังคับบัญชาที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ เหมียว เผ่ยหนานถูกบังคับให้ออกและเรียกตัวจาง ฟากุ้ยกลับมาดำรงตำแหน่งในฐานะผู้บัญชาการของกองทัพที่ 4 ของมณฑลกวางตุ้ง เซฺวได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นรองจาง
ในระหว่างสงครามที่ราบภาคกลางเป็นการแตกแยกภายในพรรคก๊กมินตั๋งอีกครั้ง กองทัพที่ 4 ของมณฑลกวางตุ้งได้สนับสนุนกลุ่มขุนศึกกวางสีใหม่ ในฐานะอยู่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองกับเจียงไคเชก ระหว่างการรวมกำลังเข้าสู่เหิงหยาง แนวรบของขุนศึกถูกบีบให้ล่าถอยโดยเจียง กวางไนและข่าย ถิงไคแห่งกองทัพพรรคก๊กมินตั๋ง(ฝ่ายเจียงไคเชก) ในการรบที่เหิงหยางต่อมากองทัพกวางตุ้ง-กวางสีที่รวมตัวกันต่อสู้กับกองทัพพของเจียงไคเชกและได้รับความพ่ายแพ้ในที่สุด กองทัพที่ 4 ของมณฑลกวางตุ้งถูกบีบบังคับให้เข้าร่วมกับเจียงไคเชก ทำให้จาง ฟากุ้ยถูกบังคับให้ลาออก ส่วนเซฺว เยฺว่ ยอมสารภาพผิดและได้รับการอภัยโทษโดยรัฐบาลชาตินิยม อีกทั้งยังได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้บังคับบัญชากองทัพในภายหลัง
รัฐบาลชาตินิยมหนานจิง
แก้รัฐบาลชาตินิยมที่กรุงหนานจิงได้ตัดสินใจรับความช่วยเหลือด้านการทหารจากนาซีเยอรมนี เซฺวได้รับมอบหมายให้ไปศึกษาด้านการทหารที่เยอรมนี แต่ศึกษาได้ไม่นานก็ถูกรัฐบาลหนานจิงเรียกตัวกลับ เมื่อกลับมาจีนเซฺวได้แนะนำให้เจียงไคเชกดำเนินการกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์จีนในฐานะต่อต้านการปฏิวัติ ในช่วงแรกของสงครามกลางเมืองจีน จอมทัพเจียงไคเชกได้สั่งให้นายพลเซฺวนำทัพกวางตุ้งคนแรกมาโจมตีพวกคอมมิวนิสต์จีนในช่วง การรณรงค์การล้อมรอบที่ห้าครั้งต่อมณฑลเจียงซีโซเวียต บีบบังคับให้กองทัพปลดปล่อยของคอมมิวนิสต์ต้องทำการเดินทัพทางไกล และกองทัพของเขาไล่ล่าคอมมิวนิสต์ที่ล่าถอยไปตลอดทางจนถึงเสฉวนและกุ้ยโจว จนกระทั่งกองกำลังคอมมิวนิสต์จะถอยข้ามผืนน้ำขนาดใหญ่และหลบหนีไปในหลบซ่อนที่มณฑลฉ่านซีในที่สุด จากนั้นเซฺวได้นำทัพของเขาล่าตระเวนกวาดล้างไปรอบๆบริเวณที่ภาคกลางของจีนและเอาชนะผู้บัญชาการกองทัพแดงที่มีชื่อเสียงอย่างเช่นเหอ หลงและเย ถิงประจำพื้นที่ควบคุมของคอมมิวนิสต์งและบังคับพวกเขาออกจากฐานที่มั่นเหล่านี้ สำหรับความสำเร็จเหล่านี้เจียงไคเชกยกย่องเซฺวในฐานะ "ตัวอย่างที่แท้จริงของนายทหารจีน"
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
แก้เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เริ่มรุกรานประเทศจีน แต่ขณะเดียวกันเจียงไคเชกติดพันกับการปราบปรามคอมมิวนิสต์ เริ่มมีความเห็นแตกแยกในพรรคก๊กมินตั๋งให้เจียงยุติการรบกันเอง โดยยื่นข้อเสนอร่วมมือกับคอมมิวนิสต์และขับไล่ผู้รุกรานชาวญี่ปุ่น จนกระทั่งเกิดอุบัติการณ์ซีอานทำให้การสู้รบกันเองของฝ่ายก๊กมินตั๋งกับคอมมิวนิสต์ยุติลงชั่วคราว อย่างไรก็ตามความจงรักภักดีของเซฺว เยฺว่ ต่อเจียงไคเชกถูกตั้งข้อสงสัย หลังจากที่เขามีส่วนร่วมสั่งการให้จับกุมจอมทัพเจียงไคเชกและพร้อมที่จะยื่นข้อเสนอส่งตัวให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์จีน ถ้าหากเจียงปฏิเสธที่จะสู้รบกับญี่ปุ่นโดยทันทีเสียก่อน แม้ว่าเขาจะคืนดีกับเจียงไคเชกในทันทีแต่ความสัมพันธ์ของเขากับพรรคก๊กมินตั๋งนั้นตึงเครียดตลอดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
เซฺวมีส่วนร่วมในการร่วมยุทธการที่อู่ฮั่น[2] ในฐานะผู้บังคับบัญชากองทัพที่ 1 ในภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของอู่ฮั่น เซฺว ประสบความสำเร็จในการทำลายกองพลที่ 106 ของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในระหว่างการต่อสู้ เจ้าหน้าที่ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกฆ่าตายและญี่ปุ่นใช้พลร่ม 300 คนเข้าไปเสริมกำลังฝ่าวงล้อมออกมาโดยการกระโดดร่มลงในสนามรบ นี่เป็นโอกาสเดียวที่ทำให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นต้องใช้กลยุทธ์ทางอากาศเพื่อป้องกันกองทัพของตนจากการถูกทำลายล้างโดยกองทัพจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
เซฺว เยฺว่ ยังเป็นผู้มีส่วนร่วมต่อชัยชนะของแนวหน้าที่ 9 อีกด้วย ในการรบป้องการเมืองฉางชาจากการยึดครองของกองทัพญี่ปุ่นครั้งแรก, ครั้งที่สองและครั้งที่สามของยุทธการฉางชา[3] กองทัพของเขาในแนวหน้าที่ 9 ยังได้รับชัยชนะที่การต่อสู้ของฉางเต๋อ ในท้ายที่สุดเซฺวพยายามป้องกันฉางชาอีกครั้งก่อนที่จะพ่ายแพ้ในยุทธการฉางชาครั้งที่สี่
อ้างอิง
แก้- ↑ Wong, Betty (2012). Jewel of the Kingdom. Trafford Publishing. p. 27. ISBN 9781466937451.
- ↑ Wuhan, 1938, Stephen R. MacKinnon, Robert Capa, p 27, accessed July 2009
- ↑ Chen Duxiu (1998). Gregor Benton (บ.ก.). Chen Duxiu's last articles and letters, 1937-1942 (illustrated ed.). University of Hawaii Press. p. 45. ISBN 0824821122.
24. Xi'an never fell. Xue Yue's forces successfully defended the city three times against the Japanese; Changsha (and the vital Guangzhou-Hankou Railway) did not fall to the Japanese until early 1945.