เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5
เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 เป็นกิจกรรมที่จัดโดยสมาชิกเว็บไซต์ พันทิปดอตคอม โต๊ะเฉลิมไทย เพื่อยกย่อง เชิดชู ผลงานดีเด่น ทางด้านภาพยนตร์ ตลอดปี พ.ศ. 2550 โดยประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงในสาขาต่าง ๆ[1] ไปในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551 ซึ่งมีการประกาศผลรางวัล ผ่านหน้ากระทู้เฉลิมไทย[2][3][4][5][6] ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ปีนี้ เป็นปีแรก ที่ เฉลิมไทยอวอร์ด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้น นอกจากการแยกผลงานจากภาพยนตร์ไทย และภาพยนตร์ต่างประเทศออกจากกัน ในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์แห่งปี
สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- The Bourne Ultimatum
- Lust, Caution
- Pan's Labyrinth
- The Queen
สาขาภาพยนตร์ไทยแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
สาขางานกำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ต่างประเทศ)
แก้- ผู้ชนะ
- Babel (Alejandro Gonzalez Iarritu)
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- The Bourne Ultimatum (Paul Greengrass)
- Lust, Caution (Ang Lee)
- Pan's Labyrinth (Guillermo del Toro)
- The Queen (Stephen Frears)
สาขางานกำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย)
แก้- ผู้ชนะ
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- ไชยา (ก้องเกียรติ โขมสิริ)
- พลอย (เป็นเอก รัตนเรือง)
- Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ (พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง)
- Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ (โสรยา นาคะสุวรรณ)
สาขานักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- Tony Leung Chiu Wai จาก Lust, Caution
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- George Clooney จาก Michael Clayton
- Leonardo DiCaprio จาก Blood Diamond
- Matt Demon จาก The Bourne Ultimatum
- Will Smith จาก The Pursuit of Happyness
สาขานักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- Helen Mirren จาก The Queen
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- Kate Winslet จาก Little Children
- Miki Nakatani จาก Memories of Matsuko
- Nikki Blonsky จาก Hairspray
- Wei Tang จาก Lust, Caution
สาขานักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ จาก สายลับจับบ้านเล็ก
- มาริโอ้ เมาเร่อ จาก รักแห่งสยาม
- อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม จาก Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ
- อัครา อมาตยกุล จาก ไชยา
สาขานักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- ฉายนันทน์ มโนมัยสันติภาพ จาก Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ
- มาช่า วัฒนพานิช จาก แฝด
- ลลิตา ศศิประภา จาก พลอย
- สุวัจนี ไชยมุสิก จาก ยังไงก็รัก
สาขานักแสดงชายในบทสมทบจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- Brad Pitt จาก Babel
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- Djimon Hounsou จาก Blood Diamond
- Jackie Earle Haley จาก Little Children
- John Travolta จาก Hairspray
- Tom Wilkinson จาก Michael Clayton
สาขานักแสดงชายในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- ปรเมทศร์ น้อยอ่ำ จาก บอดี้ ศพ#19
- วีรดิษฐ์ ศรีมาลัย จาก เพื่อน...กูรักมึงว่ะ
- สนธยา ชิตมณี จาก ไชยา
- สมภพ เบญจาธิกุล จาก ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา
สาขานักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- Rinko Kikuchi จาก Babel
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- Adriana Barraza จาก Babel
- Jennifer Hudson จาก Dreamgirls
- Michelle Pfeiffer จาก Hairspray
- Tilda Swinton จาก Michael Clayton
สาขานักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- ภัทรวรินทร์ ทิมกุล จาก บอดี้ ศพ#19
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- กัญญา รัตนเพชร์ จาก รักแห่งสยาม
- พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์ จาก รักแห่งสยาม
- ไลลา บุญยศักดิ์ จาก รักแห่งสยาม
- อภิญญา สกุลเจริญสุข จาก พลอย
สาขาบทภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- Babel (Guillermo Arriaga)
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- Little Children (Todd Field, Tom Perrotta)
- Pan's Labyrinth (Guillermo del Toro)
- The Queen (Peter Morgan)
- Ratatouille (Brad Bird, Jan Pinkava)
สาขาบทภาพยนตร์ไทยแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- รักแห่งสยาม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล)
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- ไชยา (ก้องเกียรติ โขมศิริ)
- บอดี้ ศพ#19 (ปวีณ ภูริจิตปัญญา, ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล)
- พลอย (เป็นเอก รัตนเรือง)
- Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ (คงเดช จาตุรันต์รัศมี)
สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- Ratatouille
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- พระพุทธเจ้า
- Meet the Robinsons
- The Simpsons Movie
- Surf's Up
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์ฉายแบบจำกัดโรง
แก้- ผู้ชนะ
- The Lives of Others (Das Leben der Anderen)
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- The Fountain
- Memories of Matsuko (Kiraware Matsuko no Isshou)
- Tears for You (Nada Sou Sou)
- Volver
สาขางานภาพในภาพยนตร์แห่งปี (ถ่ายภาพ/ลำดับภาพ)
แก้- ผู้ชนะ
- 300
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- Babel
- The Bourne Ultimatum
- Lust, Caution
- Pan's Labyrinth
สาขางานศิลป์ในภาพยนตร์แห่งปี (กำกับศิลป์/เครื่องแต่งกาย/แต่งหน้า)
แก้- ผู้ชนะ
- Pan's Labyrinth
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- Dreamgirls
- Hairspray
- Lust, Caution
- The Queen
สาขางานเสียงในภาพยนตร์แห่งปี (บันทึกเสียง/ตัดต่อเสียง)
แก้- ผู้ชนะ
- Transformers
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- 300
- The Bourne Ultimatum
- Pirates of the Caribbean: At World's End
- Ratatouille
สาขาดนตรีประกอบแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- รักแห่งสยาม (กิตติ เครือมณี)
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- Babel (Gustavo Santaolalla)
- Pan's Labyrinth (Javier Navarrete)
- The Queen (Alexandre Desplat)
- Ratatouille (Michael Giacchino)
สาขาเพลงประกอบจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- "And I'm Telling You I'm Not Going จาก Dreamgirls" (2007)
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- "Listen" จาก Dreamgirls
- "Nada Sou Sou" จาก Tears for You (Nada Sou Sou)
- "Rule The World" จาก Stardust
- "Way Back To Love" จาก Music and Lyrics
- "You Can't Stop The Beat" จาก Hairspray
สาขาเพลงประกอบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- "กันและกัน" จาก รักแห่งสยาม
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- "คิดถึงเธอทุกที (ที่อยู่คนเดียว)" จาก บอดี้ ศพ#19
- "คืนอันเป็นนิรันดร์" จาก รักแห่งสยาม
- "ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ" จาก สายลับจับบ้านเล็ก
- "อยากรู้..แต่ไม่อยากถาม" จาก เพื่อน...กูรักมึงว่ะ
สาขาเทคนิคพิเศษทางภาพแห่งปี
แก้- ผู้ชนะ
- Transformers
- ผู้เข้าชิงอื่น ๆ
- 300
- Pirates of the Caribbean: At World's End
สรุปรายชื่อผู้เข้าชิง
แก้ภาพยนตร์ 36 เรื่องดังต่อไปนี้ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5
|
|
สรุปรายชื่อผู้ชนะ
แก้ภาพยนตร์ 11 เรื่องดังต่อไปนี้ ได้รับการลงคะแนนเป็นผู้ชนะ เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5
- ชนะใน 8 สาขา
- (ภาพยนตร์ไทยแห่งปี, งานกำกับภาพยนตร์ไทยแห่งปี, นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี, นักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตรไทยแห่งปี, นักแสดงชายในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี, บทภาพยนตร์ไทยแห่งปี, ดนตรีประกอบแห่งปี, เพลงประกอบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี)
- ชนะใน 5 สาขา
- Babel
- (ภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี, งานกำกับภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี, นักแสดงชายในบทสมทบจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี, นักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี, บทภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี)
- ชนะใน 2 สาขา
- Transformers
- (งานเสียงในภาพยนตร์แห่งปี, เทคนิคพิเศษทางภาพแห่งปี)
- ชนะไปสาขาเดียว
- บอดี้ ศพ#19
- (นักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี)
- 300
- (งานภาพในภาพยนตร์แห่งปี)
- Dreamgirls
- (เพลงประกอบจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี)
- The Lives of Others
- (ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์ฉายแบบจำกัดโรง)
- Lust, Caution
- (นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี)
- Pan's Labyrinth
- (งานศิลป์ในภาพยนตร์แห่งปี)
- The Queen
- (นักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี)
- Ratatouille
- (ภาพยนตร์แอนิเมชันแห่งปี)
การจัดรางวัล
แก้วิดีโอประกอบการประกาศรางวัล
แก้ในเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 นับเป็นครั้งแรกที่มีการใช้วิดีโอประกอบการประกาศรางวัล ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 วิดีโอดังกล่าวประกอบด้วย
- วิดีโอเปิดงานประกาศรางวัล เป็นการตัดต่อภาพยนตร์ประกอบเพลง "You Can't Stop Us" จากภาพยนตร์เรื่อง Hairspray เพื่อเป็นการระลึกถึงอุปสรรคในการจัดการประกาศรางวัลครั้งนี้ และเป็นการล้อการจัดงานประกาศรางวัลในสหรัฐอเมริกาที่ถูกระงับด้วยการประท้วงของสมาคมผู้เขียนบทแห่งสหรัฐอเมริกา (WGA) ได้แก่ รางวัลลูกโลกทองคำ (The Golden Globe)[9] เป็นต้น
- วิดีโอ แด่...ความรักบนจอเงิน (To All The Love In Films) เป็นการตัดต่อฉากในภาพยนตร์อันมีเนื้อหาความรักในรูปแบบต่าง ๆ ในรอบปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีอยู่มากมายหลายเรื่อง และหลาย ๆ เรื่องก็เป็นภาพยนตร์ที่มีคุณค่า เป็นที่กล่าวถึงของคนในสังคม
- วิดีโอ แด่...หนังดีที่ถูกลืม เป็นการตัดต่อฉากในภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดี แต่ไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย ทั้งเนื่องจากไม่มีค่ายภาพยนตร์ใดจัดซื้อมาฉาย หรือไม่ได้รับอนุญาตให้ฉายภายในราชอาณาจักรจากการพิจารณาของคณะกรรมการการพิจาณาภาพยนตร์ หนึ่งในนั้นมีภาพยนตร์เรื่อง "แสงศตวรรษ (Syndrome and A Century)" ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล อยู่ด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลและได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในหลาย ๆ สถาบันทั่วโลก แต่กลับถูกให้พิจารณาเซ็นเซอร์ในประเทศไทย และเป็นที่ขัดแย้งกับผู้สร้างภาพยนตร์ จนเกิดเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดแรงกระตุ้นต่อการจัดระเบียบการเซ็นเซอร์และการจัดเรตติ้งใหม่ในปี พ.ศ. 2550[10]
- วิดีโอภาพยนตร์แห่งปี นำเสนอฉากในภาพยนตร์ทั้ง 10 เรื่องที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงภาพยนตร์แห่งปีทั้งภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศ ของเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5
- วิดีโอ แด่...เขา He of The Year นำเสนอฉากการแสดงอันยอดเยี่ยมของนักแสดงชายที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5
- วิดีโอ แด่...เธอ She of The Year นำเสนอฉากการแสดงอันยอดเยี่ยมของนักแสดงหญิงที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5
- วิดีโอแนะนำผู้เข้าชิงและผู้ชนะสาขาเพลงจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี ถูกตัดต่อใหม่จากฉากในภาพยนตร์และมิวสิกวิดีโอ เป็น version เฉพาะ
- วิดีโอแนะนำผู้เข้าชิงและผู้ชนะสาขาเพลงจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
- วิดีโอแนะนำผู้เข้าชิงสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์แห่งปี
เสียงตอบรับจากผู้ได้รับรางวัล
แก้เนื่องจากเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 เผยแพร่ทางเว็บไซต์พันทิปดอตคอม ซึ่งเป็นเว็บไซต์สาธารณะ จึงปรากฏว่ามีบุคคลในวงการบันเทิงไทยหลากหลายเข้ามารับทราบข้อมูลในการนี้ด้วย ผู้ได้รับรางวัลบางท่านจึงส่งคำขอบคุณมายังคณะกรรมการเฉลิมไทยอวอร์ดและสมาชิกพันทิปดอตคอมทุกท่านด้วยที่ออกเสียงสนับสนุนจนภาพยนตร์ไทยเรื่องนั้น ๆ ได้รับรางวัลสาขาต่าง ๆ
- ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับภาพยนตร์แห่งปีจากภาพยนตร์ไทย และผู้เขียนบทภาพยนตร์ไทยแห่งปี จากภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" ได้กล่าวถึงรางวัลว่า[11]
"...ขอบคุณ มาก ๆ สำหรับชาวเฉลิมไทย ที่ช่วยกันโหวตให้หนัง "รักแห่งสยาม" ได้รางวัลไปมากมายขนาดนั้น ถึงแม้จะเป็นรางวัลเล็ก ๆ ในโลกไซเบอร์ แต่ก็รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความสนใจและยอมรับ หนังเรื่องนี้เข้าไปในหัวใจ ตลอดเวลาที่หนังเข้า ข้าพเจ้าได้เข้ามาอ่านความเห็นของหลาย ๆ กระทู้ซึ่งก็มีทั้งชมชอบ ก่นด่า มากมายแตกต่างกันไป เป็นปกติของงานสาธารณะ หลายเรื่องราวดี ๆ ที่แบ่งปันกันในนั้น นำมาซึ่งความปลาบปลื้มใจยิ่งกว่ารางวัลใด ๆ และก็จะเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดี ๆ ในชีวิตการทำงานที่จะไม่ลืมเลย บนหนทางของการทำงานที่ยังอีกยาวไกล และก็ไม่รู้จะเจอกับอะไรก็ไม่รู้ล่วงหน้า เรื่องดี ๆ เหล่านี้คือกำลังใจในยามที่เหนื่อยล้า เพราะเราจะรฤกอยู่ตลอดเวลาว่ายังมีคนที่คอยชื่นชมและก่นด่าเราอยู่เสมอ อิอิ ขอบคุณจริง ๆ ครับ และขอเป็นตัวแทนของพี่นก พี่กบ น้องพิช มาริโอ้ น้องพลอย น้องตาล น้องเบส วงออกัส ทีมงานและนักแสดงทุกคน เชื่อว่าพวกเราก็รู้สึกขอบคุณทุก ๆ คนเช่นกัน..."
- วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล นักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี จากภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" ได้กล่าวถึงรางวัลว่า[12]
"...เอาล่ะ ..ในฐานะที่เป็นผู้ได้รับรางวัลจากเฉลิมไทยอวอร์ด สาขาผู้แสดงนำชาย ก็รู้สึกดีใจ และขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน ทั้งในส่วนของทีมงาน ทั้งทีมสร้าง ทีมโปรโมท และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขอบคุณพี่มะเดี่ยวและพี่ดา ผู้อยู่เบื้องหลังการแสดงที่น่าประทับใจนี้ (คืออยากจะเล่าว่า ในเรื่องเวลาที่ต้องจ้องตามาริโอ้ จริง ๆ แล้วตรงนั้นมีพี่ดา หญิงแกร่งผู้นั้นคอยยืนเป็นอายไลน์อยู่เสมอ) ขอบคุณไปถึงแฟน ๆ และชาวเฉลิมไทยที่ให้การสนับสนุน... แม้จะไม่ได้อ่านทุกกระทู้ ทุกรีวิวที่พี่ ๆเขียนขึ้น แต่การที่เปิดหน้าเฉลิมไทยขึ้นมาแล้วเจอคำว่ารักแห่งสยาม รักแห่งสยาม รักแห่งสยาม รักแห่งสยาม นั่นทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้น่าจะเข้าไปอยู่ในใจของใครหลายคน... รางวัลนี้จึงเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่สำหรับเรามาก ทุกคำติชมของพี่ ๆ ทุกคนจะเป็นเหมือนกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาฝีมือต่อไป ขอบคุณอีกครั้งครับ!!..."
- สินจัย เปล่งพานิช นักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี จากภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" ได้กล่าวถึงรางวัลว่า[13]
"...ขอบคุณสำหรับรางวัลที่น่ารัก แต่ยิ่งใหญ่นี้ค่ะ ขอบคุณงานเล็ก ๆ ที่อบอุ่นมาก ขอบคุณทุกคนนะคะ..."
โล่รางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด
แก้ภายหลังการประกาศผลรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 อย่างเป็นทางการในวัน 23 กุมภาพันธ์แล้วนั้น สมาชิกเว็บไซต์พันทิป ได้หารือร่วมกับคณะกรรมการจัดงาน เห็นควรว่าน่าจะมีการจัดทำโล่รางวัลเฉลิมไทยอวอร์ดขึ้นเป็นรูปธรรม เพื่อมอบให้แก่ผู้ได้รับรางวัล ภายในประเทศเป็นการเฉพาะ
ลักษณะของโล่รางวัลที่ออกแบบขึ้นและได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกเว็บไซต์พันทิปมากที่สุด ถูกคัดเลือกให้เป็นแบบที่ใช้ สร้างโล่รางวัลจริง มีลักษณะเป็นโล่ประติมากรรมลอยตัว สูง 21 เซนติเมตร ประกอบด้วย ฐานไม้สีดำขนาดกว้าง 7 เซนติเมตร ลึก 5 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร ซ้อนทับด้วยก้อนอะครีลิก (acrylic) ใส 3 ก้อนวางเหลื่อมกัน ต่อขึ้นเป็นชั้น แต่ละก้อนมีขนาดกว้าง 6 เซนติเมตร ลึก 4 เซนติเมตร สูง 5 เซนติเมตร
ด้านหนึ่งของฐานไม้มีแผ่นโลหะจารึกชื่อผู้ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ ขนาด กว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 6 เซนติเมตร ประดับไว้
ความหมายของโล่รางวัล คือ เสียงสะท้อนจากประชาชนในฐานะผู้ชมภาพยนตร์ เทียบกับกล่องใสที่มีหลายมุมมอง และซ้อนเหลื่อมกัน เมื่อมองคนละมุมก็ให้ภาพแตกต่างออกไป เปรียบได้ว่าในปีหนึ่ง ๆ มีภาพยนตร์มากมายหลายเรื่องที่มีคุณความดี สมควรได้รับการยกย่อง แต่สมาชิกเว็บไซต์พันทิป ซึ่งแม้จะมีความเห็นทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน ได้ออกเสียงแล้วว่า มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง หรือบุคคลด้านภาพยนตร์ในสาขาต่าง ๆ คนหนึ่ง สมควรได้รับยกย่องมากที่สุด และให้ได้รับรางวัล "แห่งปี" ในปีนั้นไป
งานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5[13][14]
แก้ในเบื้องต้นคณะกรรมการจัดงานจะมอบโล่รางวัลให้กับผู้ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ เป็นการส่วนตัว โดยจะมีเพียงคำกล่าว จากผู้ได้รับรางวัล และรูปถ่ายลงในกระทู้ของเว็บไซต์พันทิปเท่านั้น แต่ในภายหลังคณะกรรมการจัดงานได้รับการช่วยเหลือ และสนับสนุนอย่างดียิ่งจากแฟนคลับภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยาม ทั้งในเว็บไซต์พันทิปและเว็บไซต์ www.thelittlespace.com[ลิงก์เสีย] ร่วมเป็นแม่งานจัดงานมอบรางวัลอย่างเป็นทางการขึ้น ณ ร้านอาหาร to-sit ถนนสวนหลวง กรุงเทพฯ ในวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ในวันงานได้รับเกียรติจากผู้ได้รับรางวัลในวงการบันเทิง ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังอย่างเหนือความคาดหมาย ทั้งที่มาร่วมงาน และมารับรางวัลด้วยตนเอง อาทิเช่น สินจัย เปล่งพานิช, ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, ปรัชญา ปิ่นแก้ว, เตือนใจ เตชะรัตนประเสริฐ, สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์, มาริโอ้ เมาเร่อ, วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล, วงออกัส เป็นต้น และยังได้รับเกียรติจากคุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ พันทิป มาเป็นผู้มอบรางวัล โดยทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, ภัทรวรินทร์ ทิมกุล และกิตติ เครือมณี เป็นผู้ได้รับรางวัลเพียง 3 ท่าน ที่มิได้มารับรางวัลด้วยตนเอง
การนี้ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ได้ตีพิมพ์ข่าว การจัดงานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 นี้ ลงในหน้าข่าวบันเทิง ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ด้วย[15][16] ซึ่งเฉลิมไทยอวอร์ด คาดว่าเป็นสถาบันสุดท้ายที่จัดมอบรางวัลแก่ภาพยนตร์ไทย ในปี พ.ศ. 2550
คณะผู้จัดงานมอบรางวัลได้บันทึกภาพพิธีมอบรางวัล คำกล่าวสุนทรพจน์ และคำให้สัมภาษณ์ของผู้ได้รับรางวัลเอาไว้ ดังนี้
- งานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 (ตอนที่ 1) เทปบันทึกภาพงานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 ตั้งแต่เริ่มเปิดงาน การมอบรางวัลสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์แห่งปี และสาขาเพลงแห่งปีจากภาพยนตร์ไทย
- งานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 (ตอนที่ 2) เทปบันทึกภาพงานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 ต่อในสาขานักแสดงชายในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี, สาขาบทภาพยนตร์ไทยแห่งปี และสาขานักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี
- งานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 (ตอนที่ 3) เทปบันทึกภาพงานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 ต่อในสาขานักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี, ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยแห่งปี
- งานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 (ตอนที่ 4) เทปบันทึกภาพงานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 ต่อในสาขาสาขาภาพยนตร์ไทยแห่งปี และคำกล่าวขอบคุณจากมาริโอ้ เมาเร่อ ผู้เข้าชิงรางวัลสาขานักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี จากภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยาม จนเสร็จสิ้นงานมอบรางวัล
- คำสัมภาษณ์พิเศษของผู้ได้รับรางวัลและผู้เข้าชิง (ตอนที่ 1) เทปบันทึกภาพคำสัมภาษณ์พิเศษของมาริโอ้ เมาเร่อ, สินจัย เปล่งพานิช และชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
- คำสัมภาษณ์พิเศษของผู้ได้รับรางวัลและผู้เข้าชิง (ตอนที่ 2) เทปบันทึกภาพคำสัมภาษณ์พิเศษของวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล
อ้างอิง
แก้- ↑ เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5: ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิง
- ↑ : : : : : ประกาศผลรางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 : : : : : topicstock.pantip.com/cafe/chalermthai เรียกดูล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551
- ↑ : : : : : ประกาศผลรางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 : : : : : PART 2 topicstock.pantip.com/cafe/chalermthai เรียกดูล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551
- ↑ : : : : : ประกาศผลรางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 : : : : : PART 3 topicstock.pantip.com/cafe/chalermthai เรียกดูล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551
- ↑ : : : : : ประกาศผลรางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 : : : : : PART 4 topicstock.pantip.com/cafe/chalermthai เรียกดูล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551
- ↑ : : : : : ประกาศผลรางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 : : : : : PART 5 topicstock.pantip.com/cafe/chalermthai เรียกดูล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551
- ↑ สรุปผลรางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้ง ที่ ๕ topicstock.pantip.com/cafe/chalermthai เรียกดูครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551
- ↑ รางวัลหนังไทย 2551 ชมรมวิจารณ์ สุพรรณหงส์ คมชัดลึกอวอร์ด สตาร์พิกส์อวอร์ด : รางวัลที่มาจากการโหวตของแฟนหนัง thaicinema.org เรียกดูครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551
- ↑ Striking writers threaten to disrupt Golden Globes awards เก็บถาวร 2008-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน afp.google.com เรียกดูล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551
- ↑ รายงานความเคลื่อนไหว แสงศตวรรษ thaicinema.org เรียกดูล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551
- ↑ วันหนังดี...แผ่น 2 hi5.com เรียกดูครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551
- ↑ พิช วิชญ์วิสิฐ มีอะไรฝากถึงเพื่อนๆ ชาวเฉลิมไทย เก็บถาวร 2008-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน pantip.com/cafe/chalermthai เรียกดูครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551
- ↑ 13.0 13.1 ภาพบรรยากาศงานมอบรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ดครั้งที่ 5 ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2008 pantip.com/cafe/chalermthai เรียกดูครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มึนาคม 2553
- ↑ งานเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 bloggang.com เรียกดูครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551
- ↑ กวาดอีก 8 รางวัล “รักแห่งสยาม” : “เฉลิมไทยอวอร์ด” จัดให้รายล่าสุด dailynews.co.th เรียกดูครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551
- ↑ รักแห่งสยาม กวาด 8 รางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด hilight.kapook.com เรียกดูครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ พันทิปดอตคอม โต๊ะเฉลิมไทย pantip.com/cafe/chalermthai