เจ้าหญิงศรุติแห่งเนปาล

เจ้าหญิงศรุติราชยลักษมีเทวีศาหะ (เนปาล: श्रुती राज्यलक्ष्मी देवी शाह; 15 ตุลาคม พ.ศ. 2519 — 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544) พระราชธิดาองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ กับสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ เป็นพระขนิษฐาในมกุฎราชกุมารทิเปนทรวีรพิกรมศาหเทวะ และเป็นพระพี่นางในเจ้าชายนิราชันวีรพิกรมศาหเทวะ

เจ้าหญิงศรุติแห่งเนปาล

ศรุติราชยลักษมีเทวีศาหะ
เจ้าหญิงแห่งเนปาล
ประสูติ15 ตุลาคม พ.ศ. 2519
พระราชวังนารายันหิติ ประเทศเนปาล
สิ้นพระชนม์1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (24 ปี)
โรงพยาบาลทหารกษัตริย์พีเรนทระ ประเทศเนปาล
พระสวามีโครัข ศัมเศร์ เจ.บี. ราณา
พระบุตร
  • คีรวรรณีราชยลักษมีราณา
  • สุรางคนราชยลักษมีราณา
ราชวงศ์ศาห์
พระบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทระ
พระมารดาสมเด็จพระราชินีไอศวรรยา

พระประวัติ

แก้

เจ้าหญิงศรุติประสูติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ณ กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล พระราชธิดาองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ กับสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ พระองค์มีพระเชษฐาคือ มกุฎราชกุมารทิเปนทรวีรพิกรมศาหเทวะ และมีพระอนุชาคือเจ้าชายนิราชันวีรพิกรมศาหเทวะ[1]

เจ้าหญิงศรุติ ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกันติอิศวรสิศูรวิทยาลัย ประเทศเนปาล, โรงเรียนเซนต์แมรี ประเทศเนปาล และต่อมาได้ศึกษาต่อในวิทยาลัยหญิงเมโย เมืองอัชเมร์ ประเทศอินเดีย และพระองค์ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวัทยาลัยปัทมกัญญาในประเทศเนปาล

เสกสมรส

แก้

เจ้าหญิงศรุติเสกสมรสกับโครัข ศัมเศร์ เจ.บี. ราณา บุคคลจากตระกูลราณา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากมหาราชาจันทรศัมเศร์ราณา โดยทั้งคู่ได้มีพระธิดาด้วยกันสองคน คือ คีรวรรณีราชยลักษมีราณา (เกิด 22 มกราคม 2541) และสุรางคนราชยลักษมีราณา (เกิด 2 ตุลาคม 2543) เจ้าหญิงศรุติโปรดงานเกี่ยวกับศิลปะ[2] พระองค์ทรงนำภาพศิลปะ และวรรณคดีของเนปาลไปตีพิมพ์ให้เป็นที่รู้จักซึ่งสร้างชื่อเสียงให้แก่เนปาล และพระองค์เองเป็นอย่างมาก

 
การแห่พระศพของเจ้าหญิงศรุติ

เหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์เนปาล

แก้
ดูบทความหลักได้ที่ เหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์เนปาล พ.ศ. 2544

ในเหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์เนปาล เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 พระองค์ได้ประทับร่วมกับสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทร สมเด็จพระราชินีไอศวรรยา และเจ้าชายนิราชัน ซึ่งทั้งหมดได้ถูกสังหารร่วมกัน แต่เชื่อว่ามกุฎราชกุมารทิเปนทรวีรพิกรมศาหเทวะ ผุ้ก่อเหตุ ได้พยายามเคลื่อนย้ายร่างของพระองค์ออกมา ก่อนที่มกุฎราชกุมารจะพยายามกระทำอัตวินิบาตกรรม[3] และภายหลังเจ้าหญิงศรุติก็สิ้นพระชนม์ด้วยเสียพระโลหิตมาก แต่หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ก็มีบางส่วนเชื่อว่ามกุฎราชกุมารไม่ได้เป็นผู้กระทำการสังหารหมู่ดังกล่าว[4] แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความโศกเศร้าเสียใจแก่ประชาชนชาวเนปาลเป็นอย่างมาก[5]

อ้างอิง

แก้
  1. HRH Princess Shruti Rajya Lakshmi Devi
  2. "Portret Princess Shruti". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.
  3. "เนปาล ราชวงศ์มรณะ 2/5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.
  4. "เนปาล ราชวงศ์มรณะ 3/5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.
  5. "MOURNING A MONARCH". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-13. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้