เคอนิชส์แบร์ค

ชื่อในอดีตของเมืองคาลีนินกราด เมื่อครั้งที่อยู่ภายใต้การปกครองของปรัสเซีย

เคอนิชส์แบร์ค (เยอรมัน: Königsberg ออกเสียง: [ˈkøːnɪçsbɛʁk] ( ฟังเสียง)) เป็นชื่อเมืองปรัสเซียที่ปัจจุบันมีชื่อเป็นคาลีนินกราด ก่อตั้งใน ค.ศ. 1255 เพื่อยกย่องพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมีย[1] เดิมเมืองนี้เป็นเมืองของชาวแซมเบียนหรือชาวปรัสเซียเก่า ต่อมาตกเป็นของอัศวินทิวทอนิก, ดัชชีปรัสเซีย, ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน, สาธารณรัฐไวมาร์ และนาซีเยอรมนีจนถึง ค.ศ. 1946 หลังจากที่ถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองโดยกองทัพโซเวียตและฝ่ายสัมพันธมิตร เคอนิชส์แบร์คถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียต และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นคาลีนินกราดในเวลาต่อมา

เคอนิชส์แบร์ค
ปราสาทเคอนิชส์แบร์คก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ปราสาทเคอนิชส์แบร์คก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ถูกทำลายหลังการระเบิดในสงครามโลกครั้งที่สอง
เคอนิชส์แบร์คตั้งอยู่ในทะเลบอลติก
เคอนิชส์แบร์ค
เคอนิชส์แบร์คเป็นเมืองท่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติก ปัจจุบันมีชื่อเป็นคาลีนินกราดและอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซีย
พิกัด54°43′00″N 20°31′00″E / 54.71667°N 20.51667°E / 54.71667; 20.51667
ความเป็นมา
สร้างค.ศ. 1255
ละทิ้งค.ศ. 1945
เกี่ยวเนื่องกับแซมเบียน, เยอรมัน, โปแลนด์, ยิว, รัสเซีย, ลิทัวเนีย
เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รัฐอัศวินทิวทัน, ปรัสเซีย, สาธารณรัฐไวมาร์ และ นาซีเยอรมนี
เคอนิชส์แบร์คกับชายแดนของปรัสเซียตะวันออกระหว่าง ค.ศ. 1919–1939
ตราประจำเมืองเคอนิชส์แบร์ค

ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 20 ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่พูดภาษาเยอรมัน แต่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมลิทัวเนียและโปแลนด์อยู่ในนี้ด้วย[2] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เคอนิชส์แบร์คได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1944 และในช่วงถูกล้อมใน ค.ศ. 1945 เคอนิชส์แบร์คถูกยึดครองและปกครองโดยสหภาพโซเวียต ชาวเยอรมันที่อยู่ในเมืองถูกขับไล่ทั้งหมดและแทนที่ด้วยชาวรัสเซียและเชื้อชาติอื่นในสหภาพโซเวียต ตามนโยบายการแผลงเป็นรัสเซีย ในช่วงแรกเคอนิชส์แบร์คใช้ชื่อเป็นภาษารัสเซียว่า "คิออนิกส์เบิร์ก" (รัสเซีย: Кёнигсберг, อักษรโรมัน: Kyonigsberg) ก่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "คาลีนินกราด" ใน ค.ศ. 1946 ตามชื่อของมีฮาอิล คาลีนิน ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต

อ้างอิง

แก้
วรรณกรรม
  • Baedeker, Karl (1904). Baedeker's Northern Germany. New York: Charles Scribner's Sons. p. 395.
  • Biskup, Marian. Königsberg gegenüber Polen und dem Litauen der Jagiellonen zur Zeit des Mittelalters (bis 1525) in Królewiec a Polska Olsztyn 1993 (ในภาษาเยอรมัน)
  • Bötticher, Adolf (1897). Die Bau- und Kunstdenkmäler der Provinz Ostpreußen. Heft VII. Königsberg (ภาษาเยอรมัน). Königsberg: Rautenberg. p. 395.
  • Christiansen, Erik (1997). The Northern Crusades. London: Penguin Books. p. 287. ISBN 0-14-026653-4.
  • Clark, Christopher (2006). Iron Kingdom: The Rise and Downfall of Prussia 1600–1947. Cambridge: Belknap Press of Harvard. p. 776. ISBN 0-674-02385-4.
  • Clark, Peter B. (2013). The Death of East Prussia - War and Revenge in Germany's Easternmost Province. USA: Andover Press. ISBN 978-1-481935-75-3.
  • Gause, Fritz: Die Geschichte der Stadt Königsberg in Preußen. Three volumes, Böhlau, Cologne 1996, ISBN 3-412-08896-X (ในภาษาเยอรมัน).
  • Holborn, Hajo (1964). A History of Modern Germany: 1648-1840. New York: Alfred A. Knopf. p. 556.
  • Holborn, Hajo (1982). A History of Modern Germany: 1840-1945. Princeton: Princeton University Press. p. 844. ISBN 0-691-00797-7.
  • Kirby, David (1990). Northern Europe in the Early Modern Period: The Baltic World, 1492–1772. London: Longman. ISBN 0-582-00410-1.
  • Kirby, David (1999). The Baltic World, 1772–1993: Europe's Northern Periphery in an Age of Change. London: Longman. ISBN 0-582-00408-X.
  • "Juden in Königsberg" (ภาษาเยอรมัน). Ostpreussen.net. 2006-12-12. สืบค้นเมื่อ 2008-03-05.
  • Turnbull, Stephen (2003). Crusader Castles of the Teutonic Knights (1): The red-brick castles of Prussia 1230–1466. Oxford: Osprey Publishing. p. 64. ISBN 1-84176-557-0.
  • Urban, William (2003). The Teutonic Knights: A Military History. London: Greenhill Books. p. 290. ISBN 1-85367-535-0.
  • Wieck, Michael (2003). A Childhood Under Hitler and Stalin: Memoirs of a "Certified Jew. Madison: University of Wisconsin Press. ISBN 0-299-18544-3.
  • Zinkevičius, Zigmas (2008). Mažosios Lietuvos indėlis į lietuvių kultūrą. Vilnius: Mokslo ir enciklopedijų leidybos institutas. p. 286. ISBN 978-5-420-01621-3.
อ้างอิง
  1. Bradbury, Jim (2004). Routledge Companion to Medieval Warfare. p. 75. ISBN -0-203-64466-2.
  2. Zieniukowa, J (2007). "On the History of Polish Language in Königsberg". Acta Baltico-Slavica. Archeologia, Historia, Ethnographia, et Linguarum Scientia. 31: 325–337.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้