เกาะโอกินาวะ
เกาะโอกินาวะ (ญี่ปุ่น: 沖縄島; โรมาจิ: Okinawa-jima; โอกินาวะ: 沖縄/うちなー อูจินา;[4] คูนิงามิ: ふちなー ฟูจินา) มีชื่อทางการว่า เกาะหลักโอกินาวะ (ญี่ปุ่น: 沖縄本島; โรมาจิ: Okinawa-hontō)[5] เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะโอกินาวะและหมู่เกาะรีวกีว (นันเซ) ในภูมิภาคคีวชูของประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นเกาะที่เล็กที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในบรรดา 5 เกาะหลักของญี่ปุ่น[6] เกาะนี้มีความยาวประมาณ 106 กิโลเมตร (66 ไมล์) กว่างเฉลี่ย 11 กิโลเมตร (7 ไมล์)[7] และมีพื้นที่ 1,206.98 ตารางกิโลเมตร (466.02 ตารางไมล์) เกาะนี้มีระยะห่างจากทางใต้ของเกาะหลักในคีวชูถึงส่วนอื่นของญี่ปุ่นเกือบ 640 กิโลเมตร (350 ไมล์ทะเล; 400 ไมล์) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน 500 km (270 nmi; 310 mi) เกาะโอกินาวะมีประชากรรวม 1,384,762 คน[3] โดยเกรตเตอร์นาฮะมีพลเมืองเกือบ 800,000 คน ส่วนตัวนครมีประชากรประมาณ 320,000 คน นาฮะเป็นเมืองหลักของจังหวัดโอกินาวะที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ
ชื่อท้องถิ่น: 沖縄本島 | |
---|---|
เกาะโอกินาวะใน ค.ศ. 2015 | |
แผนที่เกาะ | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | มหาสมุทรแปซิฟิก |
พิกัด | 26°28′46″N 127°55′40″E / 26.47944°N 127.92778°E |
กลุ่มเกาะ | หมู่เกาะรีวกีว |
พื้นที่ | 1,199[1] ตารางกิโลเมตร (463 ตารางไมล์) ณ วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2018[2] |
อันดับพื้นที่ | ที่ 299 |
ความยาว | 106.6 กม. (66.24 ไมล์) |
ความกว้าง | 11.3 กม. (7.02 ไมล์) |
ระดับสูงสุด | 503 ม. (1650 ฟุต) |
จุดสูงสุด | เขาโยนาฮะ |
การปกครอง | |
จังหวัด | จังหวัดโอกินาวะ |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 1,466,870[3] (2022) |
ความหนาแน่น | 1,014.93/กม.2 (2628.66/ตารางไมล์) |
กลุ่มชาติพันธุ์ | รีวกีว, ญี่ปุ่น |
โอกินาวาเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของกองทัพสหรัฐอเมริกาตั้งแต่การรบที่โอกินาวาและสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เกาะนี้อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเป็นทางการโดยหน่วยงานการบริหารพลเรือนสหรัฐในหมู่เกาะริวกิว จนถึงปี 1972 ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐประมาณ 26,000 นายประจำการอยู่ที่โอกินาวา คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกองกำลังสหรัฐที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น โดยกระจายอยู่ใน 31 พื้นที่ ครอบคลุมฐานทัพ 13 แห่ง และสถานที่ฝึกซ้อมอีก 48 แห่ง ฐานทัพของกองทัพสหรัฐครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 25% ของเกาะ
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรศาสตร์
แก้ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2009 รัฐบาลญี่ปุ่นประมาณการว่าเกาะโอกินาวะมีประชากร 1,384,762 คน[3] ซึ่งนับรวมเจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันและครอบครัวของพวกเขา ภาษาโอกินาวะ ซึ่งมีชื่อในภาษาแม่ว่า Uchināguchi พูดกันเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่เท่านั้น[8] แต่กลุ่มท้องถิ่นหลายกลุ่มส่งเสริมการใช้ภาษาโอกินาวาในหมู่คนรุ่นใหม่[9]
ในขณะที่ตอนเหนือของเกาะโอกินาวะมีประชากรอยู่กระจัดกระจาย ส่วนกลางตอนใต้ถึงตอนใต้ของเกาะกลายเป็นเมืองแล้ว โดยเฉพาะนครนาฮะและเขตเมืองที่ทอดยาวไปทางเหนือจากที่นั่นถึงนครโอกินาวะ การกระจายตัวของประชากรอยู่ที่ประมาณ 120,000 คนในโอกินาวะตอนเหนือ 590,000 คนในโอกินาวะตอนกลาง และ 540,000 คนในโอกินาวะตอนใต้ เกาะนี้มีความหนาแน่นประชากรสูงถึง 1,014.93 คนต่อตารางกิโลเมตร[10]
ในช่วงยุคเมจิ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ประเพณี วัฒนธรรม และภาษาโอกินาวะถูกกดทับโดยรัฐบาลเมจิที่พยายามดูดกลืนชาวโอกินาวะให้เป็นญี่ปุ่น (ยามาโตะ)[11][12][13][14][15][16] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากจึงอพยพมายังโอกินาวะ พลเมืองโอกินาวะสมัยใหม่โดยหลักอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์โอกินาวะ, ญีปุ่่น, ครึ่งญี่ปุ่น และลูกครึ่ง
ภูมิศาสตร์
แก้โอกินาวะเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับห้าของญี่ปุ่น เกาะนี้มีพื้นที่ 1,206.99 ตารางกิโลเมตร (466.02 ตารางไมล์) ชายฝั่งยาว 476 กิโลเมตร (296 ไมล์)[17] และมีระยะทางเป็นเส้นตรงจากเหนือจรดใต้ประมาณ 106.6 กิโลเมตร (66.2 ไมล์)[18] เกาะโอกินาวะตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดโอกินาวะ นับตั้งแต่ปี 1972 ได้มีการถมที่ดินเพิ่มมากกว่า 1,000 เฮกตาร์ (2,500 เอเคอร์)
โอกินาวะตั้งอยู่ห่างจากเกาะหลักของคิวชูไปทางใต้ประมาณ 640 กิโลเมตร (400 ไมล์) และมีการเชื่อมต่อกับเกาะใกล้เคียงทางสะพานหลายจุด เช่น คาบสมุทรคัตสึเร็งที่เชื่อมต่อกับเกาะมิยางิ เกาะอิเก และเกาะฮามาฮิงะผ่านถนนกลางทะเล ส่วนทางคาบสมุทรโมโตบุทางตะวันตกเฉียงเหนือมีสะพานเชื่อมกับเกาะเซโซโกะกับเกาะยางาจิและเกาะโคริ เกาะโอกินาวามีชายหาดหลายแห่ง เช่น ชายหาดมันซะ ชายหาดเอเมอรัลด์ ชายหาดโอกูมะ ชายหาดซัมปะ ชายหาดมูน และชายหาดซันเซ็ต (เมืองชาตัง) เขาโอโมโตะที่สูง 525.5 เมตร (1,724 ฟุต) เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโอกินาวะ โดยมียอดเขาโยนาฮะที่สูงเป็นอันดับสอง[19]
ภูมิอากาศ
แก้เกาะนี้มีสภาพภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อนชิดกับภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยให้ป่ากึ่งร้อนชื้นมีความหนาแน่นสูงในอุทยานแห่งชาติยัมบารุทางตอนเหนือ ฤดูฝนเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ[20]
ข้อมูลภูมิอากาศของนาฮะ (ปกติ ค.ศ. 1991−2020, สูงสุด ค.ศ. 1890−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 27.0 (80.6) |
27.1 (80.8) |
28.2 (82.8) |
30.6 (87.1) |
32.0 (89.6) |
34.3 (93.7) |
35.5 (95.9) |
35.6 (96.1) |
34.6 (94.3) |
33.0 (91.4) |
31.6 (88.9) |
29.4 (84.9) |
35.6 (96.1) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 19.8 (67.6) |
20.2 (68.4) |
21.9 (71.4) |
24.3 (75.7) |
27.0 (80.6) |
29.8 (85.6) |
31.9 (89.4) |
31.8 (89.2) |
30.6 (87.1) |
28.1 (82.6) |
25.0 (77) |
21.5 (70.7) |
26.0 (78.8) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 17.3 (63.1) |
17.5 (63.5) |
19.1 (66.4) |
21.5 (70.7) |
24.2 (75.6) |
27.2 (81) |
29.1 (84.4) |
29.0 (84.2) |
27.9 (82.2) |
25.5 (77.9) |
22.5 (72.5) |
19.0 (66.2) |
23.3 (73.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 14.9 (58.8) |
15.1 (59.2) |
16.7 (62.1) |
19.1 (66.4) |
22.1 (71.8) |
25.2 (77.4) |
27.0 (80.6) |
26.8 (80.2) |
25.8 (78.4) |
23.5 (74.3) |
20.4 (68.7) |
16.8 (62.2) |
21.1 (70) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 6.1 (43) |
4.9 (40.8) |
6.3 (43.3) |
8.7 (47.7) |
11.0 (51.8) |
14.8 (58.6) |
20.8 (69.4) |
20.7 (69.3) |
17.0 (62.6) |
14.8 (58.6) |
8.6 (47.5) |
6.8 (44.2) |
4.9 (40.8) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 101.6 (4) |
114.5 (4.508) |
142.8 (5.622) |
161.0 (6.339) |
245.3 (9.657) |
284.4 (11.197) |
188.1 (7.406) |
240.0 (9.449) |
275.2 (10.835) |
179.2 (7.055) |
119.1 (4.689) |
110.0 (4.331) |
2,161.0 (85.079) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
ความชื้นร้อยละ | 66 | 69 | 71 | 75 | 78 | 83 | 78 | 78 | 75 | 72 | 69 | 67 | 73 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) | 12.2 | 11.3 | 12.6 | 11.6 | 13.1 | 12.4 | 11.0 | 13.9 | 13.3 | 10.6 | 9.6 | 10.7 | 142.0 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 93.1 | 93.1 | 115.3 | 120.9 | 138.2 | 159.5 | 227.0 | 206.3 | 181.3 | 163.3 | 121.7 | 107.4 | 1,727.1 |
แหล่งที่มา: Japan Meteorological Agency[21] |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Okinawa | Facts, History, & Points of Interest". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.
- ↑ "Statistical reports on the land area by prefectures and municipalities in Japan as of 2018" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Geospatial Information Authority of Japan. 1 October 2018. p. 103. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 (ในภาษาญี่ปุ่น) 沖縄県推計人口データ一覧(Excel形式) เก็บถาวร 13 กรกฎาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pref.okinawa.jp. Retrieved on 16 August 2013.
- ↑ 語彙詳細―首里・那覇方言 เก็บถาวร 19 พฤศจิกายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Okinawa Center of Language Study. Retrieved on 2 December 2014.
- ↑ "Okinawa Main Island". Visit Okinawa Japan | Official Okinawa Travel Guide.
- ↑ "離島とは(島の基礎知識) (what is a remote island?)". MLIT (Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. 22 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (website)เมื่อ 13 November 2007. สืบค้นเมื่อ 9 August 2019.
MILT classification 6,852 islands(main islands: 5 islands, remote islands: 6,847 islands)
- ↑ "Okinawa Island | island, Japan". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2018. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
- ↑ Okinawan, Central ที่ Ethnologue (25th ed., 2022)
- ↑ Noguchi 2001, p. 76.
- ↑ "平成17年 全国都道府県市区町村別面積調" (PDF). 国土地理院. 1 October 2005. p. 189. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 January 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
- ↑ Minahan, James B. (2014), Ethnic Groups of North, East, and Central Asia: An Encyclopedia, ABC-CLIO, pp. 231–233, ISBN 978-1-61069-018-8, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2020, สืบค้นเมื่อ 5 April 2021
- ↑ Christy 2004, p. 173–175.
- ↑ Rabson 2008, p. 4.
- ↑ Dubinsky & Davies 2013, p. 15–16.
- ↑ Caprio 2014, p. 49–50, 63, 66–67.
- ↑ Inoue 2017, p. 3.
- ↑ 『日本統計年鑑 平成26年』「1-2 主な島」(2013年)p.13, 17
- ↑ 『日本歴史地名大系』「沖縄島」(2002年)p.73中段
- ↑ "Yonaha-dake". Nihon Daihyakka Zensho (Nipponika) (日本大百科全書(ニッポニカ) "Large Encyclopedia of Japan (Nipponika)") (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2007. สืบค้นเมื่อ 16 March 2012.
- ↑ The Japan Times (13 May 2017). "Rainy season starts in Okinawa and Amami". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2018.
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2021. สืบค้นเมื่อ 19 May 2021.
ข้อมูล
แก้- Caprio, Mark (2014). Japanese Assimilation Policies in Colonial Korea, 1910-1945. University of Washington Press. ISBN 978-0-295-99040-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2021. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
- Christy, Alan S. (2004). "The making of imperial subjects in Okinawa". ใน Weiner, Michael (บ.ก.). Race, Ethnicity and Migration in Modern Japan: Imagined and imaginary minorities. Taylor & Francis. ISBN 978-0-415-20857-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2021. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
- Dubinsky, Stanley; Davies, William (2013). Steven Heine (บ.ก.). "Language Conflict and Language Rights: The Ainu, Ryūkyūans, and Koreans in Japan". Japan Studies Review. 17. ISSN 1550-0713. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2018. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
- Inoue, Masamichi S. (2017). Okinawa and the U.S. Military: Identity Making in the Age of Globalization. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-51114-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2017. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
- Rabson, Steve (February 2008). "Okinawan Perspectives on Japan's Imperial Institution". The Asia-Pacific Journal. 6 (2). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2020. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว เกาะโอกินาวะ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)