เกมกลคนอัจฉริยะ
เกมกลคนอัจฉริยะ หรือ ยูกิโอ (ญี่ปุ่น: 遊☆戯☆王; โรมาจิ: Yū-Gi-Ō!; อังกฤษ: Yu-Gi-Oh!) เป็นมังงะชุดสัญชาติญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเล่นเกมที่แต่งเรื่องและวาดภาพประกอบโดยคาซูกิ ทากาฮาชิ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2539 ถึงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 ส่วนในประเทศไทยตีพิมพ์ลงในนิตยสารซีคิดส์ ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ เนื้อเรื่องจะติดตามเรื่องราวของเด็กหนุ่มมัธปลายที่ชื่อมุโต้ ยูกิ วันหนึ่งเขาได้ไขปริศนาอียิปต์โบราณที่รู้จักกันในชื่อตัวต่อพันปีได้สำเร็จ ทำให้ร่างกายถูกสิงร่างโดยวิญญาณฟาโรห์ไร้นาม
เกมกลคนอัจฉริยะ | |
遊☆戯☆王 | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Yu-Gi-Oh! |
แนว | แอ็กชัน, ผจญภัย, จินตนิมิต, บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์, เหนือธรรมชาติ |
มังงะ | |
เขียนโดย | คาซูกิ ทากาฮาชิ |
สำนักพิมพ์ | ชูเอชะ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | สยามอินเตอร์คอมิกส์ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษ | Viz Media |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
กำกับโดย | ฮิโรยูกิ คาคุโด |
เขียนบทโดย | โทชิกิ อิโนอุเอะ |
ดนตรีโดย | บีเอ็มเอฟ |
สตูดิโอ | โทเอแอนิเมชัน |
เครือข่าย | ทีวีอาซาฮิ,ทีวีโตเกียว |
เครือข่ายภาษาอังกฤษ | ช่อง 3, ยูบีซี |
ฉาย | 4 เมษายน พ.ศ. 2541 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 |
ตอน | 27 |
ภาพยนตร์อนิเมะ | |
กำกับโดย | จุนจิ ชิมิซุ |
เขียนบทโดย | โคบายาชิ ยาสุโกะ |
ดนตรีโดย | บีเอ็มเอฟ |
สตูดิโอ | โทเอแอนิเมชัน |
ความยาว | 30 นาที |
นวนิยาย | |
เขียนโดย | คัทซึฮิโกะ ชิบะ |
สำนักพิมพ์ | ชูเอชะ |
วางจำหน่าย | 3 กันยายน พ.ศ. 2542 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
ภาพยนตร์ | |
ภาคแยก | |
มังงะต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะนั้นได้มีการดัดแปลงเป็นอนิเมะถึงสองครั้งซึ่งครั้งที่หนึ่งโดยโทเอแอนิเมชัน ที่มีชื่อว่า เกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541[1] และครั้งที่สองที่ผลิตโดยนิฮงเอดีซิสเตมส์ และแอนิเมชันโดยแกลลอป ที่มีชื่อว่า ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547
หลังจากที่มังงะและอนิเมะต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะประสบความสำเร็จก็ได้ให้กำเนิดแฟรนไชส์สื่อมากมายเช่น ภาคแยกของอนิเมะและมังงะ, เทรดดิงการ์ดเกม, และวิดีโอเกมจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ของแฟรนไชส์จะเกี่ยวโยงกับเกมสะสมการ์ดที่รู้จักกันในชื่อ ดูเอลมอนสเตอร์ ที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องใช้การ์ดมอนสเตอร์, เวทมนตร์, หรือกับดัก ในการ ดูเอล ซึ่งในระบบการแพ้ชนะนั้นถ้าทำให้ผู้เล่นอีกฝ่ายไลฟ์พอยท์เป็นศูนย์หรือการ์ดในเด็คอีกฝ่ายหมดก็เป็นฝ่ายชนะ และในปี พ.ศ. 2561 เกมกลคนอัจฉริยะ ได้เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์สื่อที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล[2]
ชื่อ
แก้ในภาษาญี่ปุ่นคำว่ายูกิโอ 遊戯王 (yugiō) ซึ่งมีลักษณะเป็น 遊☆戯☆王 หมายถึง "ราชาแห่งเกม" เป็นการเล่นคำของตัวเอก ยูกิ ซึ่งหมายถึง "เกม" (遊戯) ในชื่อภาษาอังกฤษใช้ "Oh!" แทนที่จะเป็น "ō" เพื่อสะท้อนถึงเสียงที่ยูกิเปล่งเสียงออกมาเมื่อเปลี่ยนเป็น ยูกิอีกคน (ยูกิด้านมืด) คาซูกิ ทากาฮาชิ ได้ระบุไว้ว่าชื่อตัวละครของ "ยูกิ" และ "โจวโนะอุจิ" ทั้งสองนั้นมีพื้นฐานมาจากคำว่ายูโจว yūjō (友情) ซึ่งหมายถึง "มิตรภาพ"
โครงเรื่อง
แก้มุโต้ ยูกิ เด็กหนุ่มมัธยมปลายที่ชอบเล่นเกมทุกชนิด และมีนิสัยที่ขี้อายจึงมักจะถูกแกล้งอยู่เป็นประจำ วันหนึ่งยูกิได้ไขปริศนาอียิปต์โบราณที่รู้จักกันในชื่อตัวต่อพันปี (ญี่ปุ่น: 千年パズル; โรมาจิ: Sennen Pazuru; อังกฤษ: Millennium Puzzle) ได้สำเร็จทำให้ร่างกายถูกสิงโดนวิญญาณลึกลับที่มีนิสัยชอบเผชิญหน้ากับความท้าทายและการพนันไม่ว่าจะเป็น การ์ด, ลูกเต๋า, หรือเกมกระดานสวมบทบาท นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมือใดที่ยูกิหรือเพื่อนพ้องถูกคุกคามโดยผู้ที่มีความมืดอยู่ในจิตใจยูกิอีกคน (ยูกิด้านมืด) จะปรากฏตัวออกมาและจะท้าดวลด้วยเกมแห่งความมืด (ญี่ปุ่น: 闇のゲーム; โรมาจิ: Yami no Gēmu; อังกฤษ: Shadow Games) ผู้ที่แพ้การดวลจะถูกลงโทษอย่างแรงที่สุดด้วยเกมลงทัณฑ์ (ญี่ปุ่น: 罰ゲーム; โรมาจิ: Batsu Gēmu; อังกฤษ: Penalty Game) ซึ่งจะเปิดเผยแก่นแท้ในจิตใจของผู้คน ในเวลาผ่านไปในเรื่องยูกิและเพื่อนพ้องได้รู้ว่าวิญญาณที่สิงในตัวต่อพันปีคือวิญญาณฟาโรห์ไร้นามจากยุคอียิปต์โบราณที่สูญเสียความทรงจำ ในขณะที่ยูกิและเพื่อนพ้องได้พยายามช่วยฟาโรห์นำความทรงจำที่หายไปกลับคืนมา ได้รู้ว่าจะต้องผ่านบททดสอบที่ต้องเดิมพันด้วยชีวิต พวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับผู้ที่มีไอเทมพันปี (ญี่ปุ่น: 千年アイテム; โรมาจิ: Sennen Aitemu; อังกฤษ: Millennium Items) และพลังของเกมแห่งความมืด[3]
ความสำคัญของดูเอลมอนสเตอร์
แก้บทแรก ๆ ของ เกมกลคนอัจฉริยะ จะได้เห็นเกมในรูปแบบต่าง ๆ โดยตั้งแต่บทที่ 60 (เล่มที่ 7) เป็นต้นไปเกมที่พบบ่อยที่สุดคือเกมการ์ดที่มีชื่อว่า ดูเอลมอนสเตอร์ (เคยมีชื่อว่า เมจิกแอนด์วิซาร์ด) ที่จะโผล่มาให้เห็นผ่านบทเรื่องราวดูเอลลิสคิงดอมและแบตเทิลซิตี ซึ่งต่อมาจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงเรื่องเพิ่มขึ้นผ่านบทเรื่องราวในภายหลัง เกมอื่น ๆ ยังคงปรากฏให้เห็นในช่วงดราก้อน ไดซ์ แอนด์ ดันเจียนส์และบางส่วนในศึกดูเอลท้าฟาโรห์
นิฮงเอดีซิสเตมส์และแกลลอปของอนิเมะ ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ได้ส่งเสริมให้เกม ดูเอลมอนสเตอร์ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับในเนื้อเรื่องหลักและตอนเสริมมากขึ้น ทำให้จักรวาลเกมกลคนอัจฉริยะเปลี่ยนไปสู่จักรวาลที่มีดูเอลมอนสเตอร์เป็นศูนย์กลาง ดูเอลมอนสเตอร์เป็นเกมที่เล่นด้วยระบบภาพฮอโลกราฟีที่สร้างขึ้นโดยไคบะ เซโตะ (ตามครั้งแรกที่ไคบะดวลกับยูกิในเกมแห่งความมืด) ซึ่งจะสามารถฉายภาพมอนสเตอร์ลงไปในฟีลด์ ในมังงะและอนิเมะของโทเอแอนิเมชัน เกมกลคนอัจฉริยะ จะใช้โต๊ะแสดงภาพฮอโลกราฟีทีเรียกว่าแบตเทิลบ็อกซ์ และในขณะที่ ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ใช้สนามฮอโลกราฟีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าดูเอลริง หลังจากนั้นเริ่มตั้งแต่บทเรื่องราวแบตเทิลซิตีเป็นต้นไป การดวลจะเปลี่ยนไปเป็นแบบพกพาที่เรียกว่าดูเอลดิสก์ ที่คิดค้นโดยไคบะ เซโตะประธานไคบะคอร์ปอเรชันโดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่าโซลิดวิชันซึ่งทำให้สามารถดูเอลมอนสเตอร์เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา [ต้องการอ้างอิง]
การพัฒนา
แก้คาซูกิ ทากาฮาชิ เคยทำงานอยู่บริษัทสร้างเกมแต่เพราะอยากเขียนการ์ตูนก็เลยวาดต้นฉบับเอาไว้ 100 หน้าแล้วเอาไปส่งที่สำนักพิมพ์ พอบรรณาธิการของสำนักพิมพ์เห็นจำนวนหน้าก็ตกใจแต่พอได้อ่านทั้งหมดก็เข้าก็เข้าใจว่าอยากจะเขียนเรื่องราวการต่อสู้แต่ในท้ายที่สุดก็ได้ถูกปฏิเสธ[4] ก่อนที่จะเขียนเรื่อง เกมกลคนอัจฉริยะ ทากาฮาชิเคยเดินทางไปเก็บข้อมูลที่อียิปต์[5]
ในช่วงการออกแบบของมังงะทากาฮาชิอยากจะวาดมังงะแนวสยองขวัญ[6] ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นมังงะเกี่ยวกับเกม แต่ก็ยังมีองค์ประกอบของสยองขวัญที่มีอิทธิผลต่อบางแง่มุมของเนื้อเรื่อง ทากาฮาชิตัดสินใจที่จะใช้ "การดวล" เป็นแก่นเรื่องหลักสำคัญ เนื่องจากมีมังงะเกี่ยวกับ "การต่อสู้" เยอะมากจึงทำให้ยากที่จะคิดค้นสิ่งที่ไม่เหมือนใคร สุดท้ายก็กำหนดลงไปว่า "การต่อสู้ที่ตัวละครหลักจะไม่โจมตีใคร" แต่ก็ต้องดิ้นรนกับข้อจำกัดดังกล่าว เมื่อคำว่า เกม เข้าไปในความคิดของทากาฮาชิและพบว่าหนทางข้างหน้าเปิดขว้างขึ้นทันที และนี้คือเหตุผลที่เขียน เกมกลคนอัจฉริยะ[7]
เมื่อผู้สัมภาษณ์ถามทากาฮาชิว่าเขาพยายามแนะนำผู้อ่านที่อายุน้อยกว่าให้กับเกมการเล่นที่อ้างอิงอยู่ในมังงะ ทากาฮาชิตอบว่าเขาเพียงรวบรวมเกมที่ "เคยเล่นและสนุก" และอาจจะทำให้ผู้อ่านรู้จักกับเกมสวมบทบาทและเกมอื่น ๆ ทากาฮาชิเสริมว่าเขาสร้างบางเกมที่เห็นอยู่ในมังงะ[8]
ทากาฮาชิได้ให้ความสนใจในเกมมาโดยตลอด โดยอ้างว่าเป็นเด็กที่ติดเกมและยังคงสนใจเกมในขณะที่ผู้ใหญ่ เขาชอบเล่นเกมที่มีผู้เล่นกลายเป็นฮีโร่ โดยตัดสินใจให้ เกมกลคนอัจฉริยะ เป็นเหมือนเกมดังกล่าวที่มี ยูกิเป็นเด็กที่อ่อนแอเมื่อเล่นเกมจะกลายเป็นฮีโร่ ทากาฮาชิคิดว่าเด็กทุกคนใฝ่ฝันที่จะอยากแปลงร่างได้ (変身) ซึ่งทำให้ยูกิแปลงร่างเป็นยูกิอีกคน (ยูกิด้านมืด) ทำให้นิสัยเปลี่ยนไปเป็นผู้เล่นเกมที่ฉลาดและไร้เทียมทาน เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดสำหรับเด็ก[9] ตัวละครของไคบะ เซโตะนั้นอิงมาจากผู้เล่นสะสมการ์ดในชีวิตจริงที่มีนิสัยหยิ่งผยองซึ่งเอามาจากบุคคลที่อยู่ในเรื่องราวที่เพื่อนของทากาฮาชิเคยเล่าให้ฟัง[10]
สื่อ
แก้มังงะ
แก้- ภาพรวมมังงะ
ลำดับ | ชื่อ | เล่ม | ตีพิมพ์ครั้งแรก | ตีพิมพ์ครั้งสุดท้าย | นักเขียน | นิตยสาร | สำนักพิมพ์ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เกมกลคนอัจฉริยะ | 38 | 30 กันยายน 2539 | 8 มีนาคม 2547 | คาซูกิ ทากาฮาชิ | ชูเอชะ | โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ | |
2 | เกมกลคนอัจฉริยะ R | 5 | มิถุนายน 2547 | มกราคม 2551 | อากิระ อิโต | วีจัมป์ | ||
3 | เกมกลคนอัจฉริยะ GX | 9 | 17 ธันวาคม 2548 | 19 มีนาคม 2554 | นาโอยูกิ คาเงยามะ | วีจัมป์ | ||
4 | เกมกลคนอัจฉริยะ 5D's | 9 | 21 สิงหาคม 2552 | 21 มกราคม 2558 | มาซาฮิโระ ฮิโกคุโบะ | โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ | ||
5 | ยูกิโอ ZEXAL | 9 | 18 ธันวาคม 2553 | 21 มิถุนายน 2558 | ชิน โยชิดะ | วีจัมป์ | ||
6 | ยูกิโอ D ทีมเซอัล [11] | 24[12] | 3 เมษายน 2555 | 3 เมษายน 2557 | อากิฮิโระ โทโมนากะ | ไซเคียวจัมป์ | ||
7 | ยูกิโอ อาร์คไฟว์ | 7 | สิงหาคม 2558 | เมษายน 2562 | ชิน โยชิดะ | วีจัมป์ | ||
8 | ยูกิโอ ARC-V สุดยอดดูเอลลิสต์ยูยะ | 2 | 3 เมษายน 2558 | 3 สิงหาคม 2560 | อากิฮิโระ โทโมนากะ | ไซเคียวจัมป์ | ||
9 | ยูกิโอ OCG สตรัคเจอร์ส[13] | 21 มิถุนายน 2562 | ปัจจุบัน | วีจัมป์ | ||||
รวมทั้งหมด | 80 | 30 กันยายน 2539 | ปัจจุบัน | - |
เกมกลคนอัจฉริยะ
แก้มังงะต้นฉบับของ เกมกลคนอัจฉริยะ ที่เขียนและวาดภาพประกอบโดยคาซูกิ ทากาฮาชิ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ในระหว่างวันที่ 30 กันยายน ปี พ.ศ. 2539 ถึงวันที่ 8 มีนาคม ปี พ.ศ. 2547 ซึ่งจะไม่เหมื่อนสืออื่น ๆ ในเกมกลคนอัจฉริยะ มังงะต้นฉบับนั้นจะมีเกมหลากหลายรูปแบบ เนื้อเรื่องจะออกมาเป็นฉาก ๆ พอสมควรและเจ็ดเล่มแรกนั้นจะมี ดูเอล มอสเตอร์ อยู่เพียงสามเล่ม ในบทที่เจ็ดสิบบทเรื่องราว ดูเอลลิสคิงดอม ได้เริ่มขึ้นและดูเอลมอนสเตอร์เริ่มจะเป็นบทบาทสำคัญในเรื่อง และหลังจากบทเรื่องราวของ ดราก้อน ไดซ์ แอนด์ ดันเจียนส์ ดูเอลมอนสเตอร์ได้ปรากฏให้เห็นอีกครั้งและกลายเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องที่สำคัญในบทเรื่องราวของ แบตเทิลซิตี และในบทเรื่องราวสุดท้ายของมังงะจะมุ่งเน้นไปยังเกมสมบทบาทบนโต๊ะ ที่จะเป็นการจำลองความทรงจำที่หายไปของฟาโรห์โดยถูกเรียกว่า เกมสวมบทบาทแห่งความมืด บรรณาธิการคือโยชิฮิสะ เฮชิและฮิซาโอ ชิมาดะ คาซูกิ ทากาฮาชิให้เครดิตกับโยชิมาสะ ทากาฮาชิ ในส่วน "ขอขอบคุณเป็นพิเศษ"[14]
เกมกลคนอัจฉริยะ R
แก้มังงะภาคแยกที่เขียนและวาดภาพประกอบโดยอากิระ อิโต ภายใต้การควบคุมดูแลของคาซูกิ ทากาฮาชิ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในจักรวาลต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะในระหว่างบทเรื่องราว แบตเทิลซิตี และ ศึกดูเอลท้าฟาโรห์ โดยในเรื่องยูกิและเพื่อนพ้องพยายามที่จะหยุดชายที่ชื่อยาโกะ เทนมะ เพราะเขาวางแผนที่จะใช้ร่างของมาซากิ อันซุ เพื่อคืนชีพเปกาซัส เจ ครอว์ฟอร์ด ตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ ในระหว่างวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยตีพิมพ์เป็นหนังสือรวมเล่มทั้งหมด 5 เล่ม ส่วนที่ประเทศไทยตีพิมพ์ลงนิตยสารซีคิดส์ ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์
อนิเมะ
แก้- ภาพรวมอนิเมะและภาพยนตร์
ลำดับ | ชื่อ | ตอน | ฉายครั้งแรก | ฉายครั้งสุดท้าย | ผู้กำกับ | สตูดิโอ | ออกอากาศ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เกมกลคนอัจฉริยะ | 27 | 4 เมษายน 2541 | 10 ตุลาคม 2541 | ฮิโรยูกิ คาคุโด | โทเอแอนิเมชัน | ทีวีอาซาฮิ | |
ภาพยนตร์ | ยูกิโอ | 6 มีนาคม 2542 | จุนจิ ชิมิซุ | - | ||||
2 | ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ | 224 | 18 เมษายน 2543 | 29 กันยายน 2547 | คุนิฮิสะ ซุกิชิมะ | แกลลอป | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | |
ภาพยนตร์ | เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ บทพีระมิดแห่งแสง | 3 พฤศจิกายน 2547 | ฮัตซุกิ ทสึจิ | 4คิดส์เอนเตอร์เทนเมนต์ | - | |||
3 | เกมกลคนอัจฉริยะ GX | 180 | 6 ตุลาคม 2547 | 26 มีนาคม 2551 | แกลลอป | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | ||
4 | ยูกิโอ แคปซูลมอนสเตอร์ | 12 | 9 กันยายน 2549 | 25 พฤศจิกายน 2549 | อีริก สจวต | 4คิดส์เอนเตอร์เทนเมนต์ | 4คิดส์ทีวี | |
5 | ยูกิโอ 5D's | 154 + 1 | 2 เมษายน 2551 | 30 มีนาคม 2554 | คัทซึมิ โอโนะ | แกลลอป | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | |
ภาพยนตร์ | ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ แมตช์มรณะข้ามเวลาพลิกอนาคต | 23 มกราคม 2553 | เคนอิจิ ทาเคชิตะ | - | ||||
6 | ยูกิโอ ZEXAL | 146 + 1 | 11 เมษายน 2554 | 24 กันยายน 2555 | ซาโตชิ คุวาบาระ | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | ||
7 | ยูกิโอ ZEXAL II | 7 ตุลาคม 2555 | 23 มีนาคม 2557 | ทีวีโตเกียว | ||||
8 | ยูกิโอ ARC-V | 148 | 6 เมษายน 2557 | 26 มีนาคม 2560 | คัทซึมิ โอโนะ | ทีเอกซ์เอ็น (ทีวีโตเกียว) | ||
ภาพยนตร์ | ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ ศึกปริศนาด้านมืด | 23 เมษายน 2559 | ซาโตชิ คุวาบาระ | |||||
9 | ยูกิโอ VRAINS | 120 | 10 พฤษภาคม 2560 | 25 กันยายน 2562 | มาซาฮิโระ โฮโซดะ (#1–13) คัตสึยะ อาซาโนะ (#14–120) |
ทีวีโตเกียว | ||
10 | ยูกิโอ SEVENS | 92 | 4 เมษายน 2563 | 27 มีนาคม 2565 | คนโด โนบุฮิโระ | บริดจ์ | ||
11 | ยูกิโอ โกรัช!! | 3 เมษายน 2565 | ||||||
รวมทั้งหมด | 1103 + 7 | 4 เมษายน 2541 | ปัจจุบัน | - |
เกมกลคนอัจฉริยะ
แก้เป็นครั้งแรกของ เกมกลคนอัจฉริยะ ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นอนิเมะซึ่งผลิตขึ้นโดยโทเอแอนิเมชัน ได้ออกอากาศทางทีวีอาซาฮิ ในระหว่างวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 โดยออกฉายทั้งหมด 27 ตอน อนิเมะเรื่องนี้จะตัดเนื้อหาบางส่วนที่มาจากมังงะต้นฉบับออกโดยข้ามหลายบทและมักจะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของมังงะ นอกจากนี้ในเนื้อเรื่องจะมีตัวละครที่ชื่อมิโฮะ โนซากะ เข้าร่วมกลุ่มของยูกิ ซึ่งเดิมทีเป็นตัวละครรองที่ปรากฏอยู่ในมังงะเกมกลคนอัจฉริยะแค่บทเดียวเท่านั้น การดัดแปลงนี้ไม่เกี่ยวข้องกับงานอื่น ๆ ในแฟรนไชส์
ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์
แก้ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ หรือรู้จักในชื่อสั้น ๆ ว่า ยูกิโอ เป็นการดัดแปลงเป็นอนิเมะครั้งที่สองของแฟรนไชส์ที่ผลิตโดยนิฮงเอดีซิสเตมส์ และแอนิมชันโดยสตูดิโอแกลลอป ในการดัดแปลงครั้งนี้จะมีเนื้อหาจากมังงะต้นฉบับในบทที่หกสิบเป็นต้นไปเท่านั้น ดังนั้นจะแตกต่างจากมังงะต้นฉบับหรืออนิเมะของโทเอแอนิเมชัน ตรงที่เนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่เกม ดูเอลมอนสเตอร์ ที่ต่อมาได้รับการดัดแปลงเป็นเกมสะสมการ์ดที่เล่นในชีวิตจริงในชื่อ ยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม ออกอากาศทางทีวีโตเกียว ในระหว่างวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยออกฉายทั้งหมด 244 ตอน ฉบับรีมาสเตอร์ของอนิเมะที่จะเน้นไปที่การดวลโดยเฉพาะได้ออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[15]
ยูกิโอ แคปซูลมอนสเตอร์
แก้ยูกิโอ แคปซูลมอนสเตอร์ เป็นอนิเมะภาคแยกที่มี 12 ตอน ผลิตและแก้ไขโดย4คิดส์เอนเตอร์เทนเมนต์ ได้ออกอากาศที่ทวีปอเมริกาเหนือในระหว่างวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 อนิเมะเรื่องนี้ไม่ได้ออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นแต่จะมีชื่ออยู่ในเว็บไซต์ของแกลลอปที่มีชื่อว่า ยูกิโอ ALEX[16][17]
นิยาย
แก้นวนิยายดัดแปลงที่มุ่งเน้นไปยังจุดเริ่มต้นของมังงะและบทเรื่องราว Death-T ที่เขียนเรื่องโดยคัทซึฮิโกะ ชิบะ ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2542 โดยสำนักพิมพ์ชูเอชะ[18]
หนังสือเล่มอื่น
แก้ยูกิโอ คู่มือแนะนำตัวละคร: กอสเปลแห่งความจริง (ญี่ปุ่น: 遊☆戯☆王キャラクターズガイドブック―真理の福音―; โรมาจิ: Yūgiō Kyarakutāzu Gaido Bukku Shinri no Fukuin) เป็นหนังสือแนะนำที่เกี่ยวข้องกับตัวละครจากจักรวาลต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะ ที่เขียนโดยคาซูกิ ทากาฮาชิ ตีพิมพ์ลงนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเผยแพร่ที่ประเทศฝรั่งเศสโดยสำนักพิมพ์คานาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549[19] ในหนังสือเล่มนี้จะมีข้อมูลส่วนตัวของตัวละครเช่น วันเดือนปีเกิด, ความสูง, น้ำหนัก, หมู่โลหิต, อาหารที่ชอบและอาหารที่ชอบน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังรวบรวมรายชื่อเกมที่ปรากฏอยู่ในมังงะต้นฉบับและอื่น ๆ อีกมากมาย
ดูเอลอาร์ต (ญี่ปุ่น: デュエルアート; โรมาจิ: Dyueruāt) เป็นหนังสือภาพที่วาดภาพประกอบโดยคาซูกิ ทากาฮาชิ ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ในหนังสือภาพเล่มนี้จะมี รูปภาพการ์ดที่ใช้ในกรอบการ์ดครบรอบ[20], รูปภาพที่ทากาฮาชิโพสต์ลงเว็บไซต์, และรูปภาพต้นฉบับอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งที่เป็นรูปตัวละครหรือมอนสเตอร์[21][22]
ภาพยนตร์ & โทรทัศน์อนิเมะ ยูกิโอ ซูเปอร์คอมพลีตบุ๊ค (ญี่ปุ่น: 劇場&TVアニメ『遊☆戯☆王』スーパー・コンプリートブック; โรมาจิ: Gekijō & TV Anime Yūgiō Sūpā Konpurītobukku) เป็นหนังสือรวบรวมข้อมูลและรูปภาพเกี่ยวกับภาพยนตร์และอนิเมะเรื่องแรกของ เกมกลคนอัจฉริยะ เผยแพร่เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2542 หลังจากการเผยแพร่ภาพยนตร์ ยูกิโอ ของโทเอแอนิเมชัน[23]
ยูกิโอหนังสือภาพเคลือนไหวครบรอบ 10 ปี (ญี่ปุ่น: 遊☆戯☆王 テンス アニバーサリー アニメーション ブック; โรมาจิ: Yūgiō! Tensu Anivāsarī Animēshon Bukku) เป็นหนังสือที่ทำออกมาเพื่อฉลองครบรอบสิบปีสำหรับการดัดแปลงเป็นอนิเมะเกมกลคนอัจฉริยะของนิฮงเอดีซิสเตมส์ ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553 หนังสือเล่มนี้จะมีฉากจากภาพยนตร์ ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ แมตช์มรณะข้ามเวลาพลิกอนาคต, ข้อมูลตัวละคร, การดวลและบทสัมภาษณ์[24]
ภาพยนตร์
แก้ยูกิโอ (พ.ศ. 2542)
แก้อิงเรื่องมาจากเกมกลคนอัจฉริยะของโทเอแอนิเมชัน เป็นภาพยนตร์ที่ยาว 30 นาที ในเรื่องจะมุ่งเน้นไปที่อาโอยามะ โชโกะ ซึ่งถูกเป็นเป้าหมายของไคบะ เซโตะ หลังจากที่ได้รับการ์ดหายาก เรดอายส์ แบล็คดราก้อน ได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยโทเอแอนิเมชันและบนวีเอชเอสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 [25]
เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ บทพีระมิดแห่งแสง
แก้เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ บทพีระมิดแห่งแสง หรือมักจะเรียกกันว่า ยูกิโอ เดอะมูฟวี่ ได้ออกฉายครั้งแรกที่ทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการพัฒนาสำหรับผู้ชมชาวตะวันตกโดยเฉพาะ โดยมีบริษัทสัญชาติอเมริกา4คิดส์ร่วมผลิตด้วยกันกับนิฮงเอดิซิสเตมส์ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่เป็นผลตอบรับมาจากความสำเร็จของแฟรนไชส์เกมกลคนอัจฉริยะในสหรัฐอเมริกา
ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ เดอะมูฟวี่ แมตช์มรณะข้ามเวลาพลิกอนาคต
แก้เป็นภาพยนตร์ฉลองครบรอบ 10 ปีสำหรับอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะที่ผลิตโดยนิฮงเอดีซิสเตมส์ ในเนื้อเรื่องจะมีการรวบรวมเหล่าตัวละครหลักจากทั้ง 3 เรื่องได้แก่ มุโต้ ยูกิจากเกมกลคนอัจฉริยะ, ยูกิ จูไดจากเกมกลคนอัจฉริยะ GX และฟุโด ยูเชย์จากยูกิโอ 5D's เพื่อที่จะดวลกับศัตรูที่มีชื่อว่า พาราด็อกซ์ ออกฉายครั้งแรกในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553[26]
ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ ศึกปริศนาด้านมืด
แก้เป็นภาพยนตร์เฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีของแฟรนไชส์ ที่เขียนบทโดยผู้สร้างคาซูกิ ทากาฮาชิ เรื่องราวในเรื่องจะต่อจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมังงะต้นฉบับเกมกลคนอัจฉริยะ 6 ปีให้หลัง โดยในเรื่องไคบะ เซโตะพยายามที่จะนำยูกิอีกคนกลับมาจึงได้ทำการดวลกับไอกามิที่เป็นตัวร้ายของเรื่องและมุโต้ ยูกิที่เป็นตัวเอก ออกฉายครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 และได้ออกฉายที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 เมษายน ปี พ.ศ. 2560 ณ โรงภาพยนตร์ในเครือซินีเพล็กซ์[27][28] ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เปิดตัววิธีการเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่ที่เรียกว่าอัญเชิญต่างมิติ (ญี่ปุ่น: 次元召喚; โรมาจิ: Jigen Shōkan; อังกฤษ: Dimension Summon) แต่ไม่ได้ถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกมแต่อย่างใด
ภาพแยก
แก้เกมกลคนอัจฉริยะ GX
แก้เกมกลคนอัจฉริยะ GX รู้จักในประเทศญี่ปุ่นว่า ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ GX เป็นภาคแยกลำดับที่หนึ่งของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 ออกฉายทั้งหมด 180 ตอน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่กี่ปีหลังจากเหตุการณ์ของยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ซึ่งจะติดตามตัวละครที่มีชื่อว่ายูกิ จูได ที่เพิ่งจะเข้าไปเรียนที่ดูเอลอคาเดเมีย โดยหวังที่จะเป็นดูเอลคิงคนต่อไป และดูเอลลิสต์ส่วนมากจะใช้วิธีเรียกมอนสเตอร์ที่อยู่ในต้นฉบับที่เรียกว่าอัญเชิญฟิวชัน (ญี่ปุ่น: ゆうごうしょうかん; โรมาจิ: Yūgō Shōkan; อังกฤษ: Fusion Summon)
ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะโดยนาโอยูกิ คาเงยามะ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ในระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 มังงะนั้นจะไม่เหมือนกันกับอนิเมะ ดังนั้นจะเป็นเรื่องราวใหม่ที่มีมอนสเตอร์ใหม่และบุคลิกภาพของตัวละครที่แตกต่างกัน
ยูกิโอ 5D's
แก้ยูกิโอ 5D's เป็นภาคแยกลำดับที่สองของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศในระหว่างวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยออกฉายทั้งหมด 154 ตอน เนื้อเรื่องจะมุ่งเน้นไปที่ดูเอลลิสต์นักขับรถจักรยานยนต์ชื่อฟุโด ยูเซย์ และเป็นการเปิดตัวแนวคิดใหม่ ๆ เช่น ไรด์ดิงดูเอล, การดวลที่จะเกิดขึ้นบนมอเตอร์ไซค์ที่เรียกว่า ดีวีล, และได้เปิดตัวซิงโครมอนสเตอร์กับวิธีการเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่ที่มีชื่อว่าอัญเชิญซิงโคร (ญี่ปุ่น: シンクロしょうかん; โรมาจิ: Shinkuro Shōkan; อังกฤษ: Synchro Summon) ซึ่งถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม
ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะที่เขียนเรื่องโดยมาซาฮิโระ ฮิโกคุโบะ และวาดภาพประกอบโดยซาโต มาซาชิ เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2552
ยูกิโอ ZEXAL
แก้ยูกิโอ ZEXAL เป็นภาคแยกลำดับที่สามของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศในระหว่างวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 ออกฉายทั้งหมด 146 ตอน ฤดูกาลแรกออกอากาศเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 เนื้อเรื่องจะติดตามเด็กหนุ่มที่ชื่อว่าสึคุโมะ ยูมะ และบุคคลจากต่างโลกที่ชื่อว่าแอสทรัล ซึ่งเพื่อช่วยแอสทรัลนำความทรงจำที่หายกลับคืนมาจึงต้องรวบรวมการ์ดนัมเบอร์สทั้งหมด 100 ใบที่จะมีความทรงจำของแอสทรัลอยู่ และจะเหมือนกับ 5D's ตรงที่เพิ่มมอนสเตอร์แบบใหม่และวิธีอัญเชิญแบบใหม่ที่เรียกว่าอัญเชิญเอกซ์ซีส (ญี่ปุ่น: エクシーズしょうかん; โรมาจิ: Ekushīzu Shōkan; อังกฤษ: Xyz Summon) ซึ่งถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม
ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะที่เขียนเรื่องโดยชิน โยชิดะ และวาดภาพประกอบโดยนาโอโตะ มิยาชิ เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553[29]
ยูกิโอ ARC-V
แก้ยูกิโอ ARC-V เป็นภาคแยกลำดับที่สี่ของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศในระหว่างวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 ออกฉายทั้งหมด 148 ตอน เนื้อเรื่องมุ่งเน้นไปที่ตัวเอกที่มีชื่อว่าซาคากิ ยูยะ ผู้มีเป้าหมายที่จะเป็นนักเอนเตอร์เทนเหมือนกับพ่อในโลกของแอคชันดูเอลที่ระบบโซลิดวิชันวิวัฒนาการไปอีกขั้น ซึ่งทำให้มอนสเตอร์กับดูเอลลิสต์ผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน และได้เปิดตัวเพนดูลัมมอนสเตอร์กับวิธีการเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่ที่มีชื่อว่าอัญเชิญเพนดูลัม (ญี่ปุ่น: ペンデュラムしょうかん; โรมาจิ: Pendyuramu Shōkan; อังกฤษ: Pendulum Summon) ซึ่งถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม[30]
ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะโดยนาโอฮิโตะ มิโยชิ เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสารวีจัมป์ ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558
ยูกิโอ VRAINS
แก้ยูกิโอ VRAINS เป็นภาคแยกลำดับที่ห้าของอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกประกาศครั้งแรกที่งาน ชูเอชะจัมป์เฟสต้า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และได้เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เนื้อเรื่องจะติดตามดูเอลลิสต์ที่ชื่อว่าฟูจิกิ ยูซาคุ ผู้มีเป้าหมายที่จะทำลายกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีชื่อว่า อัศวินแห่งฮานอย โดยใช้นามแฝงในโลกไซเบอร์ว่า "เพลย์เมกเกอร์" และได้เปิดตัวลิงก์มอนสเตอร์กับวิธีการเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่ที่มีชื่อว่าอัญเชิญลิงก์ (ญี่ปุ่น: リンクしょうかん; โรมาจิ: Rinku Shōkan; อังกฤษ: Link Summon) ซึ่งถูกเพิ่มลงในยูกิโอ เทรดดิงการ์ดเกม[31][32]
ยูกิโอ SEVENS
แก้ยูกิโอ โกรัช!!
แก้เทรดดิงการ์ดเกม
แก้เกมกลคนอัจฉริยะ เทรดดิงการ์ดเกม เป็นเกมสะสมการ์ดสัญชาติญี่ปุ่นแบบหนึ่งต่อหนึ่งที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยโคนามิ ดัดแปลงมาจากแนวคิดของเกม ดูเอลมอนสเตอร์ ที่ปรากฏอยู่ในมังงะต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะ ซึ่งจะคล้ายกับเกมสะสมการ์ดอื่น ๆ ที่ผู้เล่นจะต้องใช้ความสามารถในการอ่าน, การคำนวณ, และหัวคิดในการใช้การ์ดเช่นใช้คอมโบระหว่างการ์ด มอนสเตอร์, เวทมนตร์, หรือกับดัก และในระบบการแพ้ชนะนั้นถ้าทำให้ผู้เล่นอีกฝ่ายไลฟ์พอยท์เหลือศูนย์หรือทำให้การ์ดในเด็คอีกฝ่ายหมดก็เป็นฝ่ายชนะ เปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2542 เกมจะมีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ปีเช่นเพิ่มวิธีเรียกมอนสเตอร์แบบใหม่และเพิ่มประเภทมอนสเตอร์แบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับอนิเมะชุดเกมกลคนอัจฉริยะ บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้บันทึกไว้ว่าเป็นเกมสะสมการ์ดที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมียอดขายการ์ดทั่วโลกประมาณ 25.2 พ้นล้านใบ[33]
วิดีโอเกม
แก้มีหลายวิดีโอเกมของแฟรนไชส์เกมกลคนอัจฉริยะที่จะถูกสร้างขึ้นโดยโคนามิ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากเกมสะสมการ์ดและเกมอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในมังงะ ส่วนใหญ่จะออกวางจำหน่ายบนเครื่องเล่นเกมและเครื่องเล่นเกมพกพา โคนามิยังได้สร้างเกมอาร์เคดที่ชื่อว่าดูเอลเทอร์มินอล ภายนอกเหนือเกมจากโคนามิ ยูกิได้ปรากฏตัวเป็นตัวละครที่สามารถเล่นได้ในเกมต่อสู้เช่น จัมป์ซูเปอร์สตาส์, จัมป์อัลทิเมตสตาส์ และจัมป์ฟอร์ซ[34][35]
การตอบรับ
แก้มังงะมียอดขายประมาณ 40 ล้านเล่ม[36] ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2545 นิตยสารโซเน็งจัมป์ได้รับรางวัล ICv2 สาขา "ผลิตภัณฑ์คอมิกแห่งปี" เนื่องจากมียอดขายที่ไม่เคยมีมาก่อนและประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงคอมิกส์กับสื่อโทรทัศน์ และยูกิโอเกมสะสมการ์ดเป็นหนึ่งในเกมสะสมการ์ดอันดับต้น ๆ ของปี[37] ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2551 ทีวีโตเกียว ได้รายงานว่ายูกิโอการ์ดมากกว่า 18 พ้นล้านใบได้ถูกขายทั่วโลก[38] และเมื่อปี พ.ศ. 2554 การ์ดมากกว่า 25.2 พ้นล้านใบ ได้ถูกขายทั่วโลก[33]
อ้างอิง
แก้- ↑ "番組表". TV Asahi. May 23, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 1998. สืบค้นเมื่อ June 1, 2009.
- ↑ Peters, Megan (June 23, 2018). "'Pokemon' Is The Highest-Grossing Franchise Of All-Time". ComicBook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ August 13, 2018.
- ↑ "Yu-Gi-Oh! Series synopsis from the official Yu-Gi-Oh! Site". www.yugioh.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 2, 2017.
- ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 10 หน้าปกส่วน คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 2 หน้าปกส่วน คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 36 (ฉบับญี่ปุ่น) คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 16 หน้าปกส่วน คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Shonen Jump. Volume 2, Issue 8. August 2004. VIZ Media. 140.
- ↑ Takeuchi Cullen, Lisa. "'I've Always Been Obsessed With Games'". Time Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-07-02. สืบค้นเมื่อ November 13, 2018.
In a game, the player becomes the hero. [...] The main character, Yugi, is a weak and childish boy who becomes a hero when he plays games. [...] As far as the manga story goes, I think all kids dream of henshin [...] if you combine the "yu" in Yugi and the "jo" in Jounouchi [...] Yujo translates to friendship in English, [...]
{{cite magazine}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เล่มที่ 17 หน้าปกส่วน คาชูกิ ทากาฮาชิ
- ↑ Yu-Gi-Oh! D Team ZEXAL
- ↑ เป็นบท
- ↑ Yu-Gi-Oh! OCG Structures
- ↑ Yu-Gi-Oh! Millennium World Volume 7. VIZ Media. 218.
- ↑ "2016 Yu-Gi-Oh! Film Teaser Recaps 20 Years of Manga, Anime". Anime News Network. December 22, 2014. สืบค้นเมื่อ August 22, 2016.
- ↑ "4KidsTV Fall Lineup". Anime News Network. May 16, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2006.
- ↑ "遊戯王 ALEX". สตูดิโอแกลลอป. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 สิงหาคม 2562.
- ↑ "遊・戯・王 [Yu-Gi-Oh]". Shueisha. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2017. สืบค้นเมื่อ February 10, 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Shueisha - ↑ https://yugioh.fandom.com/wiki/Card_layout#Anniversary_layout
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2012. สืบค้นเมื่อ February 10, 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Duel Art Kazuki Takahashi Yu-Gi-Oh! illustrations - ↑ https://www.youtube.com/watch?v=JySO8iMOVy0
- ↑ https://www.amazon.co.jp/劇場-TVアニメ『遊☆戯☆王』スーパー・コンプリートブック-週刊少年ジャンプ編集部/dp/4087827658[ลิงก์เสีย] Amazon Japan. Retrieved Feb 2013.
- ↑ https://www.amazon.co.jp/dp/408779542X Amazon Japan. Retrieved Feb 2013.
- ↑ "TOEI VIDEO RENTAL VIDEO INDEX". Toei Video. November 21, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2000. สืบค้นเมื่อ October 26, 2015.
- ↑ "News" (ภาษาญี่ปุ่น). Yugioh10th.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ December 17, 2013.
- ↑ "ยูกิโอ เกมกลคนอัจฉริยะ ศึกปริศนาด้านมืด". Majorcineplex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "SDCC 2015 Yu-Gi-Oh! COVERAGE (+ ALL new poster)". Yu-Gi-Oh!. 4K Media Inc. July 12, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2015. สืบค้นเมื่อ July 21, 2015.
- ↑ "Yu-Gi-Oh! Zexal TV Anime's Promo Video Streamed". Anime News Network. December 17, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2015.
- ↑ "Yu-Gi-Oh! Gets New Arc-V TV Anime Next Spring". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2014. สืบค้นเมื่อ October 20, 2014.
- ↑ "[Jump Festa 2017] Latest Information Stage: 6th Yu-Gi-Oh! Anime - The Organization". December 17, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2018.
- ↑ "New Yu-Gi-Oh! Anime Series Premieres in Japan in Spring 2017". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2016.
- ↑ 33.0 33.1 "Best-selling trading card game company - cumulative". Guinness World Records. March 31, 2011. สืบค้นเมื่อ March 5, 2014.
- ↑ "Jump Force Roster Now Includes Yu-Gi-Oh's Yami Yugi". PlayStation LifeStyle (ภาษาอังกฤษ). September 14, 2018. สืบค้นเมื่อ December 16, 2018.
- ↑ "DS / DSi - Jump Ultimate Stars". www.spriters-resource.com. สืบค้นเมื่อ December 16, 2018.
- ↑ 歴代発行部数ランキング (ภาษาญี่ปุ่น). Manga Zenkan. สืบค้นเมื่อ November 9, 2014.
- ↑ "ICv2 2002 Comic Awards, Part 1". ICv2. December 29, 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2008. สืบค้นเมื่อ July 1, 2008.
- ↑ "18.1 Billion 'Yu-Gi-Oh!' Cards". ICv2. August 14, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2008. สืบค้นเมื่อ November 26, 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เกมกลคนอัจฉริยะ ที่โคนามิ
- เกมกลคนอัจฉริยะ ที่วิเกีย
- เกมกลคนอัจฉริยะ เก็บถาวร 2018-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ยูกิพีเดีย