ฮีตเตอร์ (อิเล็กทรอนิกส์)
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ฮีตเตอร์ (heater) มีลักษณะเป็นแผ่นม้วนกลมประกอบด้วยผิวด้านในบุด้วยฉนวน ถัดเข้าไปจะมีลวดความร้อนที่พันอยู่รอบฉนวนและที่ผิวนอกจะหุ้มไว้ด้วยแผ่นโลหะที่มีสกรูสำหรับประกอบติดเอาไว้และจะต้องให้ผิวของกระบอกสะอาดปราศจากสิ่งอื่นมาคั่น ทั้งนี้เพื่อให้ความร้อนถ่ายเทไปยังกระบอกได้ดีที่สุด
นอกจากนี้ยังมีเครื่องวัดอุณหภูมิแบบใช้ thermoelement ที่สามารถใช้วัดอุณหภูมิได้ดีในช่วง 0-160 ºC อุปกรณ์วัดอุณหภูมิแบบ thermoelement จะมีสายต่อออกมาจากกระเปาะซึ่งภายในบรรจุ thermoelement (Fe-Konstantan) วัดค่าได้ถึง 900 ℃ แต่ถ้าต้องการวัดอุณหภูมิสูงกว่านี้ให้ใช้ thermoelement ที่ทำจาก Nickelchrom-Nickel หรือ Platinrhodium-Platin ขั้วสายสองสายที่ว่างอยู่นั้นจะนำไปต่อกับหน่วยวัดที่มีเข็มบอกอุณหภูมิ โดยอาศัยหลักการที่ว่า thermoelement เมื่อได้รับความร้อนจะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเกิดขึ้นและแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะวิ่งไปตามสายไฟเข้าเครื่องวัด ซึ่งลักษณะเป็นเครื่องมือวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าแต่สามารถแปรเทียบค่าเป็นอุณหภูมิได้
ในปัจจุบันความก้าวหน้าด้านอิเล็กทรอนิกส์รุดหน้าไปมากจึงได้มีการสร้างเครื่องควบคุมอุณหภูมิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ออกมาหลายแบบรวมทั้งแบบใช้ Photo cell ประกอบการควบคุม ซึ่งจะศึกษาได้จากตำราและคู่มือด้านเครื่องมือวัดและควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ทั่ว ๆ ไป สำหรับอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิที่ใช้กับเครื่องฉีดพลาสติกโดยเฉพาะก็มีหลายแบบ เช่น แบบใช้ thermoelement, photo cell แบบ induction และแบบใช้อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบใช้ thermoelement ซึ่งใช้หลักการเดียวกับเครื่องวัดอุณหภูมิ แต่ได้สร้างวงจรควบคุมประกอบให้ทำงานอยู่ระหว่างค่ากำหนด 2 ค่า ซึ่งเรียกเครื่องควบคุมสองจุด คือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงจุดกำหนดค่าสูงจะตัดวงจรของ heater และถ้าอุณภูมิลดต่ำลงถึงจุดกำหนดค่าต่ำก็ให้ต่อวงจรและจุดกำหนดนี้สามารถจะปรับตั้งได้ด้วยมือ