ฮะซัน อิบน์ อะลี
อัลฮะซัน อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (อาหรับ: الحسن بن علي بن أﺑﻲ طالب; อังกฤษ: Al-Hasan ibn ‘Alī ibn Abī Tālib; ค.ศ. 624–669 / ฮ.ศ. 3-50) เป็นพี่ชายของอิมามฮุซัยน์ อิบน์ อะลี และเป็นบุตรของอิมามอะลี กับท่านหญิงฟาฏิมะหฺ(อ) บุตรีนบีมุฮัมมัด
ฮะซัน อิบน์ อะลี เคาะลีฟะฮ์ในคูฟาฮ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
อัล-มุจตะบา[1] | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ.661-661 | ||||
ก่อนหน้า | อะลี | ||||
ถัดไป | มุอาวิยะฮ์ที่ 1 ในฐานะเคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ | ||||
อิหม่ามคนที่ 2 ของชีอะฮ์ (มุมมองของชีอะฮ์สิบสองอิมามและซัยดี) | |||||
ก่อนหน้า | อะลี อิบน์ อบีฏอลิบ | ||||
ถัดไป | ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี | ||||
อิหม่ามคนแรกของชีอะฮ์ (มุมมองของอิสมาอีลียะฮ์) | |||||
ถัดไป | ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี | ||||
ประสูติ | 1 ธันวาคม ค.ศ. 624 (15 เราะมะฎอน ฮ.ศ.3)[2][3] มะดีนะฮ์ | ||||
สวรรคต | 1 เมษายน ค.ศ. 670 (7 เศาะฟัร ฮ.ศ.50)[4][5] มะดีนะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ | (45 ปี) ||||
ฝังพระศพ | อัลบะกีอ์, มะดีนะฮ์, ประเทศซาอุดีอาระเบีย | ||||
คู่อภิเษก | รายการ
| ||||
พระราชบุตร | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | กุเรช (บนูฮาชิม) | ||||
พระราชบิดา | อะลี | ||||
พระราชมารดา | ฟาฏิมะฮ์ | ||||
ศาสนา | อิสลาม |
ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวเกี่ยวกับหลานรักทั้งสองอีกว่า "ฮะซันและฮุซัยน์เป็นหัวหน้าชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์"
อิมามฮะซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอิมามตามคำสั่งเสียของท่านศาสดา ซึ่งเหล่าศรัทธาชนก็ได้ให้สัตยาบันกับท่าน ท่านขึ้นปกครองอาณาจักรอิสลามได้เพียงหกเดือนเศษ ในเวลานั้นซีเรียและอียิปต์ที่อยู่ในการปกครองของมุอาวิยะหฺ บุตรอะบูสุฟยาน มิได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อการปกครองของอิมามฮะซัน
อิมามฮะซันได้เตรียมกำลังทหารเพื่อปราบปรามมุอาวิยะหฺ ผู้ตั้งตนเป็นกบฏและก่อกวนความสงบสุขของอาณาจักรอิสลามตั้งแต่สมัยอิมามอะลี ผู้เป็นบิดา ทว่าท่านต้องยกเลิกแผนการอันนี้ เพราะทราบว่าทหารของท่านมีใจโอนเอียงฝักใฝ่อยู่กับมุอาวะยะหฺ และรอคำสั่งจากมุอาวิยะหฺ ว่าจะให้จัดการกับท่านอิมามอย่างไร จะสังหารท่านหรือจับกุมส่งท่านไปให้มุอาวิยะหฺ ด้วยเหตุนี้เองอิมามฮะซันจึงต้องจำยอมเลือกวิธีการประนีประนอมด้วยการทำสนธิสัญญาหย่าศึก แต่ต่อมามุอาวิยะหฺก็บิดพลิ้วสนธิสัญญา เขาได้เดินทางมายังอิรัก แล้วขึ้นมินบัรในมัสยิดกูฟะหฺ เพื่อกล่าวปราศรัยกับประชาชนว่า "โอ้ประชาชน ฉันไม่ต้องการทำสงครามกับพวกท่านในเรื่องของศาสนา ว่าต้องทำนมาซหรือถือศีลอด เพียงแต่ฉันต้องการขึ้นเป็นผู้ปกครองเท่านั้นเองและฉันก็ถึงเป้าหมายของฉันแล้ว ส่วนสัญญาที่ลงนามร่วมกับฮะซันบุตรของอะลีนั้น มันไม่มีความหมายสำหรับฉันเลย ฉันตั้งมันไว้ใต้ฝ่าเท้าของฉัน"
อิมามฮะซันต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองของมุอาวิยะหฺนานถึง 9 ปี
สิ้นชีวิต
แก้ในบางรายงานถูกกล่าวว่า อิมามฮะซันถูกภรรยานามว่า "ญะอฺดะหฺ" ที่ได้รับสินบนจากมุอาวิยะหฺ ลอบวางยาพิษจนท่านเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 50 ศพของท่านฝังที่สุสานอัลบะกีอ์
อ้างอิง
แก้- ↑ "Imam Hassan as". Duas.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018.
- ↑ Shabbar, S.M.R. (1997). Story of the Holy Ka’aba. Muhammadi Trust of Great Britain. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2013.
- ↑ Shaykh Mufid. Kitab Al Irshad. p.279-289 เก็บถาวร 27 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Hasan b. 'Ali b. Abi Taleb เก็บถาวร 1 มกราคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Encyclopedia Iranica.
- ↑ 5.0 5.1 Suyuti, Jalaluddin. تاریخ الخلفاء. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018.