อ่าวหางโจว
อ่าวหางโจว (จีนตัวย่อ: 杭州湾; จีนตัวเต็ม: 杭州灣; พินอิน: Hángzhōu Wān; สำเนียงหางโจว: han-tsei uae) เป็นปากแม่น้ำรูปสามเหลี่ยมกว้าง (รูปกรวย) ในทะเลจีนตะวันออก ล้อมรอบด้วยมณฑลเจ้อเจียง และนครเซี่ยงไฮ้ที่อยู่ทางเหนือของอ่าว อ่าวนี้ทอดยาวจากทะเลจีนตะวันออกในเขตปกครองของโจวชานไปยังปากแม่น้ำเฉียนถังที่เมืองหางโจว ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออ่าวแห่งนี้
แม่น้ำเฉียนถัง (钱塘江) ไหลลงสู่อ่าวหางโจวที่เมืองหางโจว โดยระบายน้ำจืดจากทางทิศตะวันตกในขณะเดียวกันผสมกับน้ำทะเลเข้ามาทางทิศตะวันออก ดังนั้นบางครั้งเในทางธรณีสัณฐานวิทยา อ่าวหางโจวโดยเฉพาะส่วนตะวันตกจึงถูกเรียกว่า "ชะวากทะเลเฉียนถาง"[1]
ทางตะวันออกเฉียงใต้สุดของอ่าวหางโจวนอกฝั่งหนิงปัว เป็นเกาะเล็ก ๆ จำนวนมากที่เรียกรวมกันว่า "กลุ่มเกาะโจวชาน" (Zhoushan Archipelago) กลุ่มเกาะนี้ปัจจุบันได้แบ่งการปกครองออกให้มีสถานะการบริหารของเมืองระดับจังหวัดในจังหวัดเจ้อเจียง
อ่าวหางโจวเป็นอ่าวที่ค่อนข้างตื้น ด้วยความลึกน้อยกว่า 15 เมตร ดังนั้นท่าเรือหลักในบริเวณอ่าวจึงถูกสร้างที่หนิงปัวและโจวชาน ทางตะวันออกสุดของอ่าวของชายฝั่งทะเลจีนตะวันออก
กระแสคลื่นน้ำขึ้นน้ำลง
แก้อ่าวหางโจวเป็นที่รู้จักดีโดยเฉพาะเรื่องกระแสคลื่นน้ำขึ้นน้ำลง (tidal bore) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก สูงถึง 9 เมตร (30 ฟุต) และเดินทางได้เร็วถึง 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) ต่อชั่วโมง
จุดชมวิวของกระแสคลื่นน้ำขึ้นน้ำลงมีหลายแห่ง หนึ่งในสถานที่ที่ดีที่สุดในการชมคือที่ หยานกฺวาน (盐官观潮景区)[2] บนชายฝั่งของอ่าวหางโจวด้านทิศเหนือ ห่างจากเมืองหางโจวไปทางตะวันออกประมาณ 50 กิโลเมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 18 ของเดือน 8 ทุกปีตามปฏิทินจันทรคติ[1][3] ตารางเวลาน้ำขึ้นน้ำลงเก่าที่สุดที่เป็นที่รู้จักย้อนไปได้ถึง ค.ศ. 1056[4]
กระแสคลื่นน้ำขึ้นน้ำลงที่อ่าวหางโจว ยังเป็นที่เรียกกันในท้องถิ่นว่า มังกรเงิน (หรือมังกรดำ)ซึ่งคุกคามการขนส่งสินค้าในท่าเรือ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 กระแสน้ำรุนแรงเกินคาดเนื่องจากไต้ฝุ่นทรามี ซึ่งสูงกว่าระดับปกติถึงสองเท่า ได้พังทลายบนแนวกั้นน้ำท่วม กวาดล้างและทำให้ผู้ชมบาดเจ็บจำนวนมาก
สะพานข้ามอ่าว
แก้สะพานแรกที่ข้ามอ่าวหางโจวคือ สะพานข้ามอ่าวหางโจว (杭州湾大桥; Hangzhou Bay Bridge) ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2007[5] และเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2008 มีความยาว 35.7 กิโลเมตร (22.2 ไมล์) เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนสาย G15 มีสามเลนแต่ละด้าน โดยมีเสาตอม่อพักสายเคเบิลสองเสาแยกกัน และมีศูนย์บริการอยู่ที่ช่วงกึ่งกลางสะพาน ทอดข้ามปากอ่าวหางโจวโดยเชื่อมเขตเทศบาลของเจียซิงและหนิงปัวในมณฑลเจ้อเจียง เป็นหนึ่งในสะพานที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งย่นระยะทางระหว่างส่วนตะวันออกของเจ้อเจียงและเซี่ยงไฮ้ จาก 400 ให้เหลือ 80 กิโลเมตร (249 เป็น 50 ไมล์)
สะพานเจียเช่า (嘉绍跨海大桥; Jiaxing-Shaoxing Sea Bridge) เป็นสะพานที่สองที่ข้ามอ่าว มีเสาตอม่อพักสายเคเบิลหกช่วงติดต่อกัน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของสะพานอ่าวหางโจว แล้วเสร็จในปี 2013 ข้ามปากแม่น้ำเฉียนถังเป็นระยะทาง 10.14 กิโลเมตร (6.30 ไมล์) ให้บริการเป็นส่วนหนึ่งของทางด่วน G15W มีสี่เลนแต่ละด้าน[6][7] สะพานเจียเช่าเชื่อมต่อเช่าซิงจากชายฝั่งทางใต้ของอ่าวไปยังชายฝั่งทางเหนือของอ่าวทางใต้ของเจียซิง และเป็นเส้นทางที่สั้นกว่าสำหรับการขนส่งระหว่างเช่าซิงกับเซี่ยงไฮ้
มีการวางแผนสะพานข้ามอ่าวแห่งที่สาม ซึ่งให้บริการเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหนานทง–หนิงปัว
หางโจวเกรทเบย์แอเรีย
แก้ในปี 2018 รัฐบาลมณฑลเจ้อเจียงได้เดินตามรอยของมณฑลกวางตุ้ง ได้เปิดเผยแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจรอบอ่าวหางโจว (Hangzhou Great Bay Area) โดยมุ่งเป้าไปที่แผนการพัฒนาเมืองขนาดใหญ่ที่จะเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคให้เป็นสองเท่าภายในปี 2022 และพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจ "ระดับโลก" บริเวณรอบอ่าวในเขตมณฑลเจ้อเจียงภายในปี พ.ศ. 2578 ปัจจุบันบริเวณรอบอ่าวหางโจวซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจและแนวเขตอุตสาหกรรมที่มีประชากรประมาณ 40 ล้านคน และ ณ ปี 2017 มีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 87 ของผลผลิตทางเศรษฐกิจของมณฑล ซึ่งอาจเป็นวิสัยทัศน์เชิงปฏิสัมพันธ์กับการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้[8]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Li, Ying; Pan, Dong-Zi; Chanson, Hubert; Pan, Cun-Hong (July 2019). "Real-time characteristics of tidal bore propagation in the Qiantang River Estuary, China, recorded by marine radar" (PDF). Continental Shelf Research. Elsevier. 180: 48–58. Bibcode:2019CSR...180...48L. doi:10.1016/j.csr.2019.04.012. S2CID 155917795.
- ↑ 盐官观潮景区 百度百科 (baidu.com). สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ "Qiantang River Tidal Bore". rove.me. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
- ↑ Zuosheng, Y.; Emery, K.O. & Yui, X. (1989). "Historical development and use of thousand-year-old tide-prediction tables". Limnology and Oceanography. 34 (5): 953–957. Bibcode:1989LimOc..34..953Z. doi:10.4319/lo.1989.34.5.0953.
- ↑ "World's longest trans-sea bridge linked up successfully". People's Daily Online. สืบค้นเมื่อ 2008-05-03.
- ↑ Nicolas Janberg, Chief Editor (2008-12-15). "Jia-Shao Bridge (Jiaxing, 2012) | Structurae". En.structurae.de. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
{{cite web}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Wang, Rengui; Lin, Daojin (January 2013). "The Design and Construction for Steel Box Girder of Jiashao Bridge". trid.trb.org. Washington DC, USA: Transportation Research Board 92nd Annual Meeting Compendium of Papers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
- ↑ Wang, Orange (May 2018). "Chinese province Zhejiang jumps on the Greater Bay Area bandwagon with its own ambitious regional blueprint". scmp.com. สืบค้นเมื่อ 22 May 2020.