อำเภอสามโก้
สามโก้ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2508
อำเภอสามโก้ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Samko |
คำขวัญ: เส้นทางประวัติศาสตร์ ตลาดรวมผลไม้ ทำนาได้ตลอดปี สืบสานประเพณีเพลงพื้นบ้าน | |
แผนที่จังหวัดอ่างทอง เน้นอำเภอสามโก้ | |
พิกัด: 14°36′20″N 100°14′41″E / 14.60556°N 100.24472°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อ่างทอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 86.9 ตร.กม. (33.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 18,759 คน |
• ความหนาแน่น | 215.87 คน/ตร.กม. (559.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 14160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1507 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสามโก้ หมู่ที่ 6 ตำบลสามโก้ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง 14160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้"สามโก้" เดิมเป็นชื่อของหมู่บ้านบ้านสามโก้ ในอดีตขึ้นกับเมืองวิเศษไชยชาญและเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอวิเศษชัยชาญ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากอยู่ในเส้นทางการเดินทัพสมัยก่อน
กล่าวคือหากพม่าจะยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์จะต้องเดินทัพผ่านบ้านสามโก้เสมอ และเมื่อกองทัพไทยยกไปตีพม่าก็มักจะผ่านบ้านสามโก้เช่นกัน ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารราว พ.ศ. 2091 เมื่อคราวที่สมเด็จพระสุริโยทัยขาดคอช้าง และหนังสือเรื่องไทยรบพม่าพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2135 เมื่อคราวที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงชนช้าง พระองค์ก็เสด็จยกกองทัพหลวงผ่านบ้านสามโก้เพื่อไปตั้งรับทัพพระมหาอุปราชาที่สุพรรณบุรี[1]
- วันที่ 2 ตุลาคม 2505 แยกพื้นที่ตำบลอบทม และตำบลสามโก้ อำเภอวิเศษไชยชาญ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสามโก้[2] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอวิเศษไชยชาญ
- วันที่ 21 พฤษภาคม 2506 โอนพื้นที่หมู่ 1,2 (ในขณะนั้น) ของตำบลอบทม กิ่งอำเภอสามโก้ ไปขึ้นกับตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษไชยชาญ[3]
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะกิ่งอำเภอสามโก้ อำเภอวิเศษไชยชาญ เป็น อำเภอสามโก้[4]
- วันที่ 14 ตุลาคม 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลสามโก้ ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลสามโก้[5]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2519 ตั้งตำบลราษฎรพัฒนา แยกออกจากตำบลสามโก้[6] และรับท้องที่สุขาภิบาลสามโก้มาทั้งตำบล
- วันที่ 14 มิถุนายน 2520 ตั้งตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ แยกออกจากตำบลอบทม[7]
- วันที่ 26 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลมงคลธรรมนิมิต แยกออกจากตำบลราษฎรพัฒนา[8] และรับท้องที่สุขาภิบาลสามโก้มาทั้งตำบล
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลสามโก้ เป็นเทศบาลตำบลสามโก้[9] ด้วยผลของกฎหมาย
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอสามโก้อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทองไปทางทิศตะวันตกตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3064 แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3195 ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพธิ์ทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโพธิ์ทองและอำเภอวิเศษชัยชาญ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวิเศษชัยชาญ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอศรีประจันต์ (จังหวัดสุพรรณบุรี)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอสามโก้แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 37 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[10] |
---|---|---|---|---|
1. | สามโก้ | Samko | 10
|
4,972
|
2. | ราษฎรพัฒนา | Ratsadon Phatthana | 6
|
2,464
|
3. | อบทม | Op Thom | 6
|
4,063
|
4. | โพธิ์ม่วงพันธ์ | Pho Muang Phan | 7
|
4,287
|
5. | มงคลธรรมนิมิต | Mongkhon Tham Nimit | 8
|
3,118
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอสามโก้ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสามโก้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามโก้ ตำบลราษฎรพัฒนา และตำบลมงคลธรรมนิมิตทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอบทม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอบทมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ทั้งตำบล
การคมนาคม
แก้ถนนสายสำคัญของอำเภอ ได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3195 (แยกทางหลวงหมายเลข 340 (โพธิ์พระยา) -บรรจบทางหลวงหมายเลข 3064 (ป่างิ้ว))
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3373 (แยกทางหลวงหมายเลข 3195 (สามโก้) -บรรจบทางหลวงหมายเลข 340 (ศรีประจันต์))
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติความเป็นมา อำเภอสามโก้ - สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-17. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (90 ง): 2097–2098. 2 ตุลาคม 2505. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (49 ง): 1400–1402. 21 พฤษภาคม 2506.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ก): 565–569. 27 กรกฎาคม 2508. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสามโก้ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (89 ง): 3050–3051. 14 ตุลาคม 2512.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแสวหาและอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (107 ง): 2264–2270. 31 สิงหาคม 2519.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (52 ง): 2417–2420. 14 มิถุนายน 2520.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (133 ง): 2841–2844. 16 สิงหาคม 2526.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.