อำเภอคุระบุรี
คุระบุรี เป็น 1 ใน 8 อำเภอของจังหวัดพังงา มีพื้นที่ใน 4 อุทยานแห่งชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน[1] อุทยานแห่งชาติศรีพังงา[2] อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์[3] อุทยานแห่งชาติแหลมสน[4]
อำเภอคุระบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khura Buri |
จากซ้ายไปขวา:
| |
คำขวัญ: ตาชัย สิมิลัน สวรรค์เกาะสุรินทร์ วิถีถิ่นมอแกน ดินแดนเกาะพระทอง ชื่อก้องพลับพลึงธาร แตงโมหวานคุระบุรี คนดีศรีพังงา | |
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอคุระบุรี | |
พิกัด: 9°11′38″N 98°24′54″E / 9.19389°N 98.41500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พังงา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 797.1 ตร.กม. (307.8 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 28,007 คน |
• ความหนาแน่น | 35.14 คน/ตร.กม. (91.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 82150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8206 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอคุระบุรี เลขที่ 90 หมู่ที่ 1 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา 82150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอคุระบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสุขสำราญ (จังหวัดระนอง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านตาขุน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพนม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และอำเภอตะกั่วป่า
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน
ประวัติ
แก้คุระบุรีเป็นดินแดนที่อยู่ในความปกครองของตะกั่วป่า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2441 ได้ทรงประกาศพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ โดยจัดระเบียบการปกครองท้องที่ออกเป็นจังหวัด อำเภอ และตำบล ฯลฯ จึงได้มีการจัดตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นที่บ้านโคกยาง (ปัจจุบันอยู่ในหมู่ 4 ตำบลบางวัน) เรียกชื่อว่า อำเภอโคกยาง ขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า จังหวัดตะกั่วป่า ในปี พ.ศ. 2444 เมืองตะกั่วป่าทรุดโทรมลงอย่างมาก จึงได้ย้ายที่ตั้งเมืองตะกั่วป่าจากตำบลตลาดเหนือ (ปัจจุบันคือตลาดเก่า ถนนอุดมธารา เขตเทศบาลเมืองตะกั่วป่า) ไปตั้งใหม่ที่เกาะคอเขา (ปัจจุบันคือบ้านเมืองใหม่ หมู่ 1 ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า) เรียกว่า เมืองใหม่ ได้ก่อสร้างที่ทำการและบ้านพักข้าราชการขึ้น พร้อมทั้งให้ย้ายที่ว่าการอำเภอโคกยางที่บ้านโคกยางมารวมกับเมืองใหม่ที่เกาะคอเขา แต่เมืองตะกั่วป่าที่เกาะคอเขาไม่ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามที่คาดคิด ดังนั้นในปี พ.ศ. 2456 จึงต้องย้ายเมืองตะกั่วป่า เมืองใหม่ที่เกาะคอเขา ไปตั้งใหม่ที่บ้านย่านยาว (ที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่าในปัจจุบัน) ส่วนเมืองตะกั่วป่า หรือเมืองใหม่ที่เกาะคอเขานั้นให้ลดฐานะลงเป็นอำเภอเกาะคอเขา[5][6] ขึ้นกับจังหวัดตะกั่วป่าที่ย่านยาว จนกระทั่ง พ.ศ. 2481 อำเภอเกาะคอเขาที่เมืองใหม่ ถูกลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอเกาะคอเขา[7] ให้ขึ้นอยู่กับอำเภอตะกั่วป่า
ต่อมาได้มีการตัดถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ทำให้การคมนาคมทางบกสะดวกมากยิ่งขึ้น จึงให้ย้ายที่ทำการกิ่งอำเภอเกาะคอเขาขึ้นมาตั้งที่ริมถนนเพชรเกษม ตรงบริเวณบ้านนางย่อน หมู่ที่ 2 ตำบลคุระ (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 1 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี) ในปี พ.ศ. 2507[8] ยังคงเรียกกิ่งอำเภอเกาะคอเขา จนกระทั่ง พ.ศ. 2511 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอเกาะคอเขา เป็นกิ่งอำเภอคุระบุรี[9] ยังคงขึ้นอยู่กับอำเภอตะกั่วป่า ต่อมาปี พ.ศ. 2518 มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นอำเภอคุระบุรี[10] จนปัจจุบัน
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2456 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเกาะคอเขา เป็น อำเภอปากน้ำ[5]
- วันที่ 28 กันยายน 2456 ย้ายศาลากลางเมืองตะกั่วป่า จากตำบลเกาะคอเขา อำเภอเมืองเก่า ไปตั้งที่ตำบลย่านยาว อำเภอตลาดใหญ่ ยกอำเภอตลาดใหญ่ ขึ้นเป็น อำเภอเมือง และเปลี่ยนนามอำเภอเมืองเก่า เป็น อำเภอเกาะคอเขา[6] จังหวัดตะกั่วป่า
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอปากน้ำ เป็น อำเภอเกาะคอเขา[11]
- วันที่ 25 ธันวาคม 2464 มีฐานะเป็น "อำเภอเกาะคอเขา" จังหวัดพังงา มีเขตการปกครองรวม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเกาะคอเขา ตำบลบางครั่ง ตำบลคุระ ตำบลไร่ช่อง และตำบลบางวัน[12]
- วันที่ 3 ธันวาคม 2465 ตั้งตำบลเกาะพระทอง และตั้งตำบลคุรอด[13]
- วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบจังหวัดตะกั่วป่า รวมเข้ากับจังหวัดพังงา[14] ทำให้ท้องที่อำเภอเกาะคอเขา โอนมาขึ้นกับจังหวัดพังงา
- วันที่ 29 สิงหาคม 2481 ยุบอำเภอเกาะคอเขา ลงเป็น กิ่งอำเภอเกาะคอเขา[7] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอตะกั่วป่า และโอนพื้นที่หมู่ 1,2 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางวัน อำเภอเกาะคอเขา ไปขึ้นกับตำบลโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า กับโอนพื้นที่หมู่ 1,2 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางครั่ง อำเภอเกาะคอเขา ไปขึ้นกับตำบลบางวัน และยุบตำบลบางครั่ง[15]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2481 ยุบตำบลไร่ช่อง เข้ากับตำบลคุระ และขนานนามว่า ตำบลคุระ[16]
- วันที่ 8 ธันวาคม 2507 ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะคอเขา จากตำบลเกาะคอเขา มาตั้งที่บ้านนางย่อน ตำบลคุระ[8]
- วันที่ 29 ตุลาคม 2511 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า เป็น กิ่งอำเภอคุระบุรี[9] อำเภอตะกั่วป่า
- วันที่ 29 พฤษภาคม 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลคุระบุรี ในท้องที่บางส่วนของตำบลคุระ[17]
- วันที่ 21 สิงหาคม 2518 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า เป็น อำเภอคุระบุรี[10]
- วันที่ 11 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลแม่นางขาว แยกออกจากตำบลคุระ[18]
- วันที่ 30 ธันวาคม 2531 โอนพื้นที่ตำบลเกาะคอเขา อำเภอคุระบุรี ไปขึ้นกับอำเภอตะกั่วป่า[19]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคุระบุรี เป็นเทศบาลตำบลคุระบุรี[20] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 24 มกราคม 2545 กำหนดเขตตำบลคุระ ให้มีการปกครองทั้งหมด 10 หมู่บ้าน และกำหนดให้มีอาณาเขตที่ถูกต้องแม่นยำ[21]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอคุระบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 33 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[22] |
---|---|---|---|---|
1. | คุระ | Khura | 12
|
13,463
|
2. | บางวัน | Bang Wan | 9
|
7,777
|
3. | เกาะพระทอง | Ko Phra Thong | 4
|
995
|
4. | แม่นางขาว | Mae Nang Khao | 8
|
5,822
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอคุระบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลคุระบุรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคุระและตำบลแม่นางขาว
- องค์การบริหารส่วนตำบลคุระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุระ (นอกเขตเทศบาลตำบลคุระบุรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางวันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นางขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่นางขาว (นอกเขตเทศบาลตำบลคุระบุรี)
สถานที่สำคัญ
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (123 ก): (ฉบับพิเศษ) 19-21. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2525
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเทือกเขานมสาว ในท้องที่ตำบลคุระ ตำบลแม่นางขาว ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี และตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (60 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-06-14. วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2531
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (112 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-9. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหาดแหลมสน และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง ตำบลม่วงกลวง ตำบลกะเปอร์ ตำบลบางหิน ตำบลนาคา ตำบลกำพ่วน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (135 ก): (ฉบับพิเศษ) 24-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-06-14. วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2526
- ↑ 5.0 5.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอเกาะคอเขาเป็นอำเภอปากน้ำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 2574. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456
- ↑ 6.0 6.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอเมือง ๆ เก่า เมืองตะกั่วป่า เป็น อำเภอเกาะคอเฃา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1380–1381. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15. วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2456
- ↑ 7.0 7.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1840–1842. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15. วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2481
- ↑ 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะคอเขา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (116 ง): 2935. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15. วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2507
- ↑ 9.0 9.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ก): 774–777. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2511
- ↑ 10.0 10.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (166 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลภูเก็ต]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 519–530. December 25, 1921.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลภูเก็ต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 521. December 3, 1922.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. February 21, 1931. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1870–1871. August 29, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3242–3243. December 26, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคุระบุรี กิ่งอำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (59 ง): 1635–1637. May 29, 1973.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (218 ง): 6075–6078. December 11, 1986.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอคุระบุรีกับอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พ.ศ. ๒๕๓๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (239 ก): (ฉบับพิเศษ) 13-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15. วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2531
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (8 ง): 5–8. January 24, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.