อาณาจักรโคกูรยอ
จักรรรดิโคกูรยอ (เกาหลี: 고구려; ฮันจา: 高句麗; อาร์อาร์: Goguryeo; เอ็มอาร์: Koguryŏ, เสียงอ่าน:: [koɡuɾjʌ]; 37 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 668) เป็นจักรวรรดิเกาหลีโบราณที่พระเจ้าทงมย็องซ็องทรงสถาปนาขึ้น ปัจจุบันดินแดนส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเกาหลีเหนือและคาบสมุทรเหลียวตงของประเทศจีน
โคกูรยอ 고구려(高句麗) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
37 ก่อนคริสตกาล–ค.ศ. 668 | |||||||||
บน: ธงทหาร (ศตวรรษที่ 4) / ล่าง: ธงขวา (ศตวรรษที่ 5) | |||||||||
แผนที่โกกูรยอในยุคที่เรืองอำนาจที่สุด ในปี ค.ศ. 476 | |||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||
เมืองหลวง | ชลบน (37 ก่อนคริสตกาล–ค.ศ. 3) กุงแน (ค.ศ. 3–427) เปียงยาง (ค.ศ. 427–668) | ||||||||
ศาสนา | เชมัน, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, พุทธศาสนานิกายมหายาน | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||
• 37-19 ก่อนคริสตกาล | พระเจ้าทงมย็องซ็อง | ||||||||
• ค.ศ. 391-413 | พระเจ้าควังแกโทมหาราช | ||||||||
• ค.ศ. 413-491 | พระเจ้าชังซู | ||||||||
• ค.ศ. 590-618 | พระเจ้าย็องยัง | ||||||||
• ค.ศ. 642-668 | พระเจ้าโพจัง | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• จูมงสถาปนาราชวงศ์โคกูรยอ | 37 ก่อนคริสตกาล | ||||||||
• การรับศาสนาพุทธ | ค.ศ. 372 | ||||||||
• การรบของพระเจ้าควังแกโทมหาราช | ค.ศ. 391 - 413 | ||||||||
ค.ศ. 598 - 614 | |||||||||
ค.ศ. 645 - 668 | |||||||||
• พระเจ้าโพจังพ่ายแพ้ต่อกองทัพชิลลา | ค.ศ. 668 | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• ค.ศ. 668 | 3,500,000 คน | ||||||||
|
ราชวงศ์นี้มีอาณาเขตตั้งแต่เกาหลีเหนือปัจจุบันแมนจูเรียถึงรัสเซียบางส่วนเป็นราชวงศ์แรก ที่ถูกบันทึกหลักฐานราชวงศ์นี้มีพระจักรพรรดิที่เป็นมหาราชพระองค์แรกของเกาหลีคือพระเจ้าควังแกโทมหาราช รัชกาลที่ 19 ของราชวงศ์ ผู้ทรงพระปรีชาสามารถทั้งเรื่องรบและการปกครอง ทรงขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางต่อมาจักรวรรดินี้เริ่มมีปัญหารบรากับอาณาจักรแพ็กเจและอาณาจักรชิลลา ในสมัยราชวงศ์ถัง (618-907) ในขณะนั้นตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ประมาณปี ค.ศ. 660 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 28 ของราชวงศ์ก็ถูกกองทัพพันธมิตรชิลลา-ถัง ตีแตกและรวบรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทำให้โคกูรยอที่ปกครองมายาวนานกว่า 605 ปีก็สิ้นสุดลง
เมืองหลวงและสุสานหลวง
แก้เมืองหลวงและสุสานของโคกูรยอโบราณ (จีนตัวย่อ: 高句丽王城、王陵及贵族墓葬) คือแหล่งมรดกโลกที่ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดีในเมือง 3 เมือง ได้แก่ เมืองอู๋หนิ่ว ในมณฑลเหลียวหนิง เมืองกั๋วเน่ย (กุงแนซง - ตามภาษาเกาหลี) และหวันตู (ฮวันโด - ตามภาษาเกาหลี) ในมณฑลจี๋หลิน และสุสานอีก 40 แห่ง ซึ่งเป็นของราชวงศ์ 14 แห่ง และขุนนาง 26 แห่ง ทั้งหมดแสดงถึงร่องรอยวัฒนธรรมโกคูรยอซึ่งได้มีอำนาจเหนือบางส่วนของภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือของจีนและคาบสมุทรเกาหลีในช่วง 277 ปีก่อน ค.ศ. จนถึง ปี ค.ศ. ที่ 668
แหล่งโบราณคดีในเมืองอู๋หนิ่วได้ทำการขุดค้นไปเพียงเล็กน้อย ส่วนเมืองกั๋วเน่ย ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองจี๋หนิงในปัจจุบันนั้นได้ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงรอง หลังจากเมืองหลวงของโคกูรยอได้ย้ายไปตั้งที่กรุงเปียงยาง และสำหรับเมืองหวันตู หนึ่งในเมืองหลวงของโคกูรยอนั้น ได้มีร่องรอยของพระราชวังและสุสานจำนวนกว่า 37 แห่ง
สมัยจักรพรรดิฮั่นยฺเหวียน ปีที่ 2 แห่งรัชกาลเจี้ยนเจา (ราว 37 ปี ก่อนคริสตกาล) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 25) บรรพบุรุษชาวเกาหลีได้แผ้วถางสร้างเมืองขึ้นที่บริเวณอำเภอเกาโกวหลี (ปัจจุบันคือ อ.ซินปิน ในมณฑลเหลียวหนิงของจีน) หลังจากนั้นก็สถาปนาเมืองหลวงและขยายอำนาจจนมีอาณาเขตกว้างขวางไปทั่ว ตามที่รู้จักกันในชื่อ ‘โคกูรยอ’
ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของโคกูรยอหรือเกาโกวหลี ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 ได้แผ่อำนาจครอบคลุมภาคตะวันออกของมณฑลจี๋หลิน ตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลเหลียวหนิง จนถึงดินแดนทางตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลีในปัจจุบัน โคกูรยอมีพระจักรพรรดิย์ดิปกครองรวมทั้งสิ้น 28 รัชกาล* ระยะเวลาอันรุ่งเรืองจนถึงยุคเสื่อมอยู่ในช่วงเดียวกับราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนถึงราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ของจีน รวมระยะเวลาราว 705 ปี
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เมืองเก่าแห่งโคกูรยอตั้งอยู่บนเขาอู๋หนี่ว์ซัน (五女山) ที่คาบเกี่ยวระหว่างพื้นที่อำเภอซินปิน (新宾县) และอำเภอปกครองตนเองของชนชาติแมนจู หวนเหริน (桓仁县) ในมณฑลเหลียวหนิง มาจนถึงเมืองจี๋อัน (集安市) ในมณฑลจี๋หลิน เป็นอาณาบริเวณของเมืองเก่าอู๋หนี่ว์ซันซันเฉิง เมืองเก่ากั๋วเน่ยเฉิง เมืองเก่าหวันตูซันเฉิง โบราณสถานสุสานหลวง 14 หลุม และสุสานคนในตระกูลสูงศักดิ์ 26 หลุม รวมถึงหลุมศพแม่ทัพและศิลาจารึกโบราณของพระเจ้าควังแกโท (好太王)
มรดกโลก
แก้เมืองหลวงและสุสานของโคกูรยอโบราณได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่เมืองซูโจว ประเทศจีน