อาณาจักรละโว้
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อาณาจักรละโว้ บ้างเรียก ลวรัฐ หรือ ละโว้โยทิยา[1] เป็นอาณาจักรโบราณในมณฑลอำนาจแห่งหนึ่งในอดีต ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถาปนาขึ้นราวปลายยุคทวารวดี มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ลวปุระ (ปัจจุบันคือเมืองลพบุรี) หลังการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรละโว้ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ชื่อเรียกของอาณาจักรละโว้ในเอกสารจีนคือ หลอหู
อาณาจักรละโว้ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
993–1931 | |||||||||||||
พ.ศ. 1543–1643 ฟ้า: อาณาจักรละโว้ แดง: จักรวรรดิเขมร เขียว: อาณาจักรหริภุญชัย เขียวอ่อน: อาณาจักรศรีวิชัย เหลือง: จามปา น้ำเงิน: ไดเวียต ชมพู: อาณาจักรพุกาม | |||||||||||||
เมืองหลวง | ละโว้ (993–1630) อโยธยา (1630–1892) อยุธยา (1893–1931) | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | มอญโบราณ เขมรโบราณ ไทยโบราณ | ||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาฮินดู พุทธเถรวาท พุทธมหายาน | ||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||
• 1595–1612 | พระเจ้าจันทโชติ | ||||||||||||
• 1625–1630 | พระนารายน์ราชกุมาร | ||||||||||||
• 1632–1654 | พระเจ้าหลวง | ||||||||||||
• 1654–1708 | พระเจ้าสายน้ำผึ้ง | ||||||||||||
• 1708–1748 | พระเจ้าธรรมิกราชา | ||||||||||||
• 1748–1796 | พระเจ้าอู่ทอง | ||||||||||||
• 1796–1823 | พระเจ้าชัยเสน | ||||||||||||
• 1823–1844 | พระเจ้าสุวรรณราชา | ||||||||||||
• 1844–1853 | พระเจ้าธรรมราชา | ||||||||||||
• 1853–1887 | พระเจ้าบรมราชา | ||||||||||||
• 1887–1912 | สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 | ||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | Ahabhushan Mahakosh | ||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคกลาง | ||||||||||||
• ก่อตั้ง | 993 | ||||||||||||
• รวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา | 1931 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ไทย พม่า |
ประวัติศาสตร์
แก้ตามข้อมูลที่ปรากฏเกี่ยวกับเมืองละโว้ มีข้อมูลอยู่ในพงศาวดารเหนือพอจะสรุปได้ว่าเมืองละโว้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 1002 แล้ว มีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ทางภาคกลางในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตตั้งแต่ชัยนาทลงมาจนถึงเขตประจวบคีรีขันธ์ ทางด้านตะวันตกจดมะริด ทวาย ด้านตะวันออกจดนครราชสีมา
ลพบุรีเคยเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรทวารวดีมาก่อน เคยมีความรุ่งเรืองในด้านพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ ตำนานมูลศาสนา กล่าวว่าพระเจ้ากรุงละโว้ได้ส่ง พระนางจามเทวี ราชธิดาไปครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนภาคเหนือ
จากการขุดค้นทางโบราณคดีปรากฏว่าตั้งแต่อำเภอชัยบาดาลถึงอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ล้วนแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตที่ยาวนานมาแล้ว จากชุมชนขนาดย่อมขยายเป็นเมืองเล็ก ๆ จนกระทั่งรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศราวพุทธศตวรรษที่ 10-12 ละโว้กลายเป็นอาณาจักรหรือเมืองขนาดใหญ่แล้วและในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 อาณาจักรละโว้มีความรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา
อาณาจักรละโว้ มีความเจริญมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอิทธิพลครอบคลุมดินแดนภาคกลางตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ เรื่อยมาจนถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบางส่วน ศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้ในตอนต้นสันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองลพบุรี และประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอโยธยา ภายหลังต่อมาเมื่อใน พ.ศ. 1893 ได้มีการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นทำให้ละโว้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา
เมื่อเทียบเคียงกับอาณาจักรร่วมสมัยพบว่าอาณาจักรละโว้อยู่ในยุคเดียวกันกับอาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรเจนละพื้นที่อิทธิพลบางส่วนก็ถือว่าเป็นพื้นที่เดียวกัน ประกอบกับตามหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดีบ่งบอกว่า ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง เช่นด้านการปกครองรับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์ สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเป็นแคว้น มีเจ้านายปกครองตนเองแต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติการแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง
จึงมีความเป็นไปได้ว่าละโว้ก็เป็นแคว้นหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของอาณาจักรทวารวดี ดังนั้นข้อมูลบางประการที่ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรละโว้อาจจะเป็นข้อมูลของอาณาจักรทวารวดี ขณะเดียวกันข้อมูลบางประการที่เกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดีก็อาจจะหมายถึงข้อมูลของอาณาจักรละโว้ก็เป็นไปได้ แต่การเสื่อมอำนาจของทั้งสองอาณาจักรนี้ไม่พร้อมกันก็น่าจะเป็นเพราะการขยายอำนาจของขอมนั้นค่อย ๆ ลิดรอนอำนาจเดิมในพื้นที่ด้วยการตีเอาเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรทวารวดีไปที่ละเมืองสองเมือง จึงทำให้ความเป็นอาณาจักรทวารวดีสูญสิ้นไปก่อนอาณาจักรละโว้
หลังจากพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา อาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามายังบริเวณนี้ ทำให้ความสำคัญของอาณาจักรละโว้ลดลง อิทธิพลศิลปวัฒนธรรมของขอมได้แพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และเลยมาทางตะวันตกได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และในช่วงเวลาดังกล่าวละโว้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางภาคกลางจึงได้รับอิทธิพลศิลปะขอม โดยนำมาผสมผสานรูปแบบให้เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ได้แก่พระปรางค์สามยอด และเทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี แม้จะมีลักษณะสถาปัตยกรรมรูปพระปรางค์ตามขอมแต่เป็นการสร้างเลียนแบบขอมเท่านั้นเอง ทางด้านประติมากรรมศิลปะลพบุรีมักมีส่วนผสมกับศิลปะทวารวดี ทั้งนี้เพราะถิ่นที่ตั้งของอาณาจักรละโว้ก็เป็นพื้นที่ของอาณาจักรทวารวดี ที่เคยอยู่ร่วมสมัยเดียวกัน
ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 การค้าขายระหว่างอาณาจักรละโว้กับจีนเจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่เนื่องจากอยุธยาตั้งอยู่ใกล้ทะเลซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมกว่า ศูนย์กลางการค้าขายจึงเปลี่ยนจากลพบุรีไปอยู่ที่อยุธยา และเมื่อพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรละโว้จึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เป็นอันสิ้นสุดความเป็นอาณาจักรละโว้ตั้งแต่นั้นมา
รายพระนามพระมหากษัตริย์
แก้รายพระนามตามพงศาวดารโยนก ดังนี้[2]
- พระเจ้าสินทรอมรินทร แกรก
- พระยาจันทรโชติ
- พระนารายน์
- พระเจ้าหลวง
- พระเจ้าสายน้ำผึ้ง
- พระยาธรรมิกราช
การเปลี่ยนแปลงดินแดน
แก้พื้นที่อาณาจักรละโว้จะระบายด้วยสีฟ้า
-
ประมาณ พ.ศ. 1543–1643
-
ประมาณ พ.ศ. 1843
อ้างอิง
แก้- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ชนนิยม. 2556, หน้า 120
- ↑ ประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค), พระยา. (2479). พงศาวดารโยนก. พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพมหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ณเมรุวัดเบญจมบพิตร. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. หน้า 65.