อากินะ นากาโมริ
อากินะ นากาโมริ (ญี่ปุ่น: 中森明菜; โรมาจิ: Nakamori Akina; เกิด 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1965) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวญี่ปุ่น เติบโตในเขตโอตะ โตเกียว ต่อมาเธอได้ย้ายไปยังเมืองคิโยเซะ นากาโมริเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 16 ปี จากการประกวดร้องเพลงในรายการ สตาร์ทันโจ! (スター 誕生!) เธอได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงวอร์เนอร์มิวสิกเจแปน และออกซิงเกิลแรกในชื่อ "สโลโมชัน"
อากินะ นากาโมริ | |
---|---|
อากินะ นากาโมริในปี ค.ศ. 1985 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
เกิด | 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 |
ที่เกิด | เขตโอตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
แนวเพลง | |
อาชีพ |
|
ช่วงปี | 1982–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | วอร์เนอร์มิวสิกเจแปน (1982–1991) เอ็มซีเอ-วิกเตอร์ (1993–1997) เกาส์ (1998–1999) มิวสิก@นิฟตี (2000–2001) ยูนิเวอร์แซล (2002–ปัจจุบัน) |
เว็บไซต์ | nakamoriakina.com |
ตลอดอาชีพนักร้องของเธอ นากาโมริเป็นหนึ่งในนักร้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในญี่ปุ่น โดยเฉพาะในคริสต์ทศวรรษ 1980[1] นากาโมริมีเพลงที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตออริคอน 15 เพลงติดต่อกัน หลังจากออกซิงเกิล "สโลโมชัน " มีซิงเกิลออกตามมาอีกห้าซิงเกิลตลอด ค.ศ. 1982–1983 ได้แก่ "โชโจเอ" "เซเคินด์เลิฟ" "1/2 โนชินฮวา" "ทไวไลต์ (ยูงูเรดาโยริ)" และ "คินคุ" ทุกซิงเกิลประสบความสำเร็จและทำให้เธอมีชื่อเสียงอย่างมาก จนถูกเรียกว่าเป็น "โมโมเอะ ยามากูจิ 2"[2][3] เธอยังได้รับรางวัลเจแปนเรเคิดอะวอดส์สองปีติดต่อกัน และมีเพลงที่ขึ้นอันดับหนึ่งในรายการ เดอะเบสเทน มากถึง 69 สัปดาห์ อีกทั้งยังเป็นผู้นำแฟชั่นวัยรุ่นญี่ปุ่นในขณะนั้น
ชีวิตช่วงต้น
แก้นากาโมริเกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 ที่เขตโอตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุตรคนที่ห้า และเป็นบุตรสาวคนที่สาม ในพี่น้องจำนวนหกคน[4] พ่อของเธอชื่อ อคิโอะ นากาโมริ[5] เป็นเจ้าของร้านขายเนื้อ[6] อากินะและพี่น้องของเธอถูกตั้งชื่อตามพ่อของเธอ โดยมีคำว่า 明 (อากิ)[7] แม่ของเธอตั้งชื่อว่า อากินะ ซึ่งมีความหมายว่า ดอกไม้นาโนะฮานะที่สว่างส่องใส[4] น้องสาวของเธอ อากิโฮะ นากาโมริ เป็นนักแสดง ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อปี ค.ศ. 2019 อายุ 52 ปี[5] ภายหลังจากที่อากินะเกิดได้ไม่นาน ครอบครัวของเธอก็ย้ายไปอยู่ที่ คิโยเซะ กรุงโตเกียว ที่ซึ่งเธอเติบโต[4]
แม่ของเธอเป็นแฟนเพลงของฮิบาริ มิโซระ ทำให้เธอได้ฟังเพลงของฮิบาริ และแม่ของเอธอได้สอนวิธีการร้องเพลง ในที่สุดอากินะก็ได้เดินทางสู่เส้นทางนักร้องภายในอิทธิพลของแม่[8]
อาชีพ
แก้1982–1984
แก้ภายหลังจากที่อกินะชนะในรายการ สตาร์ ทันโจ! ในความพยายามครั้งที่สาม เธอได้เปิดตัวด้วยผลงานเพลง สโลโมชัน[9] ซึ่งได้มีการบันทึกที่ลอสแอลเจลิส ซิงเกิลนี้ได้ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1982 และทำยอดขายไปได้ 174,000 อัลบั้ม โดยทำอันดับได้ถึงที่ 30 ของชาร์ต ออริกอน ต่อมาซิงเกิลที่ 2 "โชโจเอ" ซึ่งเกือบจะถูกแบนจากเนื้อหาที่สุ่มเสี่ยง แต่เมื่อซิงเกิลนี้ออกมากลับทำผลงานได้ดีกว่าซิงเกิลแรก โดยขึ้นถึงอันดับที่ 5 และทำยอดขายได้ 396,000 อัลบั้ม ต่อมาเธอได้ออกซิงเกิลที่ 3 มีชื่อว่า "ซเคินด์เลิฟ" เป็นแนวเพลงบัลลาด ยิ่งพิสูจน์ผลงานที่ยอดเยี่ยมของเธอ โดยเพลงนี้สามารถไต่ขึ้นไปถึงอันดับ 2 ของชาร์ต ในสัปดาห์เปิดตัว และขึ้นเป็นอันดับ 1 ในสัปดาห์ต่อมา และเป็นอันดับ 1 นานถึงเก้าสัปดาห์ โดยทำยอดขายไปได้ 766,000 อัลบั้มในขณะนั้น และถ้านับถึงปัจจุบันอาจขายได้เกือบหนึ่งล้านอัลบั้ม นอกจากปล่อยซิงเกิ้ลต่างๆแล้ว ในปีเดียวกันนั้น เธอยังได้ออกอัลบั้มอีก 2 อัลบั้ม คือ "Prologue" และ "Variation" และทำยอดขายไปได้ 453,000 และ 743,000 อัลบั้ม ตามลำดับ
ในปี 1983 เธอได้ปล่อย 3 ซิงเกิ้ล 2 อัลบั้ม และ 1 อัลบั้มรวมฮิต ซิงเกิล "1/2 โนชินฮวา" ทำยอดขายไปได้ 573,000 อัลบั้ม และขึ้นถึงอันดับ 1 ตั้งแต่เปิดตัว ทำให้ซิงเกิ้ลนี้เป็นซิงเกิ้ลที่ขายดีที่สุดของปีนั้น ซิงเกิล "ทไวไลต์ (ยูงูเรดาโยริ)" ถูกปล่อยออกมาในเดือนพฤษภาคม ทำยอดขายไปได้ 430,000 อัลบั้ม และเปิดตัวได้อันดับที่ 2 และ "คินคุ" ซิงเกิลสุดท้ายของปี 1983 เปิดตัวด้วยอันดับ 1 และทำยอกขายไปได้ 511,000 อัลบั้ม อัลบั้มทั้ง 3 ของเธอ Fantasy, New Akina Etranger และ Best Akina Memoires ต่างก็ขึ้นสู่อันดับ 1 ในหมวดอัลบั้ม ด้วยความนิยมของเธอทำให้เธอได้ทำการแสดง ที่ เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็ง ในวันที่ 31 ธันวาคม 1983
ในปี 1984 เธอได้ปล่อยผลงานเพลง "คิตะ วิง" โดยทำยอดขายไปได้ 614,000 อัลบั้ม และอยู่ในอันดับ 2 ของชาร์ตยาวนานถึง 6 สัปดาห์ และซิงเกิ้ลถัดมา "Southern Wind" สามารถทำให้เธอกลับมายืนอยู่ในอันดับ 1 ของชาร์ตได้ แม้ว่าจะทำยอดขายได้ 544,000 อัลบั้ม ซึ่งน้อยกว่าซิงเกิ้ลก่อน ซิงเกิ้ลถัดมา Jukkai (1984) สามารถไปถึงอันดับ 1 ของชาร์ต และมียอดขาย 611,000 อัลบั้ม ในซิงเกิ้ลที่ 9 "Kazari ja Nai no yo Namida wa" เป็นจุดพิสูจน์ในเส้นทางนักร้องของเธอ โดยเพลงนี้ร้องได้ยาก เนื่องจากมีเนื้อร้องที่ต้องร้องเร็ว และเพลงนี้ก็ยังขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ต และทำยอดขายไปได้ 625,000 อัลบั้ม และเพลงนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในสองเพลงที่เป็นเครื่องหมายของเธอ คู่กับเพลง "Desire (Jōnetsu)" ที่ได้ปล่อยในปี 1986
1985–1986
แก้เริ่มต้นปี 1985 อากินะ ได้ออกซิงเกิล "Meu amor é...," ซึ่งเปิดตัวด้วยอันดับ 1 พร้อมกับยอดขาย 631,000 อัลบั้ม และทำให้เธอชนะรางวัลจาก เจแปน เรคคอร์ด อวอร์ด ครั้งที่ 27 ทำให้เธอเป็นบุคคลที่อายุน้อยที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว (อายุ 20 ปี ในขณะนั้น) ที่ได้รับมอบรางวัลจากรายการนี้ ในตอนแรกจะเปิดตัวเพลงที่มีชื่อว่า "Akaitori Nigeta" (นกแดงบินหนีไป) แต่โปรดิวเซอร์มีความเห็นว่าเนื้อเพลงไม่มีความแซมบาพอ ทำให้ถูกเปลี่ยนเป็นเพลง "Meu amor é..." ในภายหลัง แต่เพลง "Akaitori Nigeta" ก็ถูกปล่อยออกมาภายหลัง ซึ่งก็ขึ้นสู่อันดับ 1 ได้เช่นกัน และทำยอดขายไปได้ 354,000 อัลบั้ม จากนั้นเธอได้ปล่อยเพลง "Sand Beige (Sabaku e)" ซึ่งทำยอดขายไปได้ 461,000 อัลบั้ม และเปิดตัวเป็นอันดับ 1 ซิงเกิลถัดไป "Solitude" ก็ขึ้นเป็นอันดับ 1 และทำยอดขายไปได้ 336,000 อัลบั้ม
ในปี 1985 เธอได้ปล่อย 2 อัลบั้ม อัลบั้มแรก Bitter and Sweet ซึ่งประกอบไปด้วยซิงเกิลยอดฮิต เช่นเพลง "Kazari ja Nai no yo Namida wa" และ "BABYLON" มียอดขาย 556,000 อัลบั้ม และขึ้นสู่อันดับ 1 อีกเช่นเคย อัลบั้มถัดมาคือ D404ME มีเพียงแค่เวอร์ชั่นรีมิกซ์ ของเพลง "Meu amor é..." ท่ามกลางเพลงใหม่อื่นๆ และมียอดขาย 651,000 อัลบั้ม และเปิดตัวอยู่อันดับ 1 ของชาร์ต
ในปี 1986 ซิงเกิลแรกของเธอ "Desire (Jōnetsu)" เป็นหมุดหมายของภาพลักษณ์ที่เป็นผู้ใหญ่ของเธอในด้านการร้องเพลง และการเลือกเพลง โดยเพลงนี้เป็นเพลงโฆษณาของ Pioneer Private และเพลงนี้ยังได้รับรางวัลจาก เจแปน เรคคอร์ด อวอร์ด ครั้งที่ 28 เธอเป็นบุคคลที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลนี้สองปีติดต่อกัน และซิงเกิลนี้ทำยอดขายไปได้ 516,000 อัลบั้ม เปิดตัว เป็นอันดับ 1 ของชาร์ต และจากนั้นได้ปล่อยซิลเกิล "Fin" ทำยอดขายไปได้ 318,000 อัลบั้ม และเปิดตัวเป็นอันดับ 1
เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่อากินะ เปิดตัวในวงการเพลงมา 4 ปี เธอได้ปล่อยอัลบั้ม "BEST" ซึ่งทำยอดขายไปได้ 766,000 อัลบั้ม และเปิดตัวเป็นอันดับ 1 จากนั้นเธอได้ปล่อยอัลบั้ม Fushigi โดยแนวคิดของอัลบั้มนี้เป็นการร้องเสียงเอคโค่ และมีการเรียงเรียงดนตรีที่ไม่ชัดเจน สร้างความตกตะลึงให้กับแฟนเพลงญี่ปุ่นสายอนุรักษ์นิยม แต่กระนั้นก็ยังทำยอดขายไปได้ 464,000 อัลบั้ม และในอัลบั้มถัดมา Crimson ซึ่งได้ใช้นักประพันธ์เพลงผู้หญิงทั้งหมดในอัลบั้ม มียอดขาย 601,000 อัลบั้ม และเปิดตัวเป็นอันดับ 1 เช่นเดียวกับอัลบั้ม Fushigi
1987–1989
แก้ในปี 1987 อากินะ ได้ปล่อยเพลง "Tango Noir" ทำยอดขายได้ 348,000 อัลบั้ม และขึ้นสู่อันดับ 1 ตอนเปิดตัว ถึงแม้ว่ายอดขายจะตกลงเมื่อเทียบกับซิงเกิลอื่นๆ ก่อนหน้านี้ แต่ "Tango Noir" ก็ยังถือเป็นซิงเกิ้ลที่มียอดขายที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเธอในปีดังกล่าว ซิงเกิ้ลถัดมาของเธอ คือ "Blonde" เป็นเพลงเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นของเพลง "The Look That Kills" หนึ่งในเพลงอัลบั้ม Cross My Palm ซึ่งเป็นอัลบั้มเพลงภาษาอังกฤษของเธอ โดยทำยอดขายไปได้ 301,000 อัลบั้ม ส่วนซิงเกิ้ลที่สะเทือนใจที่สุดของเธอแห่งปีคือ "Nanpasen" เพลงบัลลาดเกี่ยวกับการระบายอารมณ์ในเรื่องความรัก ซึ่งแฟนเพลงชาวญี่ปุ่นตั้งข้อสังเกตว่า อาจเกี่ยวกับความรักที่ไม่ราบรื่นของเธอกับนักร้องชื่อดัง มาซาฮิโกะ คนโด ซึ่งเป็นคนรักของเธอในขณะนั้น เพลงนี้ทำยอดขายไปได้ 431,000 อัลบั้ม และเปิดตัวในอันดับ 1
เธอปล่อยเพียงแค่ 1 อัลบั้ม ในปี 1987 มีชื่อว่า Cross My Palm เป็นอัลบั้มที่ร้องเป็นภาษาอังกฤษ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม อัลบั้มนี้ก็เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น ทำยอดขายไปได้ 343,000 อัลบั้ม และเปิดตัวเป็นอับดับ 1
ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1988 เธอได้ปล่อยอัลบั้ม Stock และปล่อยซิงเกิล 3 เพลง คือ "Al-Mauj", "Tattoo" และ "I Missed the Shock" โดยสองซิงเกิลแรกขึ้นสู่อันดับ 1 ตั้งแต่เปิดตัว
ในปี 1989 อากินะ ได้ปล่อยเพียงซิงเกิลเดียวคือ "Liar" เนื่องจากปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของเธอ ซิงเกิลนี้มีข่าวลือว่า เนื้อเพลงสะท้อนเกี่ยวกับความรู้สึกของเธอที่มีต่อ คนโด ซึ่งต่อมามีข่าวที่ตกใจต่อสาธารณชน ว่าเธอได้บุกรุกเข้าไปที่อพาร์ทเมนท์ของคนโดพยายามฆ่าตัวตายที่นั่น ในเดือนกรกฎาคม 1989 ภายหลังจากที่คนโดยกเลิกงานหมั้น เธอถูกพบและนำส่งโรงพยาบาล ภายหลังจากที่เธอฟื้นฟูร่างกาย เธอได้ปิดตัวต่อสาธารณชนเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ผลงาน
แก้อัลบั้ม
|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Eremenko, Alexey. "Biography: Akina Nakamori". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 10 April 2010.
- ↑ "中森明菜 ポシビリテイ". 2013년 11월 21일. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "紅白に出てほしい80年代アイドル」ランキング女性編". 2013년 9월 12일. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-26. สืบค้นเมื่อ 2013년 11월 19일.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 "中森明菜 : 心の履歴書不器用だから、いつもひとりぼっち | WorldCat.org". search.worldcat.org.
- ↑ 5.0 5.1 "妹の葬儀にも姿なし 芸能記者が見た中森明菜「一家」の今|日刊ゲンダイDIGITAL". 日刊ゲンダイDIGITAL. 2019-06-20.
- ↑ "中森明菜「お母ちゃんの遺体見たくない」母の死から始まった27年間"家族断絶"の真実". 週刊女性PRIME (ภาษาญี่ปุ่น). 2024-08-21.
- ↑ "本気だよ : 菜の詩・17歲 | WorldCat.org". search.worldcat.org.
- ↑ INC, SANKEI DIGITAL (2020-01-21). "中森明菜、歌に限らず女優の仕事でも…とにかく「褒められたがり屋」の性格(1/3ページ)". イザ! (ภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ [http://www.joqr.co.jp/meister/melody/080414.html "INAX �T�E���h �I�u �}�C�X�^�[ �F �i���̃����f�B�["]. www.joqr.co.jp.
{{cite web}}
: replacement character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 6 (help)