อาการปวดต่างที่

อาการปวดต่างที่[1] (อังกฤษ: Referred pain, reflective pain)[2] เป็นความเจ็บปวดต่างที่จากส่วนร่างกายซึ่งได้รับสิ่งเร้าอันก่อความเจ็บปวด ตัวอย่างหนึ่งก็คือ อาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (หัวใจวาย) แต่มักจะทำให้รู้สึกปวดคอ ไหล่ และหลัง ไม่ใช่ที่อกซึ่งเป็นแหล่งปัญหา แต่องค์การมาตรฐานนานาชาติ (รวมทั้ง International Association for the Study of Pain) ก็ยังไม่ได้นิยามคำนี้ ดังนั้น ผู้เขียนต่าง ๆ อาจใช้คำโดยความหมายที่ไม่เหมือนกัน มีการกล่าวถึงอาการเช่นนี้ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 แล้ว แม้จะมีวรรณกรรมในเรื่องนี้เขียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลไกการทำงานของมันก็ยังไม่ชัดเจน ถึงจะมีสมมติฐานต่าง ๆ

อาการปวดต่างที่
(Referred pain)
ความรู้สึกเจ็บปวดจากอวัยวะภายในอาจทำให้ปวดในส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะของร่างกาย ดังที่แสดงในรูปนี้ ความรู้สึกบางอย่างอาจเกิดในที่ใกล้ ๆ แต่บางอย่างก็เกิดในบริเวณที่ค่อนข้างไกลจากอวัยวะที่เป็นเหตุ (จากบนลงล่างซ้ายไปขวา) Lung and diaphragm = ปอดและกะบังลม Thymus = ต่อมไทมัส Spleen = ม้าม Heart = หัวใจ Liver and gall bladder = ตับและถุงน้ำดี Stomach = กระเพาะอาหาร Pancreas = ตับอ่อน Small intestine = ลำไส้เล็ก Ovary = รังไข่ Appendix = ไส้ติ่ง Colon = ลำไส้ใหญ่ Kidney = ไต Urinary bladder = กระเพาะปัสสาวะ Ureter = ท่อไต
ตัวระบุ
MeSHD053591
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

อาการ

แก้
  • ขนาดของบริเวณส่วนที่เจ็บ จะสัมพันธ์กับความรุนแรงและช่วงเวลาของความเจ็บปวดที่เกิด[2]
  • Temporal summation เป็นกลไกที่อาจเป็นไปได้อย่างหนึ่งสำหรับความเจ็บปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ (referred muscle pain) คือศักยะงาน (สัญญาณประสาท) ที่มีความถี่สูงในนิวรอนก่อนไซแนปส์ จะก่อให้เกิดศักยะงานในนิวรอนหลังไซแนปส์โดยเป็นแบบบวกกัน[2]
  • การกระตุ้นได้ง่าย (hyperexcitability) ของนิวรอนในระบบประสาทกลาง (เช่นที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง) จะสำคัญต่อขนาดบริเวณที่เจ็บ[2]
  • คนไข้ที่เจ็บปวดในกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างเรื้อร้ง (chronic musculoskeletal pain) มีเขตปวดต่างที่ซึ่งใหญ่ขึ้นเทียบกับสิ่งเร้าที่มากระทบ ความเจ็บปวดต่างที่ซึ่งกระจายเข้าในส่วนต้น (proximal) ของอวัยวะ จะพบในคนไข้ประเภทนี้และไม่พบในคนปกติอื่น ๆ[2]
  • อาการปวดต่างที่จะคู่กับสิ่งเร้าทางกายแบบเฉพาะเจาะจง (Modality-specific เช่น ความเย็นร้อน สัมผัส) ซึ่งเน้นความสำคัญของการประเมินตรวจสอบประสาทสัมผัสโดยสิ่งเร้าแบบต่าง ๆ[2]
  • อาการปวดต่างที่บ่อยครั้งจะอยู่ในซีกร่างกายเดียวกันกับอวัยวะที่เป็นเหตุ แต่ก็ไม่แน่นอน[3]

กลไก

แก้

มีกลไกทางสรีรภาพหลายอย่างที่เสนอสำหรับอาการปวดต่างที่ แม้จะยังไม่มีมติร่วมกันว่า สมมติฐานไหนถูกต้อง

ใยประสาทรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ (รวมทั้ง Aβ Aδ และ C) จากผิวหนังที่เดอร์มาโทมเดียวกัน ส่งสัญญาณไปยังนิวรอนในชั้น 2 (lamina II) ที่ปีกหลังของไขสันหลังในระดับเดียวกัน แต่นิวรอนชั้นนี้ก็ได้รับสัญญาณโนซิเซ็ปเตอร์ (ความเจ็บปวด) จากอวัยวะภายในร่างกายรวมทั้งหัวใจด้วย การส่งสัญญาณไปที่นิวรอนเดียวกันในไขสันหลังอาจเป็นเหตุให้ความรู้สึกเจ็บที่หัวใจ รู้สึกเหมือนกับเป็นความเจ็บปวดในบริเวณผิวหนังที่มีจุดเชื่อมใยประสาทร่วมกัน[4] เช่น จากในอก จากแขนหรือมือซ้าย หรือจากกระดูกกราม

ส่วนอีกสมมติฐานหนึ่งก็คือ เซลล์ประสาทรับความเจ็บปวดคือโนซิเซ็ปเตอร์ มีปลายประสาทแยกไปที่ทั้งผิวหนังและที่อวัยวะภายในต่าง ๆ รวมทั้งหัวใจ[4]

ตามปกติแล้ว ความเจ็บปวดเหตุหัวใจวายจะอยู่ที่หน้าอกตรงกลางหรือด้านซ้ายในซีกที่มีหัวใจ แต่สามารถกระจายเจ็บไปถึงขากรรไกด้านซ้ายและแขนข้างซ้าย โดยอาจปรากฏเป็นความเจ็บปวดต่างที่บ้างแม้น้อยมาก และปกติจะเกิดกับคนไข้โรคเบาหวานหรือสูงอายุ[5]

การส่งใยประสาทไปที่เดียวกัน (Convergent projection)

แก้

นี่เป็นทฤษฎีแรก ๆ สุดเกี่ยวกับอาการนี้ ที่อาศัยงานของ W.A. Sturge และ J. Ross ในปี พ.ศ. 2431 และของ TC Ruch ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 ทฤษฎีการส่งใยประสาทไปที่เดียวกัน (Convergent projection) เสนอว่าใยประสาทนำเข้าจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมตัวเข้าที่นิวรอนในไขสันหลังเดียวกัน และอธิบายว่า ทำไมอาการปวดต่างที่จึงจัดเป็นส่วน ๆ ไปตามไขสันหลัง นอกจากนั้นแล้ว หลักฐานทางการทดลองได้แสดงว่า เมื่ออวัยวะส่วนที่เจ็บจริง ๆ ถูกกระตุ้นมากขึ้น อาการปวดต่างที่ก็จะมากขึ้นด้วย

ข้อคัดค้านของแบบจำลองนี้ก็คือว่า มันไม่สามารถอธิบายว่าทำไมอาการปวดต่างที่จึงเกิดช้ากว่าจุดที่เกิดสิ่งเร้าซึ่งทำให้ปวดจริง ๆ หลักฐานทางการทดลองยังแสดงด้วยว่า อาการปวดต่างที่บ่อยครั้งเป็นไปในทิศทางเดียว ยกตัวอย่างเช่น การเร้าให้กล้ามเนื้อส่วน anterior tibial เจ็บ จะทำให้ปวดที่ด้านหน้า (ventral) ของข้อเท้า แต่การเร้าด้านหน้าของข้อเท้าไม่ปรากฏกว่าทำให้กล้ามเนื้อเจ็บ และท้ายสุดคือ ระดับการกระตุ้นที่ทำให้เจ็บเฉพาะที่และที่ทำให้ปวดต่างที่ จะมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่างกัน แม้แบบจำลองนี้จะแสดงว่า ควรเท่ากัน[2]

Convergence-facilitation และ central sensitization

แก้

ในปี พ.ศ. 2436 J MacKenzie ได้ตั้งแบบจำลอง Convergence facilitation อาศัยแนวความคิดของ Sturge และ Ross เขาเชื่อว่า อวัยวะภายในไม่ไวความรู้สึกที่เกิดจากสิ่งเร้า นอกจากนั้น เขายังเชื่อว่า ใยประสาทจะส่งความรู้สึกที่ไม่เกี่ยวกับความเจ็บปวด (non-nociceptive) ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เขาเรียกว่า "irritable focus" (จุดโฟกัสไวเกินต่อการกระตุ้น) จุดโฟกัสเช่นนี้ทำให้สิ่งเร้าบางอย่างรู้สึกว่าเจ็บ แต่ไอเดียนี้ไม่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะไม่อธิบายความเจ็บปวดที่อวัยวะภายใน

แต่ไอเดียนี้ในเร็ว ๆ นี้ได้ความสนใจมากขึ้นโดยใช้คำใหม่คือ การไวเจ็บเหตุประสาทส่วนกลาง (central sensitization) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนิวรอนในปีกหลังของไขสันหลังหรือก้านสมอง ตอบสนองมากขึ้นหลังจากได้การกระตุ้นซ้ำ ๆ จากนิวรอนปลายประสาท คือมีขีดเริ่มเปลี่ยนในการตอบสนองที่ลดลง ส่วนความชักช้าของอาการปวดต่างที่อธิบายได้ว่า ต้องใช้เวลาเพื่อจะเกิดสถานภาพในระบบประสาทส่วนกลางที่ทำให้ไวความรู้สึก[2]

Axon-reflex

แก้

แบบจำลอง Axon reflex แสดงว่า ใยประสาทนำเข้าจะแยกเป็นสองสาขา (หรือมากกว่านั้น) ก่อนเชื่อมกับปีกหลังของไขสันหลัง และตัวกระตุ้นที่ทำให้เจ็บที่ปลายประสาทสาขาหนึ่ง อาจทำให้รู้สึกเจ็บที่ปลายประสาทสาขาอื่น ๆ ด้วย ใยประสาทที่แบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ พบได้ในทั้งกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และหมอนกระดูกสันหลัง แต่นิวรอนเช่นนี้ก็มีน้อย และก็ไม่ได้มีทั่วร่างกาย แบบจำลองนี้ยังไม่สามารถอธิบาย

  • ความล่าช้าของอาการปวดต่างที่
  • ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนที่แตกต่างกันระหว่างสิ่งเร้าของความเจ็บปวดเฉพาะที่ กับของความเจ็บปวดต่างที่
  • ความเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึก (sensibility) ที่บริเวณซึ่งเกิดอาการปวดต่างที่[2]

การไวต่อการกระตุ้น (Hyperexcitability)

แก้

แม้แบบจำลอง Hyperexcitability (การไวต่อการกระตุ้น) โดยทั่วไปจะสมมติว่า อาการปวดต่างที่ไม่มีกลไกแบบรวมศูนย์ แต่ก็ลักษณะรวมศูนย์อย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลมาก งานทดลองที่ใช้ตัวกระตุ้นอันตรายและการบันทึกกระแสไฟฟ้าที่ปีกหลังของไขสันหลังในสัตว์แสดงว่า อาการปวดต่างที่จะเริ่มหลังจากได้เร้ากล้ามเนื้อเป็นนาที ๆ และความรู้สึกปวดจะอยู่ในลานรับสัญญาณที่ห่างจากสิ่งเร้าเป็นช่วงระยะหนึ่ง ตามแบบจำลองนี้ ลานรับสัญญาณใหม่ได้เกิดขึ้นโดยเป็นผลจากการทำงานของใยประสาทนำเข้าแฝง (latent) ซึ่งไปสุดที่ปีกหลังของไขสันหลังบริเวณเดียวกัน การทำงานที่ว่านี้จะทำให้ปวดต่างที่

ลักษณะหลาย ๆ อย่างสนับสนุนแบบจำลองนี้ เช่น การต้องอาศัยสิ่งเร้า และช่วงชักช้าก่อนที่อาการปวดต่างที่จะปรากฏเทียบกับอาการปวดเฉพาะที่ แต่การปรากฏของลานรับสัญญาณใหม่ ซึ่งตีความว่าทำให้เกิดอาการปวดต่างที่ ไม่เข้ากับหลักฐานการทดลองส่วนมากรวมทั้งงานในบุคคลที่มีสุขภาพปกติ นอกจากนั้นแล้ว อาการปวดต่างที่โดยทั่วไปจะปรากฏภายในไม่กี่วินาทีในมนุษย์ เทียบกับเป็นนาที ๆ ในสัตว์ทดลอง นักวิทยาศาสตร์บางพวกอธิบายว่า นี่เกิดจากกลไกหรือจากอิทธิพลของระบบอื่น ๆ นอกเหนือไปจากไขสันหลัง เทคนิคการสร้างภาพสมอง เช่น PET หรือ fMRI อาจช่วยให้เห็นกระบวนการทางประสาทที่เป็นเหตุสำหรับการทดลองในอนาคต[2]

การรวมตัวที่ทาลามัส (Thalamic-convergence)

แก้

แบบจำลองการรวมตัวที่ทาลามัสเสนอว่า อาการปวดต่างที่มีเหตุจากการรวมสัญญาณประสาท (summation) ในสมอง ไม่ใช่ที่ไขสันหลัง หรือบริเวณที่เกิดสิ่งเร้า หรือบริเวณที่เจ็บปวดต่างที่ แต่หลักฐานการทดลองของสมมติฐานนี้ไม่ค่อยมี อย่างไรก็ดี งานศึกษาเกี่ยวกับความเจ็บปวดที่ทำในลิงพบการรวมตัวกันของวิถีประสาทต่าง ๆ ที่นิวรอนทั้งในคอร์เทกซ์และใต้คอร์เทกซ์

ตัวอย่าง

แก้
ตัวอย่างอาการปวดต่างที่[6][7]
ตำแหน่ง หมายเหตุ
อกด้านบน/แขนข้างซ้าย การขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial ischaemia) อาจเป็นตัวอย่างที่รู้จักดีที่สุดของอาการปวดต่างที่ อาจเป็นอาการอึดอัดเหนืออก ปวดที่ไหล่ ที่แขน หรือแม้แต่ที่มือซ้าย
ศีรษะ การปวดศีรษะเพราะทานของเย็นจัด หรืออาการเย็นสมอง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของอาการปวดต่างที่ ซึ่งเส้นประสาทเวกัส (CN X) หรือเส้นประสาทไทรเจมินัล (CN V) ที่คอและที่เพดานปากตามลำดับ ส่งสัญญาณเกี่ยวกับความเจ็บปวด เนื่องจากการลดอุณหภูมิและเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็วของหลอดเลือดฝอยในโพรงในกระดูกศีรษะ (sinus)[8]
ทั่วไป การปวดที่แขนขาซึ่งไม่มีเป็นอาการปวดต่างที่อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือความรู้สึกเจ็บปวดจากอวัยวะหนึ่ง ๆ ที่ไม่มีแล้ว หรือที่ไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทได้แล้ว ซึ่งเป็นอาการที่รายงานโดยผู้ถูกตัดแขนขาและคนไข้อัมพาตแขนขาทั้งสองข้างเกือบหมดทุกคน
กระดูกสะบักข้างขวา ตับ, ถุงน้ำดี
ไหล่ซ้าย ปอด, กะบังลม, ม้าม (Kehr's sign)[9]
กลางท้องเยื้องไปทางซ้าย ตับอ่อน
ฝ่ามือ กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส[10] คือ ปัญหาที่ปลายแขนอาจรู้สึกที่ฝ่ามือ ไม่ใช่ที่ปลายแขน

วิธีการทดสอบในแล็บ

แก้

การศึกษาเกี่ยวกับความเจ็บปวดมักจะทำในห้องแล็บเพราะสามารถควบคุมตัวแปรได้ดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบสิ่งเร้า (ความร้อนเย็น สารเคมีเป็นต้น) ระดับความรุนแรง และช่วงเวลาต่าง ๆ ของสิ่งเร้า จะสามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำกว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ มีวิธีหลัก ๆ 2 อย่างในการศึกษาอาการปวดต่างที่

สารก่อความเจ็บ

แก้

ในปัจจุบัน มีการใช้สารเคมีหลายอย่างเพื่อกระตุ้นให้เกิดอาการปวดต่างที่ สารรวมทั้ง bradykinin, substance P, แคปไซซิน[11] และเซโรโทนิน แต่ก่อนหน้าสารพวกนี้ งานวิจัยได้ใช้น้ำเกลือไฮเพอร์ทอนิก โดยการทดลองต่าง ๆ พบว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่สัมพันธ์กับการกระตุ้นด้วยน้ำเกลือรวมทั้งอัตราการฉีด ความเข้มข้นของน้ำเกลือ แรงดัน และปริมาณที่ใช้ แต่กลไกที่น้ำเกลือทำให้เจ็บเฉพาะที่หรือต่างที่ซึ่งคู่กันก็ยังไม่ชัดเจน นักวิชาการบางพวกให้ความเห็นว่า อาจเกิดจากความแตกต่างของความดันออสโมซิส แต่นี่ก็ยังไม่ได้พิสูจน์[2]

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

แก้

การกระตุ้นในกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (IMES) เป็นวิธีที่ใช้ทั้งในการทดลองและในการรักษา ข้อดีหลัก (เทียบกับการใช้น้ำเกลือ) ก็คือ สามารถเปิดปิดตามกำหนด ซึ่งทำให้ควบคุมได้ดีกว่าและแม่นยำกว่า ทั้งโดยสิ่งเร้าและการวัดการตอบสนอง เป็นวิธีที่ง่ายกว่าการฉีด เพราะไม่จำเป็นต้องฝึกเป็นพิเศษ ความถี่ของพัลส์ไฟฟ้ายังสามารถควบคุมได้อีกด้วย ในงานศึกษาส่วนมาก ความถี่พัลส์ไฟฟ้าที่ใช้อยู่ที่ 10 เฮิรตซ์ เพื่อให้เจ็บทั้งเฉพาะที่และต่างที่[12]

โดยวิธีนี้ นักวิจัยได้พบว่า สิ่งเร้าจะต้องมีกำลังมากกว่าเพื่อจะให้เจ็บต่างที่ เทียบกับเจ็บเฉพาะที่ ระดับสิ่งเร้ากับระดับความเจ็บทั้งเฉพาะที่และต่างที่ ยังสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนอีกด้วย เชื่อกันว่า วิธีนี้จะกระตุ้นให้โนซิเซ็ปเตอร์จำนวนมากทำงาน จึงมีผลเป็นการรวมสัญญาณเชิงพื้นที่ (spatial summation) แล้วทำให้โนซิเซ็ปเตอร์ส่งสัญญาณที่ถี่สูงกว่าไปยังนิวรอนในปีกหลังของไขสันหลังและก้านสมอง[2]

เพื่อการวินิจฉัยและรักษา

แก้

อาการปวดต่างที่อาจแสดงว่ามีความเสียหายทางประสาท ในงานศึกษาชายอายุ 63 ปี ผู้มีความบาดเจ็บที่ไม่หายในช่วงวัยเด็ก และมีอาการปวดต่างที่เมื่อถูกใบหน้าหรือที่หลัง และแม้จะถูกอย่างเบา ๆ ก็จะเจ็บวิ่งไปตามแขน งานสรุปว่า เหตุอาจคือการจัดระเบียบทางประสาทใหม่ (neural reorganization)[13] ซึ่งทำให้ใบหน้าและหลังไวความรู้สึกหลังจากที่ประสาทเสียหาย และให้ความเห็นว่า เป็นกรณีที่คล้ายกับ อาการเหมือนแขนขายังคงอยู่ ที่คนไข้คนอื่น ๆ มีปัญหา ข้อสรุปมีพื้นฐานจากหลักฐานการทดลองที่เก็บโดย ศ. ดร. วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน ในปี พ.ศ. 2536[14] โดยแตกต่างตรงที่ว่า แขนที่เจ็บยังมีอยู่จริง ๆ

การวินิจฉัยทางออร์โทรพีดิกส์

แก้

จากตัวอย่างที่ผ่านมา เราจึงสามารถเห็นได้ว่า ความเข้าใจในอาการปวดต่างที่จะช่วยให้สามารถวินิจฉัยอาการและโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ในปี พ.ศ. 2524 นักกายภาพบำบัดรอบิน แม็คเค็นซี กล่าวถึงอาการที่เขาเรียกว่า centralization ซึ่งเขาสรุปว่า เกิดขึ้นเมื่ออาการปวดต่างที่ย้ายที่จากปลายอวัยวะมาสู่ต้น ๆ อวัยวะ สังเกตการณ์ที่สนับสนุนไอเดียนี้จะเห็นเมื่อคนไข้ก้มและแอ่นตัวเมื่อกำลังตรวจ

งานศึกษารายงานว่า คนไข้โดยมากที่มีอาการเช่นนี้ สามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดไขสันหลังโดยกำหนดแยกจุดที่ทำให้เจ็บเฉพาะที่ แต่คนไข้ที่อาการปวดต่างที่ไม่ย้ายที่ อาจต้องผ่าตัดเพื่อวินิจฉัยและแก้ปัญหา เนื่องจากผลการศึกษาของงานนี้ จึงได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการกำจัดความเจ็บปวดโดยเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่าง ๆ

ตัวอย่างของอาการเช่นนี้ก็คือการปวดต่างที่ที่น่อง แม็คเค็นซีได้แสดงว่า อาการปวดต่างที่จะย้ายที่ขึ้นเมื่อคนไข้แอ่นตัวก้มตัวโดยยืดตัวเต็มที่หลาย ๆ ครั้ง ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ อาการปวดจะหายไปหลังจากหยุดแอ่นตัวแล้ว[15]

การวินิจฉัยทั่วไป

แก้

เหมือนกับการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial ischaemia) อาการปวดต่างที่ตรงบางส่วนของร่างกายสามารถทำให้วินิจฉัยส่วนที่เจ็บจริง ๆ ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างจุดปวดต่างที่และจุดปวดจริง ๆ ทำให้พัฒนาแผนที่ร่างกายหลายอย่างเพื่อช่วยกำหนดจุดที่เจ็บจริง ๆ อาศัยอาการปวดต่างที่ ตัวอย่างเช่น อาการปวดที่หลอดอาหาร สามารถทำให้ปวดต่างที่ตรงท้องด้านบน ตรงกล้ามเนื้อท้อง (oblique muscle) และตรงคอ อาการเจ็บที่ต่อมลูกหมากอาจทำให้ปวดต่างที่ตรงท้อง ตรงหลังส่วนล่าง และตรงกล้ามเนื้อน่อง นิ่วที่ไตซึ่งเคลื่อนไปตามท่อไตอย่างช้า ๆ อาจทำให้ปวดต่างที่ตรงท้องส่วนล่าง[6]

ยังมีงานวิจัยที่พบว่า ketamine ซึ่งเป็นยาระงับประสาท สามารถระงับอาการปวดต่างที่ได้ เป็นงานที่ทำกับคนไข้โรคไฟโบรไมอัลเจีย ซึ่งมีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ และล้า งานศึกษาได้เลือกคนไข้กลุ่มนี้เพราะไวต่อสิ่งเร้าแล้วทำให้เจ็บเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นแล้ว อาการปวดต่างที่ยังเกิดในที่ต่าง ๆ สำหรับคนไข้กลุ่มนี้แปลกจากคนไข้ที่ไม่มีไฟโบรไมอัลเจีย ซึ่งมักปรากฏอาการปวดที่ตรงส่วนที่ต่างกัน (เช่น ส่วนปลาย ส่วนต้น) คู่กับส่วนที่ปวดจริง ๆ บริเวณที่ปวดยังใหญ่ขึ้นด้วยเพราะไวปวดยิ่งขึ้น[16]

อ้างอิง

แก้
  1. "Referred pain", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, 2004, (ทันตแพทยศาสตร์) อาการปวดต่างที่
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Arendt-Nielsen, L; Svensson, P (2001). "Referred muscle pain: basic and clinical findings". Clin J Pain. 17 (1): 11–9. doi:10.1097/00002508-200103000-00003. PMID 11289083.
  3. Demco, LA (พฤษภาคม 2000). "Pain referral patterns in the pelvis". J Am Assoc Gynecol Laparosc. 7 (2): 181–3. PMID 10806259.
  4. 4.0 4.1 Basbaum & Jessell 2013, Signals from Nociceptors Are Conveyed to Neurons in the Dorsal Horn of the Spinal Chord, pp. 534-536
  5. "Myocardial infarction comes with referred pain or radiating pain?". 2 มกราคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2011.
  6. 6.0 6.1 Purves et al 2008b, Box 10B Referred Pain, p. 236
  7. Huether et al 2014, Figure 16-6 Sites of Referred Pain, p. 492
  8. Kaczorowski, Maya; Kaczorowski, Janusz (21–28 ธันวาคม 2002). "Ice cream evoked headaches (ICE-H) study: randomised trial of accelerated versus cautious ice cream eating regimen" (PDF). British Medical Journal. 325 (7378): 1445-1446. doi:10.1136/bmj.325.7378.1445. PMID 12493658.
  9. Rutkow IM (มิถุนายน 1978). "Rupture of the spleen in infectious mononucleosis: a critical review". Arch Surg. 113 (6): 718–20. doi:10.1001/archsurg.1978.01370180060007. PMID 655846.
  10. Simons, D.G.; Travell, J.G.; Simons, L.S. (1999). Travell & Simons' Myofascial Pain and Dysfunction: Upper half of body. Williams & Wilkins. p. 750. ISBN 978-0-683-08363-7. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015.
  11. Witting N, Svensson P, Gottrup H, Arendt-Nielsen L, Jensen TS (2000). "Intramuscular and intradermal injection of capsaicin: a comparison of local and referred pain". Pain. 84 (2–3): 407–12. doi:10.1016/S0304-3959(99)00231-6. PMID 10666547.
  12. Kosek E, Hansson P (2003). "Perceptual integration of intramuscular electrical stimulation in the focal and the referred pain area in healthy humans". Pain. 105 (1–2): 125–31. doi:10.1016/S0304-3959(03)00171-4. PMID 14499428.
  13. Dolor Soler; Hatice Kumru; Joan Vidal; Raul Pelayo; และคณะ (กรกฎาคม 2010). "Referred sensations and neuropathic pain following spinal cord injury". Pain. 150 (1): 192–8. doi:10.1016/j.pain.2010.04.027. ISSN 0304-3959.
  14. Vilayanur S. Ramachandran (1994). "Phantom limbs, neglect syndromes, repressed memories, and Freudian psychology". International Review of Neurobiology. 37: 291–333, discussion 369-372. doi:10.1016/s0074-7742(08)60254-8. PMID 7883483.
  15. Davis, Blackwood C (2004). "The centralization phenomenon: Its role in the assessment and management of low back pain". BC Medical Journal. 46 (7): 348–352. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017.
  16. Graven-Nielsen, T; และคณะ (1999). "Ketamine reduces muscle pain, temporal summation, and referred pain in fibromyalgia patients". Pain. 85 (3): 483–491. doi:10.1016/S0304-3959(99)00308-5. PMID 10781923.

บรรณานุกรม

แก้
  • Basbaum, Allan I; Jessell, Thomas M (2013). "24 - Pain". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, A J (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 530–555. ISBN 978-0-07-139011-8.
  • Huether, Sue E; Rodway, George; DeFriez, Curtis (2014). "16 - Pain, Temperature Regulation, Sleep, and Sensory Function". ใน McCance, Kathryn L; Huether, Sue E; Brashers, Valentina L; Neal S, Rote (บ.ก.). Pathophysiology: the biologic basis for disease in adults and children (7th ed.). Mosby. ISBN 978-0-323-08854-1.
  • Purves, Dale; Augustine, George J; และคณะ, บ.ก. (2008b). "10 - Pain". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. pp. 231–251. ISBN 978-0-87893-697-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้