อัสแซสซินส์ครีด

อัสแซสซินส์ครีด (อังกฤษ: Assassin's Creed) เป็นซีรีส์เกมสร้างจากนิยายอิงประวัติศาสตร์แนวแอ็กชันผจญภัย, ลอบฆ่า, โลกเปิด จำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 โดยจะปรากฏในรูปแบบวิดีโอเกมเพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอสเท็น, นินเทนโด ดีเอส, เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล, เพลย์สเตชันวิต้า, ไอโอเอส, เอชพีเว็บโอเอส[1] ,แอนดรอยด์ ,โนเกียซิมเบียนวินโดวส์โฟน และวียู พัฒนาโดยยูบิซอฟต์ มอนทรีออล รูปแบบเกมมือถือพัฒนาโดยเกมลอฟท์ และกริพโตไนต์ สตูดิโดส์ พร้อมด้วยพัฒนาเพิ่มเติมโดยยูบิซอฟต์ มอนทรีออล เป็นเกมซีรีส์ที่ได้รับความนิยมมากจากประชาชนทั่วไปและมีเสียงจากนักวิจารณ์ และขายได้มากกว่า 73 ล้านชุดนับถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 กลายเป็นแฟรนไชส์เกมที่ขายดีที่สุดของยูบิซอฟต์[2] ซีรีส์เกมมีแรงบันดาลใจจากนวนิยายเรื่อง Alamut จากนักเขียนชาวสโลวีเนีย วลาดิเมีย บาร์ตอล (Vladimir Bartol)[3] และถือว่ามีรูปแบบพัฒนาต่อ (spiritual successor) จากซีรีส์ พรินซ์ออฟเปอร์เซีย[4]

อัสแซสซินส์ครีด
โลโก้ของเกมซีรีส์ อัสแซสซินส์ครีด
ประเภทบันเทิงคดีประวัติศาสตร์, แอ็กชันผจญภัย, ลอบฆ่า
ผู้พัฒนายูบิซอฟต์ มอนทรีออล
เกมลอฟต์
กริพโตไนต์เกมส์
ผู้จัดจำหน่ายยูบิซอฟต์
ผู้จัดสร้างPatrice Désilets
Jade Raymond
Corey May
แต่งเพลงJesper Kyd (I, II, Brotherhood, Revelations)
Lorne Balfe (Revelations, III)
Winifred Phillips (III: Liberation)
วางจำหน่ายครั้งแรกอัสแซสซินส์ครีด
13 พฤศจิกายน 2007
จำหน่ายครั้งล่าสุดอัสแซสซินส์ครีด เน็กซัส วีอาร์
16 พฤศจิกายน 2023

เนื้อเรื่องโดยรวมของซีรีส์

แก้

เกมอัสแซสซินส์ครีดมีเนื้อเรื่องข้องเกี่ยวกับคู่ปรับระหว่างสมาคมลับยุคโบราณ 2 สมาคม ได้แก่ เหล่ามือสังหารหรือนักฆ่า (assassin) และอัศวินเทมพลาร์ (Knight Templar) และความสัมพันธ์แบบอ้อม ๆ กับเผ่าพันธุ์ก่อนมนุษยชาติเผ่าพันธุ์หนึ่งที่ซึ่งสังคมและโลกของพวกเขาถูกพายุสุริยะลูกมหึมาทำลายไป ในฉากยุคปัจจุบันของเกมคือปี ค.ศ. 2012 นำเสนอตัวละคร เดสมอนด์ ไมล์ส บาร์เทนเดอร์ที่มีบรรพบุรุษหลายชั่วอายุเป็นนักฆ่า แม้ว่าจะถูกเลี้ยงดูมาอย่างนักฆ่า แต่เขากลับทิ้งครอบครัวไปใช้ชีวิตแบบปกติธรรมดา ทีแรกเขาถูกลักพักตัวโดยองค์การขนาดใหญ่ชื่อ แอ็บสเตอร์โก อินดัสตรี คราบอัศวินเทมพลาร์ยุคปัจจุบัน ผู้ซึ่งรู้เรื่องราวสายเลือดบรรพบุรุษของเดสมอนด์ เดสมอนด์ถูกบีบให้ใช้เครื่อง "แอนิมัส" (Animus) อุปกรณ์ที่พาเขาย้อนกลับไปหาความทรงจำของบรรพบุรุษของเขา จากนั้น แอ็บสเตอร์โกพยายามตามหาวัตถุโบราณหลายชิ้น หรือเรียกว่า "ชิ้นส่วนของเอเดน" (Pieces of Eden) ที่กุมอำนาจมหาศาลไว้ เพื่อที่จะได้ครอบครองมนุษยชาติและปรับเปลี่ยนโชคชะตา นำพามนุษยชาติสู่กลุ่มที่มีเพียงหนึ่งเดียว เดสมอนด์ยังได้พบกับเหล่านักฆ่ายุคปัจจุบันมากมาย จึงตัดสินใจร่วมมือกัน เดสมอนด์ใช้เครื่องแอนิมัสเวอร์ชันใหม่ (แอนิมัส 2.0) เพื่อเข้าถึงความทรงจำของบรรพบุรุษเพื่อหาชิ้นส่วนของเอเดนต่อไป เพื่อนำกลับคืนมาก่อนที่แอ็บสเตอร์โกจะเอาไป ขณะที่เขาสัมผัสกับประสบการณ์เหล่านี้ ความสามารถของเหล่าบรรพบุรุษได้รั่วไหลมาถึงตัวเดสมอนด์ผ่านทางกรรมพันธุ์ เรียกว่า บลีดดิงเอฟเฟกต์ (Bleeding Effect) ทำให้เขาได้รับทักษะของนักฆ่าจากบรรพบุรุษ ณ ขณะนั้นพร้อมกับความทรงจำและบุคลิกลักษณะมากมายเข้าไปในจิตใจของเขา

ในแอนิมัส เดสมอนด์ได้เข้าไปในความทรงจำของนักฆ่ามากมาย ได้แก่ อัลตาเอียร์ อิบึน-ลาอาฮาด (Altaïr ibn-La'Ahad) นักฆ่าผู้อัปยศที่ต้องกู้ชื่อเสียงตนเองในระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 3, เอซิโอ ออดิทอเร ดา ฟิเรนเซ (Ezio Auditore da Firenze) นักฆ่าในอิตาลีในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี และเรอดูนเฮอเกดูน (Ratonhnhaké:ton) หรือ คอนเนอร์ เคนเวย์ (Conner Kenway) นักฆ่าครึ่งโมฮอว์กครึ่งชาวบริติชในระหว่างการปฏิวัติอเมริกา จากเรื่องราวทั้งหมด เดสมอนด์ได้เรียนรู้ว่าทั้งหมดได้พาดพิงถึงคำทำนายวันสิ้นโลกปี ค.ศ. 2012 จากหัวข้อทดสอบจากเครื่องแอนิมัสรุ่นเก่า นั่นคือ หัวข้อ 16 (Subject 16) เหตุการณ์กลายเป็นว่าภัยพิบัติที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้ทำลายมนุษยชาติยุคโบราณไปหมดสิ้น และเขาพบว่าความทรงจำของเขาจะเป็นกุญแจที่ทำให้โลกอยู่รอดจากพายุลูกที่สอง ในระหว่างนั้น เดสมอนด์ได้รับการช่วยเหลือจากผู้ปกครองเผ่าพันธุ์โบราณได้แก่ จูปิเตอร์ มิเนอร์วา และจูโน หลังจากเดสมอนด์เสียชีวิตเพื่อรักษาโลกไว้ ต่อมาความทรงจำของเขาได้ไปอยู่ในไซเบอร์สเปซ[5] และแอ็บสเตอร์โกสามารถเข้าถึงความทรงจำเหล่านี้ได้ แอ็บสเตอร์โกได้เปิดหัวข้อใหม่และจ้างคนใหม่ให้ใช้เครื่องแอนิมัส หัวข้อใหม่เป็นการเรียกคืนความทรงจำของเอ็ดเวิร์ด เคนเวย์ (Edward Kenway) ปู่ของเรอดูนเฮอเกดูน ซึ่งเป็นโจรสลัดในระหว่างยุคล่าอาณานิคมของอังกฤษ[6]

รายชื่อเกม

แก้
รายชื่อเกม ปีที่วางจำหน่ายและแพลทฟอร์ม รายชื่อที่เป็นตัวหนาหมายถึงเกมที่เป็นเนื้อเรื่องหลักของซีรีส์
ช่วงเวลาของเนื้อเรื่องในเกม ชื่อเกม ปีที่จัดจำหน่าย คอนโซล คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเกมพกพา โทรศัพท์มือถือ อื่นๆ
สงครามครูเสดครั้งที่ 3 Assassin's Creed 2007 เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
Assassin's Creed: Altaïr's Chronicles 2008 นินเทนโด ดีเอส แอนดรอยด์, ไอโอเอส, ซิมเบียน, เว็บโอเอส, วินโดวส์ โฟน
Assassin's Creed: Bloodlines 2009 เพลย์สเตย์ชัน พอร์ตเอเบิล
ยุคเรเนซองส์ Assassin's Creed II 2009 เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 โอเอส เอกซ์, วินโดวส์ นินเทนโด สวิชท์ ซิมเบียน OnLive
Assassin's Creed II: Discovery 2009 นินเทนโด ดีเอส ไอโอเอส
Assassin's Creed: Brotherhood 2010 เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 โอเอส เอกซ์, วินโดวส์ นินเทนโด สวิชท์ ซิมเบียน OnLive
Assassin's Creed: Revelations 2011 เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 วินโดวส์ นินเทนโด สวิชท์ แอนดรอยด์, ซิมเบียน OnLive
ยุคล่าอาณานิคม Assassin's Creed III 2012 เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, วี ยู วินโดวส์ นินเทนโด สวิชท์ ซิมเบียน
Assassin's Creed III: Liberation[a] 2012 เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 วินโดวส์ เพลย์สเตย์ชัน วิต้า, นินเทนโด สวิชท์
Assassin's Creed IV: Black Flag 2013 เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, วี ยู, — เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน วินโดวส์ นินเทนโด สวิชท์
Assassin's Creed Rogue 2014 เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 วินโดวส์ นินเทนโด สวิชท์
ยุคปฏิวัติฝรั่งเศส Assassin's Creed Unity 2014 เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์ วัน วินโดวส์
จีนสมัยราชวงศ์ Assassin's Creed Chronicles: China[b] 2015
อังกฤษยุควิกตอเรีย Assassin's Creed Syndicate 2015
จักรวรรดิซิกข์ Assassin's Creed Chronicles: India 2016
การปฏิวัติเดือนตุลาคม Assassin's Creed Chronicles: Russia
ยุคราชอาณาจักรทอเลมี (อียิปต์) Assassin's Creed Origins 2017
สงครามเพโลพอนนีเซียน Assassin's Creed Odyssey 2018 นินเท็นโด สวิตช์

เพลย์สเตชัน 4

เอกซ์บอกซ์วัน

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ สตาเดีย
การขยายดินแดนของไวกิงเข้าสู่เกาะอังกฤษ Assassin's Creed Valhalla 2020 เพลย์สเตชัน 4

เพลย์สเตชัน 5 เอกซ์บอกซ์วัน เอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์

ไมโครซอฟท์​ วินโดวส์​
ยุคทองของอิสลาม Assassin's Creed Mirage 2023 เพลย์สเตชัน 4

เพลย์สเตชัน 5 เอกซ์บอกวัน เอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ไอโอเอส
ญี่ปุ่นยุคเซ็งโงกุ Assassin's Creed Shadows 2025 เพลย์สเตชัน 5

เอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์

แมคโอเอส, วินโดวส์
Notes
  1. วางจำหน่ายในชื่อ, Assassin's Creed: Liberation HD, สำหรับ Microsoft Windows, เพลย์สเตชัน 3, and เอกซ์บอกซ์ 360.
  2. ได้มาเมื่อซื้อดีแอลซี ซีซั่นพาส ของ Assassin's Creed Unity.

อ้างอิง

แก้
  1. "Assassin's Creed: Altair's Chronicles for Palm Pre". Gameloft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-07. สืบค้นเมื่อ December 26, 2010.
  2. "Facts & Figures". Ubisoft. สืบค้นเมื่อ 21 April 2012.
  3. "Interview: Assassin's Creed". CVG. สืบค้นเมื่อ September 2, 2012.
  4. "The Making Of: Assassin's Creed". EDGE. สืบค้นเมื่อ March 3, 2013.
  5. Bryan Vore (March 4, 2013). "Assassin's Creed IV: Black Flag". Gameinformer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-06. สืบค้นเมื่อ March 4, 2013.
  6. George, Richard (March 4, 2013). "The Dawn of Assassin's Creed IV: Black Flag". IGN. สืบค้นเมื่อ August 30, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้