อัสปาซียา มาโนส

(เปลี่ยนทางจาก อัสปาเซีย มานอส)

เจ้สหญิงอัสปาซียาแห่งกรีซและเดนมาร์ก พระนามเดิม อัสปาซียา มาโนส (กรีก: Ασπασία Μάνου ประสูติ 4 กันยายน ค.ศ. 1896 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ – สิ้นพระชนม์ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1972 ณ เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี) พระราชชายาในพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ เนื่องด้วยเกิดการขัดแย้งกันจากการอภิเษกสมรสของเธอ หลังจากการสวรรคตของพระสวามี เธอจึงมีอิสริยยศเป็นเพียง เจ้าหญิงแห่งกรีซและเดนมาร์ก[note 1] และเธอมิได้รับอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ

อัสปาซียา มาโนส
เจ้าหญิงแห่งกรีซและเดนมาร์ก
พระราชชายาในพระมหากษัตริย์แห่งชาวเฮเลนส์
ดำรงพระยศ17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 – 25 ตุลาคม ค.ศ. 1920
ประสูติ4 กันยายน ค.ศ. 1896(1896-09-04)
เอเธนส์ ราชอาณาจักรกรีซ
สิ้นพระชนม์7 สิงหาคม ค.ศ. 1972(1972-08-07) (75 ปี)
เวนิส ประเทศอิตาลี
คู่อภิเษกพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ
พระธิดาสมเด็จพระราชินีอเล็กซันดราแห่งยูโกสลาเวีย
ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค
พระบิดาเปรตรอส มาโนส
พระมารดามารีอา อาร์จีโลปูโลส

พระประวัติ

แก้

อัสปาซียา มาโนส เป็นธิดาของพันเอกเปตรอส มาโนส กับนางมารีอา อาร์จีโรปูโลส โดยต้นตระกูลของเธอสืบเชื้อสายมาจากตระกูลฟานาริโอต์ (กรีก: Φαναριώτες) ซึ่งเป็นชาวกรีกจากเมืองคอนสแตนตินโนเปิล ต้นตระกูลของเธอสืบเชื้อสายวลัคและกรีกจากคาบสมุทรบอลข่าน โดยเฉพาะในพื้นที่ราชรัฐดานูบ รวมไปถึงเปลาปอนเนสและคอนสแตนตินโนเปิล[1]

ตระกูลของเธอบางส่วนได้เป็นผู้นำสงครามการเรียกร้องอิสรภาพของกรีก และบางส่วนเป็นผู้นำของกลุ่มเฮลเลนิกที่อาศัยในเมืองคอนสแตนตินโนเปิลซึ่งขณะนั้นถูกปกครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน และบางส่วนก็ได้เป็นเจ้าในแถบจังหวัดดานูบ เธอจึงเป็นหนึ่งในครอบครัวอภิชนาธิปไตยตระกูลหนึ่งของกรีซ และเธอจึงได้เป็นพระวรราชชายาในพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ กษัตริย์แห่งกรีซ แต่เธอก็ไม่ได้รับตำแหน่งอันสูงศักดิ์ในพระราชวงศ์เลย

นอกจากนี้อีเลียนา มาโนส (เกิดในปี ค.ศ. 1971) พระญาติวงศ์ของพระองค์ ได้เสกสมรสกับ เจ้าชายชาลส์ หลุยส์ ดยุกแห่งชาร์ท

อภิเษกสมรส

แก้

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 เธอได้และพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ ได้อภิเษกสมรสกันตามกฎหมายแต่เป็นการลับ[2] การแต่งงานของทั้งคู่ถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ด้วยเหตุนี้ทั้งสองจึงได้เสด็จไปประทับด้วยกันในกรุงปารีส ด้วยเหตุที่เธอไม่มีอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินี เธอจึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ มาดามมาโนส ทั้งที่เธออภิเษกแล้วก็ตาม[3] แต่หลังจากการอภิเษกสมรสได้ไม่นานพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซก็เสด็จสวรรคต พระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1 แห่งกรีซ จึงได้เสด็จนิวัติกลับมาจากการลี้ภัย มาครองราชย์ต่อจากพระราชโอรสที่สวรรคตไปภายในเดือนนั้นเอง และปฏิบัติหน้าที่การปกครองต่อจากพระโอรสต่อไป และหมายความว่า การอภิเษกสมรสของพระโอรสและเธอนั้นไม่ได้รับการยินยอมจากพระราชบิดา ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย การอภิเษกที่ถือเป็นโมฆะ และพระโอรส-ธิดาที่จะประสูติการเบื้องหน้าที่เกิดหลังจากการมรณกรรมจะถือเป็นบุตรนอกกฎหมาย

ส่วนสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งกรีซ ได้ออกกฎมณเทียรบาลในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1922 ให้บุคคลที่จะสามารถขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงที่มีพื้นฐานมาจากพระบรมวงศานุวงศ์พระราชวงศ์เท่านั้น กฎที่ออกมานี้มีผลย้อนหลังด้วย[3] เพราะฉะนั้นพระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1 แห่งกรีซ จึงได้มีพระบรมราชโองการออกพระราชกฤษฎีกาฉบับวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1922 ในกรณีของพระเจ้าอาเลกซันโดรส กับอัสปาเซีย ต่อแต่นี้ไปเธอและพระราชโอรส-ธิดา จะมีพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งกรีซและเดนมาร์ก ในระดับ Royal Highness[4] ซึ่งคำนำหน้าพระนามถือเป็นเรื่องปกติในพระราชวงศ์กรีซ ซึ่งเป็นสาขาของพระราชวงศ์เดนมาร์ก

ประสูติกาลพระราชธิดา

แก้

หลังจากการสวรรคตของพระสวามี อัสปาเซียได้ให้ประสูติกาลพระราชธิดา พระนามว่า เจ้าหญิงเล็กซานดราแห่งกรีซและเดนมาร์ก ที่เมืองตาตอย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1921 เมื่อพระราชธิดาเจริญวัยขึ้น ก็ได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย

อย่างไรก็ตามอัสปาเชีย มาโนส ก็เป็นพระมารดาในพระราชธิดาแห่งราชวงศ์กลึคส์บวร์คสายกรีซ ที่มีเชื้อสายกรีกเช่นเดียวพระราชวงศ์อื่นในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขณะที่ราชวงศ์กลึคส์บวร์คส่วนใหญ่มีเชื้อสายเยอรมัน

หลังจากพระราชธิดาอเล็กซานดราได้อภิเษกสมรสแล้ว พระราชธิดาและพระชามาดา (ลูกเขย) ได้มีปัญหาสุขภาพ การเงิน ครอบครัว อัสปาเซียจึงทำหน้าที่อภิบาลพระนัดดา เจ้าฟ้าชายอเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมารแห่งยูโกสลาเวีย[5] พระองค์มีความปลื้มปิติที่ยังมีพระชนม์ทันได้เห็นพระนัดดาอเล็กซานเดอร์อภิเษกสมรสกับมาเรีย ดา กลอเรียแห่งออร์เลออง-บรากันซา

สิ้นพระชนม์

แก้

เจ้าหญิงอัสปาซียาแห่งกรีซและเดนมาร์ก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1972 ณ เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี สิริพระชนมายุได้ 75 ปี ซึ่งแต่เดิมได้ทำการฝังพระศพที่เกาะซานมีเกเลใกล้กับเมืองเวนิส ต่อมาได้มีการนำพระศพของพระองค์ไปฝัง ณ สุสานหลวงตาตอยใกล้กับเดเกเลีย (กรีก: Δεκέλεια) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเอเธนส์ประมาณ 23 กิโลเมตร

ลำดับพระตระกูล

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. มีพระยศที่ เจ้าหญิงแห่งกรีซและเดนมาร์ก ที่สถาปนาภายหลังการสวรรคตของพระภัสดา ไม่ใช่ที่ตำแหน่งเจ้าหญิงพระราชชายาฯ

อ้างอิง

แก้
  1. Ancestors of Aspasia Manos
  2. Hueck, Walter von, บ.ก. (1987). Genealogisches Handbuch des Adels Fürstliche Häuser Band XIII (ภาษาเยอรมัน). Limburg an der Lahn: C. A. Starke. p. 33.
  3. 3.0 3.1 Diesbach, Ghislain de (1967). Secrets of the Gotha. translated from the French by Margaret Crosland. London: Chapman & Hall. p. 225.
  4. Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1973-03-06). Burke's Guide to the Royal Family. London: Burke's Peerage. ISBN 0-220-66222-3.
  5. Diesbach, Ghislain de (1967). Secrets of the Gotha. translated from the French by Margaret Crosland. London: Chapman & Hall. p. 337.
ก่อนหน้า อัสปาซียา มาโนส ถัดไป
สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งกรีซ    
พระวรราชชายาในพระมหากษัตริย์แห่งเฮลเลนส์
(ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค)

(4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 – 25 ตุลาคม ค.ศ. 1920)
  สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งกรีซ