อะแพโทซอรัส
อะแพโทซอรัส (อังกฤษ: Apatosaurus, /əˌpætəˈsɔːrəs/;[3][4] แปลว่า "กิ้งก่าปลอม") เป็นสกุลของไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชที่อาศัยอยู่ในอเมริกาเหนือช่วงยุคจูแรสซิกตอนปลาย Othniel Charles Marsh อธิบายและตั้งชื่อสปีชีส์แรกว่า A. ajax ใน ค.ศ. 1877 และ A. louisae สปีชีส์ที่สองถูกค้นพบและตั้งชื่อโดยวิลเลียม เฮช. ฮอลแลนด์ ใน ค.ศ. 1916. อะแพโทซอรัสมีชีวิตประมาณ 152 ถึง 151 ล้านปีก่อน ในช่วงยุคคิมเมอริดเจียนตอนปลายถึงยุคทีโธเนียนตอนต้น
อะแพโทซอรัส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคจูแรสซิกตอนปลาย (Kimmeridgian ถึง Tithonian), 152–151Ma | |
---|---|
โครงกระดูก A. louisae (ตัวอย่างชนิด CM 3018), Carnegie Museum of Natural History | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
เคลด: | ไดโนเสาร์ Dinosauria |
เคลด: | ซอริสเกีย Saurischia |
เคลด: | †Sauropodomorpha Sauropodomorpha |
เคลด: | †ซอโรพอด Sauropoda |
วงศ์ใหญ่: | †Diplodocoidea Diplodocoidea |
วงศ์: | †Diplodocidae Diplodocidae |
วงศ์ย่อย: | †Apatosaurinae Apatosaurinae |
สกุล: | †อะแพโทซอรัส Apatosaurus Marsh, 1877 |
ชนิดต้นแบบ | |
†Apatosaurus ajax Marsh, 1877 | |
ชนิดอื่น ๆ | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
อะแพโทซอรัส อยู่ในสกุลของวงศ์ Diplodocidae ในขณะที่วงศ์ย่อย Apatosaurinae ถูกตั้งชื่อใน ค.ศ. 1929 กลุ่มของมันไม่ได้มีชื่อตามกฎจนถึง ค.ศ. 2015 โดยมีแค่ บรอนโตซอรัส ที่อยู่ในวงศ์ย่อย ในขณะที่จำพวกอื่นถือเป็นชื่อพ้องหรือเปลี่ยนเป็นdiplodocines บรอนโตซอรัส เคยเป็นชื่อพ้องย่อยของ อะแพโทซอรัส มาเป็นเวลานาน; ประเภทสปีชีส์ถูกเปลี่ยนเป็น A. excelsus ใน ค.ศ. 1903. การศึกษาใน ค.ศ. 2015 สรุปว่า บรอนโตซอรัส เป็นสกุลของซอโรพอดห่าง ๆ จาก อะแพโทซอรัส แต่ใช่ว่านักบรรพชีวินวิทยายอมรับ ในตอนที่ไดโนเสาร์พันธุ์นี้มีชีวิตในอเมริกาเหนือช่วงยุคจูแรสสิกตอนปลาย อะแพโทซอรัส อาจมีชีวิตร่มกับ อัลโลซอรัส, คามาราซอรัส, ดิพโลดูคัส และ สเตโกซอรัส
รายละเอียด
แก้อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 (สูสีกับดิพโพลโดคัสมากนะครับ)
ลักษณะตามแบบตระกูลซอโรพอด คือ คอยาว หางยาวมาก ๆ ประมาณ 23-26 เมตร หัวเล็ก ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพโทซอรัสมีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยาสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่า
ลักษณะที่สำคัญไดโนเสาร์ชนิดนี้มีความประหลาดมาก คือมีหัวใจ 7-8 ดวงเรียงจากอกถึงลำคอเพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ พวกนี้มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น (บางข้อมูลก็เชื่อว่า มันใช้ฟันแท่งดินสอเหล่านี้รูดใบไม้อ่อนตามยอดต้นไม้กิน)
หัวของมันก็เล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับความใหญ่โตของลำตัว สมองของอะแพโทซอรัสจึงจิ๋วตามหัวไปด้วย แต่รูจมูกของมันจะอยู่กลางกระหม่อม สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ทำให้อะแพโทซอรัสสามารถดำน้ำได้นาน เพราะขณะดำน้ำ มันจะชูคอโผล่แต่กระหม่อมขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนตัวก็อยู่ใต้น้ำ ที่มันต้องดำน้ำก็เพราะที่อยู่ของเจ้าอะแพโทซอรัสเป็นถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ดุร้ายมากมายนั่นเอง และใต้น้ำก็มีต้นไม้อ่อน ๆ นิ่ม ๆ ไม่เหมือนต้นไม้บนบกที่มีใบแข็ง มันจึงต้องดำน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำเสมอ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพโทซอรัสหรือซอโรพอดอื่น ๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลังว่าเป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววิทยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอและปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกได้ขนาดนั้นหรือไม่
ภาพพจน์ในอดีตของอะแพโทซอรัสถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตะครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพไทรันโนซอรัสกำลังล่าอะแพโทซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ว่า เหยื่อกับนักล่าทั้ง 2 ตัวนี้มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน) เนื่องจากลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่น เช่น เขาขนาดใหญ่แบบไทรเซอราทอปส์ หรือหนาม-ตุ้มที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลัง ๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่านักล่าหลายเท่านั้นก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับช้างในปัจจุบัน
อะแพโทซอรัสมีหางที่ยาวมากเพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพโทซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูกอัลโลซอรัสหรือนักล่าอื่น ๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน
อ้างอิง
แก้- ↑ Taylor, M.P. (2010). "Sauropod dinosaur research: a historical review." Pp. 361–386 in Moody, R.T.J., Buffetaut, E., Naish, D. and Martill, D.E. (eds.), Dinosaurs and Other Extinct Saurians: A Historical Perspective. London: The Geological Society, Special Publication No. 34.
- ↑ Berman, D.S. and McIntosh, J. S. (1978). "Skull and relationships of the Upper Jurassic sauropod Apatosaurus (Reptilia, Saurischia)." Bulletin of the Carnegie Museum, 8: 1–35.
- ↑ "Apatosaurus". Merriam-Webster Dictionary.
- ↑ "Apatosaurus". Dictionary.com Unabridged. Random House.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Hartman, S. (2013). "Sauropods and kin". Scott Hartman's Skeletal Drawings.
- Batuman, Elif. Brontosaurus Rising (April 2015), The New Yorker
- Krystek, Lee. "Whatever Happened to the Brontosaurus?" UnMuseum (Museum of Unnatural Mystery), 2002.
- Taylor, Mike. "Why is 'Brontosaurus' now called Apatosaurus?" MikeTaylor.org.uk, June 28, 2004.