อะบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ
อะบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (อาหรับ: ابو طالب بن عبد المطلب;[a] ป. 539 – ป. 619) เป็นหัวหน้าเผ่าของบนูฮาชิม ในเผ่ากุเรชแห่งมักกะฮ์ หลังจากการเสียชีวิตของอับดุลมุฏฏอลิบ พ่อของเขา[2]
อะบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ أَبُو طَالِب ٱبْن عَبْد ٱلْمُطَّلِب | |
---|---|
หัวหน้าตระกูลบะนูฮาชิมของกุเรช | |
ครองราชย์ | ป. ค.ศ. 578 - 619 |
ก่อนหน้า | อับดุลมุฏฏอลิบ อิบน์ ฮาชิม |
ถัดไป | อะบูละฮับ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ |
ประสูติ | ป. ค.ศ. 535 มักกะฮ์ ฮิญาซ (ปัจจุบันคือประเทศซาอุดีอาระเบีย) อิมรอน (عِمْرَان) หรือ อับดุมะนาฟ (عَبْد مَنَاف)[1] |
สวรรคต | ป. ค.ศ. 619 มักกะฮ์ |
คู่อภิเษก | ฟาฏิมะฮ์ บินต์ อะซัด |
พระราชบุตร | ฏอลิบ อะกีล ญะอ์ฟัร อะลี ฟาคิตะฮ์ ญุมานะฮ์ ร็อยเฏาะฮ์ |
อะบูฏอลิบเป็นลุงของศาสดามุฮัมมัด และพ่อของอะลี นักวิชาการได้โต้เถียงกันว่าเขาเสียชีวิตในศาสนาอิสลามหรือไม่
ความสัมพันธ์กับมุฮัมมัด
แก้อบูฏอลิบเป็นพี่ชายของอับดุลลอฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นพ่อของมุฮัมมัดที่เสียชีวิตก่อนที่มุฮัมมัดเกิด หลังจากอามีนะฮ์ บินต์ วาฮับ แม่ของมุฮัมมัดเสียชีวิตตอนอายุ 6 ขวบ อับดุลมุฏฏอลิบจึงรับเลี้ยงต่อและเสียชีวิตตอนที่มุฮัมมัดอายุ 8 ขวบ อัล-ฮาริษไม่มีรายได้มากพอที่จะเลี้ยงดูเขา อบูฏอลิบจึงรับเลี้ยงเขาเพราะความเอื้ออาทรของเขา[3]
มุฮัมมัดรักลุงคนนี้มาก และเขาก็รู้สึกเหมือนกัน[4] ครั้งหนึ่งอบูฏอลิบกำลังจะไปค้าขาย มุฮัมมัดไม่อยากอยู่คนเดียว อบูฏอลิบจึงกล่าวว่า "ด้วยนามของพระเจ้า ฉันจะนำเขาไปด้วย และเราจะไม่แยกจากกัน"[5]
ปกป้องมุฮัมมัด
แก้ในสังคมเผ่า ความผูกพันของชนเผ่าเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เช่นนั้นผู้คนจะถูกฆ่าตายโดยไม่ได้รับการยกเว้นโทษ[6] ในขณะที่อบูฏอลิบ หัวหน้าเผ่าบนูฮาชิม ได้ปกป้องมุฮัมมัด หลังจากมุฮัมมัดเริ่มเผยแผ่อิสลามแบบเปิดเผย สมาชิกของเผ่ากุเรชรู้สึกเหมือนถูกทำร้าย จึงนำเรื่องไปบอกอบูฏอลิบให้มุฮัมมัดช่วยหยุดพฤติกรรมนี้เสียที แต่เขาปฏิเสธข้อเรียกร้องของพวกเขาและสนับสนุนมุฮัมมัดต่อไป ในอีกแง่หนึ่ง เผ่ากุเรชเริ่มทำร้ายบนูฮาชิมมากขึ้น[7] ในบางรายงานกล่าวว่า อบูฏอลิบต้องการให้มุฮัมมัดไปพูดกับผู้นำชาวกุเรช แต่มุฮัมมัดได้เรียกร้องผู้นำชาวกุเรชให้กล่าวชะฮาดะฮ์ก่อน คำพูดนี้ทำให้ผู้นำชาวกุเรชตกใจมาก[8]
ชาวกุเรชได้ทำทุกอย่างแม้กระทั่งการให้สินบน[7][9][10] แต่เมื่อความพยายามล้มเหลว ผู้นำเผ่าจึงลงมติคว่ำบาตรโดยไม่คบค้าและแต่งงานกับคนที่มีเชื้อสายบนูฮาชิม การคว่ำบาตรนี้เริ่มขึ้นในปีที่ 7 ในภารกิจของท่านศาสดาและมีระยะเวลาถึงสามปี[2] โดยมีเป้าหมายคือเพิ่มแรงกดดันแก่บนูฮาชิมและแม้กระทั่งทำให้พวกเขาต้องหิวกระหาย[11] สมาชิกจากบนูฮาชิมหลายคนจึงต้องอยู่ใกล้ขึ้นจนมีสภาพเหมือนสลัมเพื่อความปลอดภัย[11] แต่นี่ไม่ได้ทำลายมิตรภาพ[12] เพราะว่าพวกเขามีครอบครัวต่างเผ่าที่สามารถส่งสิ่งของจำเป็นมาได้[11] ทุกคนถูกย้ายหมด ยกเว้นอบูละฮับที่เข้าข้างพวกกุเรช และย้ายบ้านมาที่ถนนของอับดุลชาม[11][13] และคิดว่ามุฮัมหมัดนั้นทั้งบ้าและหลอกลวง[14]
การปกป้องมุฮัมมัดเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับอบูฏอลิบและบนูฮาชิม ครั้งหนึ่งอบูฏอลิบกล่าวกับมุฮัมหมัดว่า "ช่วยปกป้องฉันและเธอด้วย และอย่าสร้างภาระอันหนักอึ้งที่ฉันรับไม่ได้เลย" มุฮัมมัดจึงตอบว่า "โอ้ท่านลุง! ด้วยนามของอัลลอฮ์ ฉันสาบานว่า ถ้าพวกเขานำดวงอาทิตย์ใส่มือขวา และนำดวงจันทร์ใส่มือซ้ายของฉัน ฉันจะไม่หยุดทำจนกว่าจะเสียชีวิตในหน้าที่"[15] หลังจากดูความรู้สึกของหลานชายแล้ว เขาจึงพูดว่า "ทำในสิ่งที่เจ้าชอบต่อไป หลานชาย ในนามของพระเจ้า ฉันจะไม่หยุดช่วยเหลือเจ้า"[16]
เสียชีวิต
แก้อบูฏอลิบเสียชีวิตในปี ค.ศ.619 โดยมีอายุมากกว่า 80 ปี ประมาณ 10 ปีตั้งแต่มุฮัมมัดได้วะฮ์ยูครั้งแรก[2] โดยปีนั้นเป็นที่รู้จักว่าปีแห่งความเศร้าโศกสำหรับมุฮัมหมัด เพราะอบูฏอลิบและเคาะดีญะฮ์เสียชีวิตในเดือนเดียวกัน
ก่อนที่อบูฏอลิบจะเสียชีวิต มุฮัมมัดขอให้เขาพูดชะฮาดะฮ์[8] ส่วนอีกรายงานกล่าวว่าอบูฏอลิบถูกชาวกุเรชบอกอย่ากล่าวชะฮาดะฮ์[17]
และอีกรายงานกล่าวว่าขณะที่อบูฏอลิบกำลังเสียชีวิต อัล-อับบาสที่นั่งอยู่ใกล้เห็นเขาขยับริมฝีปาก และบอกว่าเขาได้บอกชะฮาดะฮ์แล้ว แต่มุฮัมมัดกล่าวว่าเขาไม่ได้ยิน[2][18][19] ชาวมุสลิมบางคนเชื่อว่าหลักฐานนี้พิสูจน์ว่าเขาเสียชีวิตขณะที่เป็นมุสลิม แต่อย่างไรก็ตามรายงานส่วนใหญ่เขียนว่าอบูฏอลิบเสียชีวิตขณะที่เป็นพวกนอกศาสนา
หลังจากที่อบูฏอลิบเสียชีวิต มุฮัมมัดก็ไม่มีใครมาปกป้องเขา และอบูละฮับผู้นำคนใหม่ก็ไม่อยากปกป้องเขาเนื่องจากเป็นศัตรูกับเขา ดังนั้นมุฮัมมัดและผู้ติดตามจึงถูกทำร้ายและทรมานมากขึ้น จนมุฮัมมัดกล่าวว่า "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ชาวกุเรชได้ทำร้ายฉันมากขึ้นหลังจากที่อบูฏอลิบเสียชีวิต"[20][21]
มุมมอง
แก้ชีอะฮ์
แก้ชาวชีอะฮ์เชื่อว่าเขาเป็นพ่อของอิหม่ามอะลี จึงสมควรมีฐานะพอ ๆ กันกับอะลี ชาวชีอะฮ์ได้ยกย่องอบูฏอลิบว่าเป็นผู้ปกป้องของมุฮัมหมัด มีหลายรายงานกล่าวว่าอบูฏอลิบเป็นมุสลิมอยู่แล้ว แต่เขาต้องปกปิดการศรัทธาของเขาเพื่อปกป้องมุฮัมมัดได้ดีกว่า[22]
ชาวชีอะฮ์เชื่อว่าบรรพบุรุษของอบูฏอลิบเป็นมุสลิม เพราะเขาเป็นลูกหลานของอิสมาอิล อิบน์ อิบรอฮีม[23] อย่างไรก็ตาม รายงานจากซูเราะฮ์ที่ 6[24] ,9[25] และ 19[26] ของอัลกุรอ่าน อะซัร พ่อของอิบรอฮีม (อาหรับ: أَب) นับถือลัทธิพหุเทวนิยม และเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา นับตั้งแต่ อับ ถูกใช้ในฐานะลุงของชาวอาหรับ แต่ชาวชีอะฮ์บางคน[b] บอกว่าอะซัรไม่ใช่พ่อแท้ ๆ ของอิบรอฮีม ส่วนพ่อแท้ ๆ ของท่านคือเตราห์ในคัมภีร์ไบเบิล[28] ผู้ที่นับถือลัทธิพหุเทวนิยม[29][30]
ซุนนี
แก้ในฮะดีษของซอฮิหฺมุสลิมและบุคอรี กับอัลกุรอ่านซูเราะฮ์ที่28:56 ("แท้จริง เจ้าไม่สามารถที่จะชี้แนะทางที่ถูกต้องแก่ผู้ที่เจ้ารักได้ แต่อัลลอฮ์ทรงชี้แนะทางที่ถูกต้องแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงผู้ที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง") เป็นหลักฐานว่าอบูฏอลิบปฏิเสธศาสนาอิสลามของหลานชาย[31][32]
อีกรายงานจากอัล-มะดัยนีได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ฉันหวังว่าอบูฏอลิบจะเข้าอิสลามโดยศาสนทูตของพระเจ้าที่ชี้นำทางเขา แต่เขายังเป็นผู้ปฏิเสธ"[33]
ครอบครัว
แก้อบูฏอลิบแต่งงานกับฟาติมะฮ์ บินต์ อะสัด โดยมีลูกชาย 4 คน กับลูกสาว 3 คน ได้แก่:
- ฏอลิบ อิบน์ อบีฏอลิบ
- อะกีล อิบน์ อบีฏอลิบ
- ญะฟัร อิบน์ อบีฏอลิบ
- อะลี อิบน์ อบีฏอลิบ
- ฟากิตะฮ์ บินต์ อบีฏอลิบ (อุมม์ ฮานี)
- ญุมานะฮ์ บินต์ อบีฏอลิบ
- รัยตา บินต์ อบีฏอลิบ (อัสมา หรือ อุมม์ ฎอลิบ)
และภรรยาอีกคนชื่อว่า อิลลา โดยมีลูกชายคนที่ 5 ชื่อ: ตุลัยก์ อิบน์ อบีฏอลิบ[34][35]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Abu-Talib (a.s.) The Greatest Guardian of Islam". duas.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Rubin, Uri (2013). Fleet, Kate; Krämer, Gudrun; Matringe, Denis; Nawas, John; Rowson, Everett (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (3rd ed.). Brill Online. ISSN 1873-9830.
- ↑ Haykal, Muhammad Husayn (1976). The Life of Muhammad. North American Trust Publications. p. 54.
- ↑ Rubin, Uri (1995). The Eye of the Beholder. Princeton, New Jersey: Darwin Press, Inc. p. 93.
- ↑ The History of al-Tabari. Albany: State University of New York Press. 1988. p. 44.
- ↑ Armstrong, Karen (2000). Islam: A Short History. New York: Modern Library. p. 13.
- ↑ 7.0 7.1 Rubin, Uri (1995). The Eye of the Beholder. Princeton, New Jersey: Darwin Press, Inc. p. 150.
- ↑ 8.0 8.1 The History of al-Tabari. New York: State University Press. 1985. p. 95.
- ↑ The History of al-Tabari. New York: State University Press. 1985. p. 97.
- ↑ Haykal, Muhammad Husayn (1976). The Life of Muhammad. North American Trust Publications. p. 88.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Armstrong, Karen (1993). Muhammad: A Biography of the Prophet. San Francisco: Harper Collins. p. 129.
- ↑ The History of al-Tabari. New York: State University Press. 1985. p. xliv.
- ↑ Lings, Martin (2006). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. Rochester, Vermont: Inner Traditions. p. 90.
- ↑ Lings, Martin (2006). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. Rochester, Vermont: Inner Traditions. p. 52.
- ↑ Haykal, Muhammad Husayn (1976). The Life of Muhammad. North American Trust Publications. p. 89.
- ↑ The History of al-Tabari. New York: State University Press. 1985. p. 96.
- ↑ Donner, Fred McGraw (1987). "The Death of Abu Talib". ใน John H. Marks; Robert M. Good (บ.ก.). Love and Death in the Ancient Near East. Guilford, Connecticut: Four Quarters. p. 245.
- ↑ Lings, Martin (2006). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. Rochester, Vermont: Inner Traditions. p. 99.
- ↑ Rubin, Uri (1995). The Eye of the Beholder. Princeton, New Jersey: Darwin Press, Inc. p. 152.
- ↑ Haykal, Muhammad Husayn (1976). The Life of Muhammad. North American Trust Publications. p. 136.
- ↑ Armstrong, Karen (1993). Muhammad: A Biography of the Prophet. San Francisco: Harper Collins. p. 135.
- ↑ (150 Rubin)
- ↑ Donner, Fred McGraw (1987). "The Death of Abu Talib". ใน John H. Marks; Robert M. Good (บ.ก.). Love and Death in the Ancient Near East. Guilford, Connecticut: Four Quarters. p. 240.
- ↑ อัลกุรอาน 6:74–90
- ↑ อัลกุรอาน 9:113–114
- ↑ อัลกุรอาน 19:41–50
- ↑ Mohammad Taqi al-Modarresi (26 มีนาคม 2016). The Laws of Islam (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Enlight Press. ISBN 978-0994240989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2018.
- ↑ "Was Azar the Father of Prophet Abraham?". Al-Islam.org (ภาษาอังกฤษ). Ahlul Bayt Digital Islamic Library Project. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2017.
- ↑ Book of Joshua, 24:2 NIV:24:2
- ↑ Stories of the Prophets, Ibn Kathir, Abraham and his father
- ↑ Diane Morgan (2010). Essential Islam: A Comprehensive Guide to Belief and Practice. ABC-CLIO. p. 114. ISBN 9780313360251.
- ↑ Muhammad Saed Abdul-Rahman (2009). The Meaning and Explanation of the Glorious Qur'an (Vol 7). MSA Publication Limited. p. 202. ISBN 9781861796615.
- ↑ Donner, Fred McGraw (1987). "The Death of Abu Talib". ใน John H. Marks; Robert M. Good (บ.ก.). Love and Death in the Ancient Near East. Guilford, Connecticut: Four Quarters. p. 238.
- ↑ Muhammad ibn Saad. Kitab al-Tabaqat al-Tabir. Translated by Haq, S. M. (1967). Ibn Sa'd's Kitab al-Tabaqat al-Kabir, Vol. I Parts I & II, pp. 135-136. Delhi: Kitab Bhavan.
- ↑ Muhammad ibn Saad. Kitab al-Tabaqat al-Tabir, vol. 8. Translated by Bewley, A. (1995). The Women of Madina, p. 35. London: Ta-Ha Publishers.