ออริกาโน
ออริกาโน | |
---|---|
ช่อดอกของออริกาโน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Lamiaceae |
สกุล: | Origanum |
สปีชีส์: | O. vulgare |
ชื่อทวินาม | |
Origanum vulgare L. |
ออริกาโน (อังกฤษ: Oregano; US: /ɔːˈrɛɡənoʊ, ə-/[1] หรือ UK: /ˌɒrɪˈɡɑːnoʊ/;[2] ชื่อวิทยาศาสตร์: Origanum vulgare) เป็นพืชในสกุล Origanum ที่พบบ่อย อยู่ในวงศ์ Lamiaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเขตอบอุ่นและทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของยูเรเชีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ออริกาโนเป็นพืชในวงศ์เดียวกับมินต์ ใช้เป็นเครื่องปรุงสำคัญในอาหารอิตาลี ใส่ในพิซซา ซอส อาหารจานผักและเนื้อสัตว์ทุกชนิด ใบสด ๆ มีกลิ่นหอมแรงแต่ไม่เท่ากับแบบแห้ง นิยมใช้แบบแห้งในการปรุงอาหารมากกว่า
ลักษณะ
แก้ออริกาโนเป็นพืชยืนต้นมีเนื้อไม้ ความสูง 20–80 ซม. (8–31 นิ้ว) ลักษณะใบสีเขียวมะกอกรูปใบหอกออกตรงข้ามกัน ยาว 1–4 ซม. (12 – 112 นิ้ว) ดอกมีสีม่วงขนาด 3–4 มม. (18 – 316 นิ้ว) ผลิช่อในฤดูร้อน บางครั้งถูกเรียกว่ามาจอรัมป่า[3][4] สามารถเติบโตเป็นฤดูกาลในพื้นที่อากาศหนาวเย็นแต่มักจะไม่รอดในฤดูหนาว[5][6] ออริกาโนปลูกในต้นฤดูใบไม้ผลิ โดยเว้นระยะห่าง 30 ซม. (12 นิ้ว) ในดินที่ค่อนข้างแห้งและมีแสงแดดจัด มันจะเติบโตในช่วง pH ระหว่าง 6.0 (กรดอ่อน) และ 9.0 (ด่างอย่างแรง) โดยมีช่วงที่ต้องการระหว่าง 6.0 ถึง 8.0 เจริญได้ดีในภูมิอากาศทั่วไป โดยชอบสภาพอากาศที่ร้อนและค่อนข้างแห้ง[7]
นิรุกติศาสตร์
แก้ออริกาโนเป็นคำในภาษาสเปนที่เริ่มใช้กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชื่อสกุล Origanum เป็นการถอดเป็นภาษาละตินของคำในภาษากรีกโบราณว่า "Ορίγανον" (orī́ganon) ซึ่งเป็นชื่อพืชเครื่องเทศที่บันทึกของฮิปพอคราทีสและอริสโตฟานเนสกล่าวถึงเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล[8] คำนี้เป็นคำผสมที่ประกอบด้วย ὄρος (óros) หมายถึง "ภูเขา" และ γάνος (gános) หมายถึง "ความสว่าง" ดังนั้นจึงแปลว่า "ความสว่างของภูเขา"[9] ชื่อสปีชีส์ vulgare เป็นภาษาละตินหมายถึงทั่วไป นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน คาร์ล ฟอน ลินเนีย ตั้งชื่ออย่างเป็นระบบให้กับสปีชีส์ดังกล่าวในหนังสือ Species plantarum ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1753
การใช้ประโยชน์
แก้ใช้ประกอบอาหาร
แก้ออริกาโนใช้ประกอบการทำอาหาร โดยใช้ส่วนของใบสำหรับปรุงรสชาติ ซึ่งเมื่อตากแห้งจะมีความเข้มข้นของกลิ่นรสมากกว่าใบสด มีรสแบบเอิร์ธโทน, อบอุ่น และขมเล็กน้อย ซึ่งออริกาโนที่มีคุณภาพดีอาจมีรสเข้มข้นจนเกือบทำให้ลิ้นชา แต่พันธุ์ที่ปรับให้เข้ากับสภาพอากาศที่หนาวเย็นอาจมีรสชาติน้อยกว่า ปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ฤดูกาล และองค์ประกอบของดิน ส่งผลต่อน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ และผลกระทบนี้อาจมากกว่าความแตกต่างระหว่างชนิดพันธุ์ย่อยต่าง ๆ สารประกอบทางเคมีที่มีส่วนช่วยในการปรุงแต่งกลิ่นรส ได้แก่ คาร์วาครอล, ไทมอล, ลิโมนีน, ปินีน, โอซิมีน และแคริโอฟิลลีน[10]
เป็นที่นิยมในการใช้เป็นเครื่องเทศหลักของอาหารอิตาลี ความนิยมในสหรัฐเริ่มต้นเมื่อทหารที่กลับมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำ "สมุนไพรพิซซา" กลับมาด้วย ซึ่งกล่าวกันว่าน่าจะรับประทานกันทางตอนใต้ของอิตาลีมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ[11] มักใช้กับการอบ, ผัด หรือย่าง ผัก, เนื้อสัตว์ และปลา ออริกาโนเข้ากันได้ดีกับอาหารรสเผ็ดเป็นที่นิยมทางตอนใต้ของอิตาลี ส่วนในภาคเหนือของประเทศมีความนิยมน้อยกว่าเนื่องจากมักนิยมใช้มาจอรัม
ออริกาโนถูกใช้อย่างแพร่หลายในอาหารเมดิเตอร์เรเนียนและอาหารละตินอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารอาร์เจนตินา
สรรพคุณทางยา
แก้ฮิปพอคราทีสใช้ออริกาโนเป็นยาฆ่าเชื้อ เช่นเดียวกับการรักษาโรคกระเพาะและระบบทางเดินหายใจ
ออริกาโนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เนื่องจากมีกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูง[12][13] ในการศึกษาในหลอดทดลอง ยังแสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ต้านจุลชีพในการต่อต้านเชื้อ Listeria monocytogenes ที่ก่อโรคในอาหาร[12]
ในการแพทย์พื้นบ้านของนอร์เวย์ มีการใช้งานหลายวิธี บันทึกของแพทย์และนักประวัติศาสตร์การแพทย์ Ingjald Reichborn-Kjennerud ระบุว่า "ต้มในไวน์ใช้สร้างความอบอุ่นแก้ภาวะเฉื่อยชาในฤดูหนาวทุกชนิด บดผสมกับน้ำผึ้งสำหรับแก้อาการไอ เปลือกต้นชงดื่มแก้อาการเจ็บคอ, กำจัดพยาธิ และช่วยในการมองเห็น ใบเคี้ยวเพื่อแก้ปวดฟัน"[14]
น้ำมันหอมระเหย
แก้น้ำมันออริกาโนถูกนำมาใช้โดยการแพทย์พื้นบ้านมานานหลายศตวรรษ[15] น้ำมันหอมระเหยสกัดจากส่วนใบของออริกาโน ออริกาโนหรือน้ำมันจากออริกาโนอาจใช้เป็นอาหารเสริม แต่ก็ไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่บ่งชี้ผลใด ๆ ต่อสุขภาพ[15][16]
สีย้อม
แก้ในยุโรปเหนือ ออริกาโนใช้ในการย้อมผ้าขนสัตว์ ทำให้มีสีแดงเข้มหรือสีน้ำตาล[17][18]
ในการเลี้ยงผึ้ง
แก้ในเอเชียกลาง ออริกาโนเป็นพืชน้ำหวานที่ให้ผลผลิตน้ำผึ้งที่มีคุณภาพดี[19] สมุนไพรออริกาโนแห้งใช้ในการเลี้ยงผึ้งเพื่อต่อสู้กับมอดขี้ผึ้งและมด[19]
อ้างอิง
แก้- ↑ "American: Oregano". Collins Dictionary. n.d. สืบค้นเมื่อ 25 September 2014.
- ↑ "British: Oregano". Collins Dictionary. สืบค้นเมื่อ 25 September 2014.
- ↑ "Origanum vulgare L. oregano". Plants Database, United States Department of Agriculture. สืบค้นเมื่อ 30 January 2011.
- ↑ "Growing Culinary Herbs in Ontario". Ontario Ministry of Agriculture, Food & Rural Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2010. สืบค้นเมื่อ 30 January 2011.
- ↑ Peter, K. V. (2004). "14.3.1 Growth habit of wild oregano populations". Handbook of herbs and spices. Vol. 2. Abington Hall, Abington: Woodhead Publishing Limited. p. 219. ISBN 1-85573-721-3. สืบค้นเมื่อ 30 January 2011.
- ↑ "Herbs". Government of Saskatchewan. September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2011. สืบค้นเมื่อ 30 January 2011.
- ↑ "Oregano and Marjoram". Ontario Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs, Guelph, Canada. 17 October 2012. สืบค้นเมื่อ 31 January 2017.
- ↑ Lid, J.; Lid, D. T. (2005). Elven, R. (บ.ก.). Norsk flora. Oslo: Samlaget. ISBN 82-521-6029-8.
- ↑ "Oregano". Online Etymology Dictionary. Douglas Harper. สืบค้นเมื่อ 6 October 2016.
- ↑ Mockute, Danute; Bernotiene, Genovaite; Judzentiene, Asta (2001). "The essential oil of Origanum vulgare L. Ssp. Vulgare growing wild in Vilnius district (Lithuania)". Phytochemistry. 57 (1): 65–9. doi:10.1016/S0031-9422(00)00474-X. PMID 11336262.
- ↑ Martyris, Nina (9 May 2015). "GIs Helped Bring Freedom To Europe, And A Taste For Oregano To America". NPR. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018.
- ↑ 12.0 12.1 Faleiro, Leonor; และคณะ (2005). "Antibacterial and Antioxidant Activities of Essential Oils Isolated from Thymbra capitata L. (Cav.) and Origanum vulgare L". J. Agric. Food Chem. 53 (21): 8162–8168. doi:10.1021/jf0510079. PMID 16218659.
- ↑ Dragland, Steinar; และคณะ (1 May 2003). "Several culinary and medicinal herbs are important sources of dietary antioxidants". J Nutr. 133 (5): 1286–1290. PMID 12730411.
- ↑ Reichborn-Kjennerud, I. (1930). Den gamle urtegård : lægeurter fra middelalderen (ภาษานอร์เวย์). Sarpsborg: Borgarsyssel museum. pp. 22–23.
- ↑ 15.0 15.1 "Oregano". Drugs.com. 2016. สืบค้นเมื่อ 7 October 2016.
- ↑ "Oregano". MedlinePlus, US National Library of Medicine. 2016. สืบค้นเมื่อ 7 October 2016.
- ↑ Borgen, Liv (2006). Urtegleder. Naturhistorisk museum, Universitetet i Oslo. pp. 69–71. ISBN 8279700072.
- ↑ Nielsen, Esther (1976). Farging med planter (ภาษานอร์เวย์). Oslo: Dreyer. p. 49. ISBN 8209014382.
- ↑ 19.0 19.1 Абрикосов Х. Н. и др. (1955). "Душица". Словарь-справочник пчеловода. Сост. Федосов Н. Ф. (ภาษารัสเซีย). М.: Сельхозгиз. p. 96. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-10. Архивированная копия (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-07. สืบค้นเมื่อ 2011-09-07.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- How to Grow Oregano Information about planting, propagating and growing oregano.
- Flora Europaea: Origanum vulgare
- Germplasm Resources Information Network: Origanum vulgare เก็บถาวร 2015-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Gernot Katzer's Spice Pages: Oregano (Origanum vulgare L.) เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mark Force; William S. Sparks; Robert A. Ronzio (May 2000). "Inhibition of enteric parasites by emulsified oil of oregano in vivo". Phytotherapy Research. 14 (3): 213–214. doi:10.1002/(SICI)1099-1573(200005)14:3<213::AID-PTR583>3.0.CO;2-U.
- Oregano Herb Profile: vulgare เก็บถาวร 2013-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน