อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว
ศาสตราจารย์ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาโบราณคดี สำนักวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562[1]
ประวัติ
แก้อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว เกิดเมื่อวันที่ 22 กมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การศึกษา
แก้สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ศศ.บ. ประวัติศาสตร์) และสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ.ม. ประวัติศาสตร์) เป็นนักประวัติศาสตร์ที่มีความเชียวชาญประวัติศาสตร์ล้านนา และมีความสามารถในการอ่านและเขียนอักษรธรรมล้านนา มีงานวิจัยที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนได้รับการยกย่องให้เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐ เป็นต้น และได้รับประเมินความรู้เทียบเท่าปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนล, 2537
ประสบการณ์
แก้- ศาสตราจารย์อาคันตุกะที่สำนักวิจัยและแปซิฟิคศึกษา คณะเอเซียศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย วิจัยเรื่อง กฎหมายมังรายศาสตร์ พ.ศ. 2526
- ศาสตราจารย์อาคันตุกะที่ศูนย์เอเชียอาคเนย์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) ญี่ปุ่น ทำวิจัยเรื่อง กฎหมายตราสามดวง พ.ศ. 2530
- ศาสตราจารย์อาคันตุกะที่ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา ทำวิจัยเรื่อง ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (The Chiang Mai Chronicle) พ.ศ. 2537
- นักวิจัยร่วมที่สำนักวิจัยและแปซิฟิคศึกษา คณะเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ประเทศออสเตรเลีย เรื่องประวัติศาสตร์ล้านนาในสมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ. 2542
- ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Fellow) ที่ศูนย์เอเชียอาคเนย์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต(Kyoto) ญี่ปุ่น “กลุ่มชาติพันธุ์ศึกษาจากเอกสารคัมภีร์โบราณ” พ.ศ. 2545 – 2546
- นักวิจัยร่วมที่สถาบันชาติพันธุ์วิทยา มหาวิทยาลัยมึนส์เทอร์ (Munster) เยอรมัน เรื่อง The traditional Tai Policy of Lanna in the Eyes of Yuan and Ming พ.ศ. 2548
ผลงาน
แก้ตัวอย่างผลงานของศาสตราจารย์อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว
- วัดร้างในเวียงเชียงใหม
- พจนานุกรมศัพท์ล้านนาเฉพาะคำที่ปรากฏในใบลาน
- พจนานุกรมภาษาถิ่นเหนือ
- ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (เขียนร่วมกับศ.เดวิด วัยอาจ)
- มังรายราชธรรมศาสตร์ (เขียนร่วมกับดร.กีฮาน วิชัยวัฒนา)
- กฎหมายตราสามดวง (เขียนร่วมกับศ.โยเนโอะ นิชิอิ)
- เรื่องเมืองเชียงตุง (บรรณาธิการ)
- ลัวะหรือละว้า:ศึกษาจากเอกสารใบลานและศิลาจารึก เป็นต้น
- พระพุทธรูปในล้านนา
- สังคมและวัฒนธรรมล้านนาจากคำบอกเล่า
- ชุมชนหมู่บ้านลุ่มน้ำขาน (เขียนร่วมกับพรพิไล เลิศวิชา)
- งานปริวรรตคัมภีร์โบราณล้านนา (บรรณาธิการ)
- ธรรมศาสตร์หลวง และธรรมศาสตร์ราชกือนา (ปริวรรต)
- ตำนานพญาเจือง (ปริวรรตและวิเคราะห์ ร่วมกับอานันท์ กาญจนพันธ์)
- เมืองในเขตล้านนา
- มังรายธรรมศาสตร์ (ปริวรรตและวิเคราะห์)
- ตำนานเมืองพะเยาและคร่าวซอคำเล่นเป็นแท้ (ปริวรรติ จินตนา มัธยมบุรุษ แปลเป็นภาษาไทย)
- วิเคราะห์กฎหมายล้านนาโบราณ : ประชุมกฎหมายครอบครัว (เขียนร่วมกับ ลมูล จันทร์หอม)
- ธรรมศาสตร์หลวงและคลองตัดคำ (ปริวรรต)
- สิทธิชุมชนท้องถิ่นพื้นเมืองดั้งเดิมล้านนา (เขียนร่วมกับ ชลธิรา สัตยาวัฒนา, สมบัติ บุญคำเยือง, ลมูล จันทร์หอม)
- LanNa in Chinese Historiography (เขียนร่วมกับ Foon Ming Liew-Herres และ Volker Grabowsky)
- Inter-Ethnic Relations in the Making of Mainland Southeast Asia and Southwestern China (เขียนร่วมกับ Hayashi Yukio)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๙๑, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๘๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๔๔๐, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
- "วัดร้างในเวียงเชียงใหม่" และ "รวมบทความ:ล้านนาคดี"