อรอุมา สิทธิรักษ์
อรอุมา สิทธิรักษ์ ชื่อเล่น อร (เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2529) เป็นอดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ตำแหน่งตัวตบหัวเสา เมื่อปี พ.ศ. 2557 ถึง ปีพ.ศ. 2559 เธอได้เล่นที่ลีคญี่ปุ่นกับสโมสร เจที มาร์เวลลัส [1] ปัจจุบันได้เล่นให้กับวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในสโมสรนครราชสีมา เดอะมอลล์
อรอุมา สิทธิรักษ์ | |||
---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||
ชื่อเต็ม | อรอุมา สิทธิรักษ์ | ||
ชื่อเล่น | อร | ||
เกิด | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2529 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.76 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว) | ||
น้ำหนัก | 72 กก. | ||
กระโดดตบ | 304ซม. | ||
บล็อก | 285 ซม. | ||
ข้อมูล | |||
ตำแหน่ง | ตัวตบหัวเสา | ||
สโมสรปัจจุบัน | ไดมอนด์ฟู้ด | ||
หมายเลข | 6 | ||
ทีมชาติ | |||
|
หนึ่งในผลงานที่ได้รับการกล่าวถึง คือการที่เธอใช้เท้ารับลูก (ไม่ผิดกติกาวอลเลย์บอล) ในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียนคัพ 2012 เมื่อครั้งที่พบกับทีมชาติคาซัคสถาน โดยเธอมีส่วนช่วยให้ทีมเป็นฝ่ายชนะ และได้เป็นแชมป์การแข่งในเวลาต่อมา นอกจากนี้ เธอยังได้รับรางวัลจากรายการดังกล่าวถึง 3 รางวัล ซึ่งได้แก่ ผู้เล่นยอดเยี่ยม, ทำคะแนนยอดเยี่ยม และตบยอดเยี่ยม[2]
ประวัติ
อรอุมา สิทธิรักษ์ เป็นชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาของเธอคือ พระประจวบ ปญญาโม ซึ่งบวชเป็นเจ้าอาวาสวัดควนสามัคคี อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนมารดาของอรอุมาชื่อ วรรณา สิทธิรักษ์
อรอุมากำลังศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตั้งแต่อายุ[โปรดขยายความ]ปี อรอุมามีจุดเด่นในการเล่นคือพลังการตบและการกระโดดเสิร์ฟที่หนักหน่วง สามารถตบได้ทั้งจากแดนหน้าและแดนหลัง แม้จะมีส่วนสูงเพียง 175 ซม. น้ำหนัก 72 กก. ถือว่าเป็นผู้เล่นที่ตัวใหญ่แต่มีความคล่องตัวสูง ติดทีมชาติชุดใหญ่ครั้งแรกในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ปี 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ อรอุมาถือว่าเป็นผู้เล่นมือหนึ่งของไทยและของเอเชียในตำแหน่งตบหัวเสา ในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2009 ที่ทีมวอลเลย์บอลหญิงไทยสามารถคว้าแชมป์เอเชียมาครองได้นั้น อรอุมาได้รับรางวัล ผู้เล่นตบยอดเยี่ยม และผู้เล่นทรงคุณค่าประจำการแข่งขัน
อรอุมา สิทธิรักษ์เคยเล่นอาชีพที่ สโมสรฟิลลี่ ประเทศตุรกี, สโมสรซีเลอร์ โคนิซ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์, สโมสรกวานนิล ประเทศเวียดนาม และสโมสรวอลเลย์บอลหญิงดีนาโมคาซัน ประเทศรัสเซีย
อรอุมา ทำงานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบาย ฝ่ายสังคมและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และใน พ.ศ. 2556 เธอได้เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพ ที่ซึ่งทีมของเธอได้อันดับ 5[3][4]
รางวัลที่ได้รับ
- ผู้เล่นตบยอดเยี่ยม และผู้เล่นทรงคุณค่าประจำการแข่งขัน รายการชิงแชมป์เอเชีย ปี 2009
- ผู้เล่นยอดเยี่ยมของลีกยุโรป 2010 (สวิตเซอร์แลนด์)
- ผู้ทำคะแนนสูงสุดและตบยอดเยี่ยม ในการแข่งขันสโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ที่อินโดนีเซีย
- ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 16 คนของนักกีฬาวอลเลย์บอลทั่วโลก ที่เป็นสตาร์วอลเลย์บอลโลก จาก สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
- ผู้เล่นทรงคุณค่า, ทำคะแนนยอดเยี่ยม และ ตบยอดเยี่ยม รายการวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียนคัพ 2012
- อันดับ 6 เสิร์ฟยอดเยี่ยม และอันดับ 9 ทำแต้มสูงสุด ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2013 รอบแรก[5]
- ได้รับรางวัลทำคะแนนสูงสุดในรายการ วอลเลย์บอลหญิงเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพ 2013
- พ.ศ. 2557 รางวัลนักกีฬาขวัญใจมหาชน สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 [6][7][8]
- นักกีฬายอดเยี่ยม(MVP) - วอลเลย์บอลอาเซียนกรังด์ปรีซ์ 2019
เข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนเกมส์
- พ.ศ. 2557 เหรียญทองแดง เอเชียนเกมส์ 2014 ที่ประเทศเกาหลีใต้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2558 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์[9]
- พ.ศ. 2556 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[10]
- พ.ศ. 2553 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นเหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์[11]
อ้างอิง
- ↑ JTマーヴェラス. "オヌマー・シッティラック選手の入部が決定しました!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-27. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สุดยอดสถิติ "อรอุมา สิทธิรักษ์" ยากนักวอลเลย์คนไหนในโลกจะทำได้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
- ↑ "ทางใครทางมัน! 'น้องอร' เลิกติดต่อแฟนหนุ่มรูเบน มีคนใหม่คุยแล้ว". ไทยรัฐออนไลน์. 17 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เผ็ดมาก! "อรอุมา" รับสะบั้นรักนักบาสฯ ยันไม่เสียน้ำตาให้ผู้ชาย แย้มมีใหม่แล้วจ้า". MGR Online. 17 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 'นุศรา' ซิวอันดับ 1 มือเซตยอดเยี่ยมเวิลด์กรังด์ปรีซ์ - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ สยามกีฬาอวอร์ดส์จัดยิ่งใหญ่ มิ้ว,เมย์ ซิวนักกีฬาสมัครเล่น : SMMOnline.net[ลิงก์เสีย]
- ↑ "จิระพงศ์-รัชนกซิวนักกีฬายอดเยี่ยมสยามกีฬาฯ - Sport - Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-03-06.
- ↑ "'จิระพงศ์-รัชนก' ซิวนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-03-06.
- ↑ "อรอุมา-อัจฉราพร รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-25. สืบค้นเมื่อ 2015-12-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ให้แก่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและเจ้าหน้าที่ เก็บถาวร 2013-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๒ ข ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ หน้า ๑
- ↑ "20 นักตบปลื้มรับเครื่องราชฯทำคุณประโยชน์ด้านกีฬา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อรอุมา สิทธิรักษ์
- อรอุมา สิทธิรักษ์ ที่เฟซบุ๊ก