อภิมหาอำนาจ (อังกฤษ: superpower) คือ รัฐซึ่งเป็นผู้นำในระบบระหว่างประเทศและความสามารถในการใช้อำนาจชักจูงให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและวางแผนใช้อำนาจในระดับทั่วโลกเพื่อปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ รัฐ "อภิมหาอำนาจ" ถูกพิจารณาว่ามีความเหนือกว่ารัฐ "มหาอำนาจ"[3]

แผนที่อภิมหาอำนาจในปีค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกา (น้ำเงิน), สหภาพโซเวียต (แดง), และ จักรวรรดิอังกฤษ (เขียวน้ำเงิน)
รัฐในปัจจุบันซึ่งมีการอ้างว่าเป็นหรือมีขีดความสามารถที่จะเป็นอภิมหาอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 21:
  สหรัฐอเมริกา (รัฐมหาอำนาจปัจจุบัน)[1][2]

อลิซ ไลแมน มิลเลอร์ ศาสตราจารย์แห่งกิจการความมั่นคงแห่งชาติ ณ บัณฑิตวิทยาลัยกองทัพเรือ ให้คำจำกัดความของอภิมหาอำนาจว่า "ประเทศซึ่งมีความสามารถจะรักษาอำนาจครอบงำและส่งอิทธิพลได้ในทุกพื้นที่ในโลก และในบางครั้ง ในมากกว่าหนึ่งภูมิภาคของโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง และอาจกล่าวได้ว่าบรรลุสถานะความเป็นเจ้าโลก

คำดังกล่าวเริ่มถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1944 โดยมีความหมายถึงสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และจักรวรรดิบริติช ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ เมื่อจักรวรรดิบริติชกลายสภาพเป็นเครือจักรภพแห่งชาติ และอาณานิคมทั้งหลายได้รับเอกราช สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตมักจะถูกพิจารณาว่าเป็นสองอภิมหาอำนาจ ซึ่งเผชิญหน้ากันและกันในสงครามเย็น

จนกระทั่งสงครามเย็นยุติ ส่วนใหญ่เชื่อกันว่ามีเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ยังคงเติมเต็มเงื่อนไขที่จะพิจารณาว่าเป็นอภิมหาอำนาจ[1] ถึงแม้ว่าจะยังคงมีการโต้เถียงกันถึงความเป็นเจ้าหรือการล้อมอำนาจของโลกโดยสหรัฐอเมริกาก็ตาม[4] สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป อินเดีย และรัสเซีย[5][6] ยังได้ถูกพิจารณาว่ามีขีดความสามารถที่จะก้าวเป็นสถานะอภิมหาอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 21[7] ในขณะที่หลายฝ่ายยังคงสงสัยในการคงอยู่ของอภิมหาอำนาจในยุคหลังสงครามเย็น โดยอ้างถึงตลาดโลกอันซับซ้อนในปัจจุบัน และการเป็นเอกราชที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างชาติต่าง ๆ ทำให้แนวคิดของอภิมหาอำนาจกลายเป็นอดีต และโลกในตอนนี้กำลังดำเนินในลักษณะหลายขั้ว[8][9][10][11]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Analyzing American Power in the Post-Cold War Era". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-26. สืบค้นเมื่อ 2007-02-28.
  2. Country profile: United States of America, BBC News, Accessed July 22, 2008
  3. "www.stanford.edu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-11. สืบค้นเมื่อ 2009-12-19.
  4. Unger J (2008), U.S. no longer superpower, now a besieged global power, scholars say เก็บถาวร 2008-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University of Illinois
  5. CNN 2008 interview with US Senators Carl Levin & John Cornyn (Russia a superpower)[1] เก็บถาวร 2011-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. New York Times by Ronald Steel professor of international relations August 24, 2008 (Superpower Reborn)[2]
  7. Waving Goodbye to Hegemony
  8. "The Multipolar World Vs. The Superpower". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-13. สืบค้นเมื่อ 2006-06-10.
  9. "The Multipolar Unilateralist". สืบค้นเมื่อ 2006-06-10.
  10. "No Longer the "Lone" Superpower". สืบค้นเมื่อ 2006-06-11.
  11. "The war that may end the age of superpower". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-06. สืบค้นเมื่อ 2006-06-11.