อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ เป็นอนุสรณ์สถานที่กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้โปรดให้จัดสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของเหล่าทหารจากกรมกองต่าง ๆ ที่เสียสละชีวิต เพื่อป้องกันประเทศชาติในการปราบกบฎฮ่อในครั้งนั้น ประกอบด้วย กรมทหารอาสาวิเศษ กรมแปดเหล่า กรมฝรั่งแม่นปืน กรมทหารมาลา กรมสัสดี กรมเรือต้น กรมทหารมหาดเล็กและกรมการหัวเมือง โดยตั้งอยู่ที่ด้านข้างทางทิศตะวันตก ของสถานีตำรวจภูธรเมืองหนองคาย ในปัจจุบัน
การแสดง แสง เสียง สงครามปราบฮ่อในงานฉลองอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ | |
ที่ตั้ง | หนองคาย, ประเทศไทย |
---|---|
ผู้ออกแบบ | กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (อนุสาวรีย์องค์เดิม) |
ประเภท | อนุสาวรีย์ |
ความสูง | 10.10 เมตร (อนุสาวรีย์องค์ใหม่) |
เริ่มก่อสร้าง | พ.ศ. 2492 (อนุสาวรีย์องค์ใหม่) |
อุทิศแด่ | เหล่าทหารจากกรมกองต่าง ๆ ที่เสียสละชีวิต เพื่อป้องกันประเทศชาติในการปราบกบฎฮ่อ |
ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 จังหวัดหนองคายได้รับงบประมาณทำการบูรณปฏิสังขรณ์อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ โดยได้ย้ายมาก่อสร้างองค์ใหม่ ขึ้นที่บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดหนองคาย (หลังเก่า) มีลักษณะเป็นศิลปะประยุกต์ แบบทรงสี่เหลี่ยม ก่ออิฐถือปูน มีฐานเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม กว้าง 4 เมตร สูง 10.10 เมตร ยอดทรงกรวยเหลี่ยมปลายแหลม และได้คัดลอกข้อความจากอนุสาวรีย์องค์เดิมมาไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยในวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี จังหวัดหนองคาย จะประกอบพิธีบวงสรวง ขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวจังหวัดหนองคาย และเป็นการระลึกถึงวีรกรรมอันหาญกล้าของบรรพบุรุษ ที่ต่อสู้ปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากการรุกรานของพวกฮ่อ[1]
ประวัติศาตร์
แก้อนุสาวรีย์ปราบฮ่อเป็นอนุสาวรีย์แห่งเดียวเท่านั้นในจังหวัดหนองคาย เป็นอนุสาวรีย์เทิดทูนความดีของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในการปราบฮ่อ ในปี ร.ศ. 105 (พ.ศ. 2429) เสด็จในกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม รับสั่งให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ที่เมืองหนองคายเพื่อบรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบฮ่อ เดิมตั้งอยู่ที่หลังสถานีตำรวจภูธร จังหวัดหนองคาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ทางจังหวัดหนองคายได้รับงบประมาณให้เสริมสร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อให้สง่างามสมกับเป็นอนุสาวรีย์ของผู้ที่ได้เสียสละเพื่อชาติบ้านเมืองให้เป็นศรีสง่าแก่เมืองหนองคายสืบไป จึงย้ายมาสร้างใหม่ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด มีคำจารึกที่อนุสาวรีย์ทั้ง 4 ทิศ ทั้งภาษาไทย จีน ลาวและอังกฤษ ทางจังหวัดได้กำหนดให้มีการจัดงานบวงสรวงและฉลองอนุสาวรีย์เป็นประจำทุกวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี [2]
อ้างอิง
แก้- ↑ อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ. "ประวัติสงครามปราบฮ่อ". สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-13. สืบค้นเมื่อ 2010-12-21.
- ↑ "ประวัติสงครามปราบฮ่อ". สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-13. สืบค้นเมื่อ 2022-12-20.