หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)

นักดนตรีไทย

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ศิลปินนักดนตรีไทย มีความชำนาญในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี ทั้งซอด้วง ซออู้ และซอสามสาย เป็นอดีตข้าราชการในสังกัดกรมพิณพาทย์หลวง และกรมศิลปากร

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)

เกิด23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 (ขึ้น 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง)
ตำบลบ้านหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
ถึงแก่กรรม13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 (82 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ประเทศไทย
บิดามารดา
  • พยอม (บิดา)
  • เทียบ (มารดา)
ไฟล์:Luangpirohsiangsow.jpg
หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)

ประวัติ

แก้

วัยเยาว์

แก้

หลวงไพเราะเสียงซอ มีชื่อเดิมว่า “อุ่น” เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ที่ตำบลบ้านหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ พยอม กับ เทียบ มีพี่สาวชื่อ ถมยา ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับหลวงศรีวาทิต (อ่อน ศรีโกมลวาทิน) มีครอบครัวเป็นศิลปินทางด้านแอ่วเคล้าซอ

การศึกษา

แก้

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เริ่มเรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจ เมื่ออายุ 11 ปี เมื่อครั้งบวชเป็นสามเณรที่วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีหลวงพ่อจง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อลาสิกขาบทได้เรียนต่อจากหนังสือมูลบทบรรพกิจ ภายหลังเมื่อครอบครัวย้ายมาอยู่กรุงเทพมหานคร จึงไปเรียนที่วัดปริณายก

ทางด้านดนตรี เริ่มฝึกหัดซอด้วงกับบิดา ซึ่งเป็นนักแอ่วเคล้าซอ เมื่ออายุ 9-10 ปี ต่อมาได้เรียนในขั้นสูงกับ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวง สมัยรัชกาลที่ 6 โดยเรียนทั้งซอด้วงและซออู้ และได้เรียนไวโอลินกับ อัลเบอร์โต นาซารี (Alberto Nazzari) ชาวอิตาเลียน ครูประจำกองเครื่องสายฝรั่งหลวงสมัยรัชกาลที่ 6

การงาน

แก้

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็ก สังกัดกองดนตรี ใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกรมมหรสพในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้รับราชการสังกัดกรมพิณพาทย์หลวง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนดนตรีบรรเลง"[1] แล้วเลื่อนเป็น "หลวงไพเราะเสียงซอ"[2] และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา[3]

นอกจากหน้าที่ราชการ ยังได้เป็นครูฝึกสอนให้วงเครื่องสายของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการหลายวง ได้แก่ [4]

ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เป็นพระอาจารย์ถวายการสอนซอแด่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ในการทรงเล่นเครื่องสายส่วนพระองค์[5] นอกจากนี้ยังได้ถวายการสอนซอแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล อีกด้วย[6]

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้โอนย้ายมารับราชการที่กรมศิลปากร ขณะเดียวกันได้รับเชิญเป็นครูสอนเครื่องสายที่โรงเรียนนาฏศิลป และเป็นอาจารย์พิเศษที่ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[7]

มรณกรรม

แก้

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) มีโรคประจำตัวคือหืด (Asthma) ภายหลังตรวจพบว่าเป็นมะเร็งที่คอและปาก เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชหลายครั้งจนอาการหายดี แต่ครั้งหลังสุดป่วยเป็นไข้หวัด มีอาการอ่อนเพลียและปอดบวม ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุได้ 84 ปี[4]

การถ่ายทอดความรู้

แก้

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ได้ถ่ายความรู้ให้ศิษย์หลายคน แต่เฉพาะที่มีชื่อเสียงปรากฏในวงการดนตรีไทย ได้แก่

ชีวิตส่วนตัว

แก้

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) สมรสครั้งแรกกับ นวม มัธยมจันทร์ มีบุตรธิดา 8 คน คือ

  • อนันต์
  • อนุ
  • อนงค์
  • เอนก
  • ดวงเนตร
  • อนนต์
  • อณัต
  • อำนาย

ต่อมาสมรสกับ หม่อมเจ้ากริณานฤมล สุริยง มีบุตรธิดา 5 คน คือ

  • ผกากน
  • พิมลชัย
  • พิไลพรรณ
  • จันทราภรณ์
  • สุริยพันธ์

[4]

บรรดาศักดิ์และยศ

แก้
  • พ.ศ. 2448 ถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร สังกัดกองดนตรี ยศชั้น 2 ตรี ชั้น 3
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ปรับตำแหน่งตามทำเนียบมหาดเล็กประจำ เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เถลิงถวัลยราชสมบัติ
  • พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานยศเป็น มหาดเล็กวิเศษ
  • 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 ได้รับพระราชทานยศเป็น รองหุ้มแพร และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนดนตรีบรรเลง ถือศักดินา 300[1]
  • 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงไพเราะเสียงซอ ถือศักดินา 400[2]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานยศเป็น หุ้มแพร[18]
  • 6 ตุลาคม 2462 – เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม[19]
  • 27 กุมภาพันธ์ 2466 – นายหมวดโท[20]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 พระราชทานบรรดาศักดิ์.  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม 32 ตอน ง (2458, 30 พฤษภาคม): หน้าที่ 441. [ออนไลน์] แหล่งที่มาจาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/441.PDF [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565]
  2. 2.0 2.1 พระราชทานบรรดาศักดิ์.  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม 34 ตอน ง (2460, 16 ธันวาคม): หน้าที่ 2,587-2,592.  [ออนไลน์] แหล่งที่มาจาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/2587.PDF [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์2565]
  3. พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา.  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม 33 ตอน 0 ง (2459, 29 ตุลาคม): หน้าที่ 1,931.  [ออนไลน์] แหล่งที่มาจาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/1931.PDF เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์2565]
  4. 4.0 4.1 4.2 ธนิต อยู่โพธิ์. 2520. ประวัติเครื่องดนตรีไทย และตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย. กรุงเทพมหานคร: จันวาณิชย์. [ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) 19 กุมภาพันธ์ 2520]
  5. เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ [บรรณาธิการ]. 2555. ดนตรี-นาฏศิลป์แผ่นดินพระปกเกล้า. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบวันพระบรมราชสมภพ 119 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และครบรอบ 34 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 27 มิถุนายน 2555 ]
  6. เฉลิมเขตรมงคล, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. 2500. บทละครเรื่อง ปันหยีมิสาหรัง และรุ่งฟ้าดอยสิงห์. กรุงเทพมหานคร: อักษรประเสริฐ. [ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล 26 มิถุนายน 2500]
  7. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. 2513. หลวงไพเราะเสียงซอ. วิทยาสารปริทัศน์ 9 (5 พฤษภาคม 2513)
  8. อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), พระยา.  2491.  ศิลปกับมนุษยชาติและร้องรำทำเพลง.  (ม.ป.ท.).  [ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ ไปล่ วรรณเขจร 2 ตุลาคม 2491]
  9. เจริญใจ สุนทรวาทิน.  2530.  ข้าพเจ้าภูมิใจที่เกิดเป็นนักดนตรีไทย.  กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้ว.  [เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 6 รอบ เจริญใจ สุนทรวาทิน 16 กันยายน 2530]
  10. ไพศาล อินทวงศ์ และคนอื่น ๆ.  25413.  ประเวช กุมุท สุดวิเศษ ประเวช กุมุท สุดจักหา.  กรุงเทพมหานคร: บริษัทเลิฟแอนด์ลิพเพรส จำกัด.  [ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ประเวช กุมุท ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) 22 มิถุนายน 2543]
  11. 72 ฝนคนดนตรี ศิลปี ตราโมท. 2550. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).
  12. ไพศาล ซอลออเอกละองค์สลัก.  2557.  (ม.ป.ท.).  [อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ไพศาล อินทวงศ์ 22 มิถุนายนพ.ศ. 2557]
  13. ชนัสถ์นันท์ ประกายสันติสุข.  2552.  อาศรมศึกษา : รองศาสตราจารย์บุญเสริม ภู่สาลี. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  14. ผานิต บุญมาก.  2560.  สี่สายไวโอลิน : ชีวิต-ผลงาน โกวิทย์ ขันธศิริ.  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  15. พูนพิศ อมาตยกุล และคนอื่น ๆ. 2550.  จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล : งานวิจัยเอกสารและลำดับเหตุการณ์ พุทธศักราช 2411-2549. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). [จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ครองราชสมบัติครบ 60 ปี]
  16. วราภรณ์ เชิดชู.  2557.  อาศรมศึกษาอาจารย์เชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  17. ชาคริต เฉลิมสุข.  2551.  อาศรมศึกษาอาจารย์จีรพล เพชรสม. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ, สาขาวิชาดุริยางค์ไทยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  18. พระราชทานยศ
  19. "รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 1959. 12 ตุลาคม 1919.
  20. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 4406. 16 มีนาคม 1923. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2024.
  21. "พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-06-25.