หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี

ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี (เกษมศรี) (19 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สถาปนิกดีเด่น ผู้บุกเบิกงานวิจัยสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้ร่วมก่อตั้งสาขาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


แน่งน้อย ศักดิ์ศรี

เกิด19 ธันวาคม พ.ศ. 2476
เสียชีวิต8 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (85 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพอาจารย์ สถาปนิก
มีชื่อเสียงจากนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สถาปนิก
คู่สมรสนายสันทัด ศักดิ์ศรี
บิดามารดาหม่อมเจ้าสมภพ เกษมศรี
หม่อมเยื้อน เกษมศรี ณ อยุธยา

หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรีได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2499 และได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี พ.ศ. 2504 ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี เข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2500 จนเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2537 แต่ยังคงเป็นอาจารย์สอนแม้จะอายุล่วง 80 ปี หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรีถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สิริอายุได้ 85 ปี[1]

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 17.15 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว[2]

ประวัติ

แก้

หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2476 เป็นธิดาของพันโทหม่อมเจ้าสมภพ เกษมศรี และหม่อมเยื้อน เกษมศรี ณ อยุธยา มีพี่ชายคือหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)

การศึกษาและผลงาน

แก้

ขณะศึกษาอยู่ที่คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เคยได้รับเลือกเป็นนายกชุมนุมนิสิตหญิงคณะ ทำงานร่วมกับนายกชุมนุมนิสิตหญิงของมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี เป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่ทำให้การศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อรูปร่างมั่นคงตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ และได้ปลูกฝังให้ลูกศิษย์ตระหนักถึงความสำคัญและการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีผลงานการค้นคว้าวิจัยเป็นที่ปรากฏยกย่องในวงวิชาการมากมาย เช่น การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาด้วยข้อมูลเอกสารเบื้องต้น เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ (ร.3ร.5) แกนนำในการขยายตัวของกรุงเทพมหานครในอดีต วิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2325 – 2453 เป็นต้น

ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี ได้รับการยกย่องให้เป็นสถาปนิกดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2537 โดย สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2538 เป็นปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรมไทยประจำพุทธศักราช 2538 โดยคณะกรรมการอำนวยการวันมรดกไทย และได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2541

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สิ้นแล้ว! ปูชนียบุคคลแห่งวงการสถาปัตยกรรมและสถาปัตกรรมไทย". 8 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. ข่าวในพระราชสำนัก กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๓๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕