หน้าลายพรม (อังกฤษ: Carpet page) เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของหนังสือวิจิตรของศิลปะเกาะ ซึ่งเป็นหน้าหนังสือที่ส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายตกแต่งที่เป็นลายเรขาคณิต ที่อาจจะรวมทั้งรูปสัตว์ที่วาดซ้ำกันเป็นลาย งานลักษณะนี้มักจะใช้เป็นหน้าเริ่มต้นของพระวรสารแต่ละตอนของพระวรสารสี่ฉบับ คำว่า “หน้าลายพรม” หมายถึงหน้าหนังสือวิจิตรของศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์ และ ศาสนาอิสลามที่ไม่ข้อคความ และจะมีก็แต่ลวดลายตกแต่งเท่านั้น[1][2][3] หน้าลายพรมแตกต่างจากหน้าที่อุทิศให้กับหน้าที่มีอักษรตัวต้นประดิษฐ์ แม้ว่าการตกแต่งโดยทั่วไปแล้วจะคล้ายคลึงกันก็ตาม[4]

หน้าลายพรม
Carpet page

“หน้าลายพรม” จาก “พระวรสารลินดิสฟาร์น

หน้าลายพรมเป็นหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการตกแต่งด้วยสีสันอันสดใส, เส้นที่มีพลัง และลายสอดประสานอันซับซ้อน ลักษณะของการตกแต่งมักจะมีความสมมาตร หรือเกือบจะมีความสมมาตร ทั้งตามแนวนอนและตามแนวตั้ง นักประวัติศาสตร์ศิลป์บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นงานศิลปะที่มีต้นรากมาจากการตกแต่งหน้าหนังสือของชาวค็อพท์[5] และที่แน่ที่สุดคือเป็นงานที่ยืมมาจากงานโลหะร่วมสมัย และพรมโอเรียนทัลหรือผ้าแบบอื่นๆ เองก็อาจจะมีอิทธิพลต่อหน้าลายพรมดังกล่าวด้วย ตราและหนังสือพระวรสารสโตนีเฮิร์สท์ก็เป็นสัญลักษณ์ของการเขียนหน้าลายพรมอย่างง่ายๆ[6] และงานหน้าปกโลหะอีกสองสามชิ้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่จากสมัยเดียวกันเช่น “พระวรสารลินเดา” ก็เป็นงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน[7] ที่มาอีกแห่งหนึ่งคือลวดลายของพื้นโมเสกของโรมันที่พบในบริเตนในสมัยหลังโรมัน[8]พระวรสารไคเรนซิสภาษาฮิบรูจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็มีหน้าหนังสือที่คล้ายกันกับหน้าลายพรม

งานชิ้นแรกที่สุดที่มีหน้าลายพรมมาจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 “หนังสือบอบบิโอ โอโรซิอัส” และมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการตกแต่งของปลายยุคโบราณมากกว่า งานหน้าลายพรมที่สำคัญๆก็ได้แก่ “พระวรสารเคลล์ส”, “พระวรสารลินดิสฟาร์น”, “พระวรสารเดอร์โรว์” และหนังสือวิจิตรฉบับอื่นๆ[9]

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. The University of North Carolina at Chapel Hill, Elizabeth Howie: DUBLIN, TRINITY COLLEGE MS A.4.5 (57) — GOSPEL BOOK (BOOK OF DURROW)[1] เก็บถาวร 2005-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. British Library, Mamluk Qur'an
  3. "West Semitic Research Project, The Leningrad Codex Carpet Page". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2010-05-28.
  4. Calkins, 36-37
  5. Calkins, 53
  6. Calkins, 53
  7. Calkins, 57-60
  8. Calkins, 53
  9. Calkins, 36-37, 46-62
  • Calkins, Robert G. Illuminated Books of the Middle Ages. Ithaca, New York: Cornell University Press, 1983.
  • Nordenfalk, Carl. Celtic and Anglo-Saxon Painting: Book Illumination in the British Isles. 600-800. New York: George Braziller Publishing. 1977.
  • Pacht, Otto. Book Illumination in the Middle Ages. England: Harvey Miller Publishers. 1984.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หน้าลายพรม

  • Alexander, J.J.G. A Survey of Manuscripts Illuminated in the British Isles: Volume One: Insular Manuscripts from the 6th to the 9th Century. London England: Harvey Miller. 1978.
  • Brown, Michelle P. Understanding Illuminated Manuscripts: A Guide to Technical Terms. Malibu, California: The J. Paul Getty Museum. 1994.
  • Laing, Lloyd and Jennifer. Art of the Celts: From 700 BC to the Celtic Revival. Singapore: Thames and Hudson. 1992.
  • Megaw, Ruth and Vincent. Celtic Art: From its Beginnings to the Book of Kells. New York: Thames and Hudson. 2001.