หน้ากากเอ็น 95
หน้ากากเอ็น 95 (อังกฤษ: N95 mask, N95 respirator) เป็นหน้ากาก (respirator) กรองละอองธุลี/อนุภาคที่ผ่านมาตรฐานเอ็น 95 (N95) ของสถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งชาติสหรัฐ (National Institute for Occupational Safety and Health ตัวย่อ NIOSH) ซึ่งหมายความว่า มันสามารถกรองละอองธุลีในอากาศอย่างน้อยร้อยละ 95 มาตรฐานนี้ไม่ได้บังคับให้หน้ากากทนน้ำมันได้ มาตรฐานอีกอย่างคือพี 95 (P95) มีข้อระบุนั้นเพิ่มเติม หน้ากากเอ็น 95 เป็นหน้ากากกรองละอองธุลีซึ่งสามัญที่สุดอย่างหนึ่ง[1] มันเป็นตัวอย่างของหน้ากากกรองด้วยแรงกลซึ่งป้องกันฝุ่นละออง แต่ไม่ป้องกันแก๊สหรือไอ[2]
หน้ากากเอ็น 95 ทำงานได้เทียบเท่ากับหน้ากากที่มีมาตรฐาน/การควบคุมของประเทศอื่น ๆ เช่น หน้ากาก FFP2 ของสหภาพยุโรปและหน้ากาก KN95 ของประเทศจีน แต่ก็ใช้เกณฑ์เพื่อรับรองประสิทธิภาพที่ต่างกัน เช่น ประสิทธิภาพของตัวกรอง สารที่ใช้ตรวจการกรอง อัตราการไหลผ่าน และความดันลด (pressure drop) ที่อนุญาต[3][4] หน้ากากเอ็น 95 บังคับให้ใช้ใยพอลิเมอร์สังเคราะห์ทำเป็นตาข่ายละเอียด โดยเฉพาะก็คือเป็นผ้าพอลิโพรพิลีนแบบไม่ได้ทอ/สังเคราะห์ (nonwoven polypropylene fabric)[5] ซึ่งผลิตโดยกระบวนการ melt blowing (การเป่าสารละลาย)[A] แล้วใช้เป็นชั้นกรองด้านในเพื่อกรองฝุ่นละอองอันตรายออก[6]
การใช้
แก้การทดสอบว่าหน้ากากพอดีกับใบหน้าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งเมื่อใช้หน้ากากที่ผนึกแน่น สำนักงานสุขภาพและความปลอดภัยทางอาชีพสหรัฐ (Occupational Safety and Health Administration ตัวย่อ ตัวย่อ OSHA) บังคับให้มีการทดสอบก่อนใช้เพื่อระบุรุ่น, สไตล์ และขนาดที่พอดีกับคนใส่แต่ละคน บวกกับการทดสอบปีต่อปีเพื่อให้แน่ใจว่าหน้ากากปิดแน่นพอดี อนึ่ง สำหรับหน้ากากที่ใส่ปิดแน่นชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเอ็น 95 ผู้ใช้ต้องเช็คว่าหน้ากากปิดสนิทแต่ละครั้งที่ใส่หรือไม่ ขนใบหน้าที่บริเวณส่วนผนึกของหน้ากากจะทำให้มันรั่ว[7] แม้คนใส่แว่นหน้ากากก็อาจจะไม่แนบใบหน้า[8] อาจจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจก่อนใช้เพราะทำให้หายใจได้ยากขึ้น โรคประจำตัวบางอย่างที่อาจกันไม่ให้ใช้หน้ากากรวมทั้งปัญหาหัวใจ โรคปอด และปัญหาทางจิตใจรวมทั้งโรคกลัวที่ปิดทึบ (claustrophobia)[9] สหรัฐบังคับให้แพทย์ตรวจครั้งหนึ่งก่อนการทดสอบว่ารุ่นไหนพอดีเป็นครั้งแรก แต่ก็อาจต้องซ้ำถ้ามีอาการไม่ดี[10]
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใส่หน้ากากที่ไม่ใช้แรงดัน (negative-pressure) เพราะเหตุผลทางการแพทย์ หรือผู้ไม่สามารถผ่านการทดสอบว่าพอดีเพราะขนใบหน้าหรือเหตุผลอื่น ๆ ก็อาจใส่หน้ากากทำอากาศให้บริสุทธิ์โดยแรงยนต์ (powered air-purifying respirator ตัวย่อ PAPR) ได้[11][12]
ในอุตสาหกรรม
แก้หน้ากากเอ็น 95 ดั้งเดิมออกแบบให้ใช้ทางอุตสาหกรรมเช่น การทำเหมืองแร่ การก่อสร้าง และการทาสี[13] แต่ก็พบว่ามีประสิทธิผลต่ออนุภาคนาโนที่มนุษย์สร้างขึ้น[14]: 12–14 [15][16]
ตามวิธีการเลือกหน้ากากของ NIOSH หน้ากากที่มีตัวกรองแบบ N, R และ P แนะนำให้ใช้กับความเข้มข้นของละอองธุลีอันตรายที่มากกว่าขีดจำกัดที่องค์กรกำหนด แต่ยังน้อยกว่าระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพโดยพลันและน้อยกว่าที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ โดยหน้ากากยังต้องมีค่าปัจจัยการป้องกัน (respirator assigned protection factors ตัวย่อ RAPF) ที่เพียงพออีกด้วย[17] ส่วนหน้ากากแบบเอ็น รวมทั้งหน้ากากเอ็น 95 จะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อไร้ละอองธุลีที่เป็นสารหล่อลื่น เป็นน้ำยาสำหรับตัด (cutting fluid) หรือเป็นกลีเซอรีน (glycerine) สำหรับสารที่เป็นอันตรายต่อตา แนะนำให้ใช้หน้ากากที่ปิดหน้าทั้งหมด หรือเป็นหมวก หรือหมวกคลุมศีรษะ หน้ากากเอ็น 95 ไม่มีประสิทธิผลพอให้ใช้ในการดับเพลิง หรือในอากาศที่ออกซิเจนไม่พอ หรือในอากาศที่ไม่รู้ส่วนประกอบ ในกรณีเยี่ยงนี้ ก็แนะนำเครื่องช่วยหายใจที่พร้อมมูลในตัว (คือมีถังอากาศ) แทน หน้ากากเอ็น 95 ยังไม่มีประสิทธิผลต่อแก๊สหรือไออันตราย จึงแนะนำให้ใช้หน้ากากที่มีกล่องกรอง (cartridge) เปลี่ยนได้[17]
ในทางอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องห่วงโรคติดต่อ ผู้ใช้สามารถใช้หน้ากากไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะเสีย เลอะ หรือทำให้หายใจได้ยากขึ้นอย่างสังเกตได้ ยกเว้นผู้ผลิตระบุระยะเวลาการใช้ แต่ในห้องปฏิบัติการที่มีระดับความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 2 หรือยิ่งกว่านั้น ก็แนะนำให้ทิ้งเป็นขยะอันตรายหลังจากใช้เพียงครั้งเดียว[18]
หน้ากากเอ็น 95 สำหรับอุตสาหกรรมบางชนิดมีลิ้นระบายลมหายใจออกซึ่งช่วยให้ใส่สบายขึ้น เพราะหายใจออกง่ายขึ้น ช่วยลดการรั่วเมื่อหายใจออกหรือทำให้แว่นมัว แต่หน้ากากเช่นนี้ไม่เหมาะสำหรับคุมโรค เช่น โควิด จากคนที่ใส่โดยไม่มีอาการแต่อาจติดโรค[19]
ในสถานพยาบาล
แก้หน้ากากที่ใช้ในสถานพยาบาลปกติจะมีรูปแบบโดยเฉพาะที่เรียกว่า หน้ากากอนามัย (surgical mask) ซึ่งในสหรัฐ จะได้อนุมัติจากทั้ง NIOSH ว่าเป็น respirator และองค์กรอาหารและยาว่าเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่คล้ายกับหน้ากากอนามัยธรรมดา[20] ซึ่งอาจขึ้นป้ายว่าเป็น "Surgical N95", "medical respirator" หรือ "healthcare respirator"[21][22] กฎหมายโควิดสหรัฐฉบับหนึ่ง (Families First Coronavirus Response Act) ได้เปลี่ยนกฎการรับผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องและกฎการรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถใช้หน้ากากอุตสาหกรรมในสถานพยาบาล เพราะขาดแคลนหน้ากากในระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19[23]
ในสหรัฐ สำนักงานสุขภาพและความปลอดภัยทางอาชีพสหรัฐ (OSHA) บังคับบุคลากรทางการแพทย์ผู้ต้องช่วยเหลือคนไข้ที่สงสัยหรือยืนยันว่าติดโรคโควิดให้ป้องกันทางลมหายใจ เช่นใช้หน้ากากเอ็น 95[7] ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) แนะนำให้ใช้หน้ากากที่ได้การรับรองอย่างน้อยระดับเอ็น 95 เพื่อป้องกันผู้ใส่ไม่ให้หายใจอนุภาคติดเชื้อรวมทั้ง แบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis (วัณโรค) ไข้หวัดนก กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดทั่ว และอีโบลา[24]
ไม่เหมือนกับหน้ากากที่เป็น respirator หน้ากากอนามัยธรรมดา (surgical mask) ได้ออกแบบเพื่อป้องกันหยดสารคัดหลั่ง และไม่มีผนึกแน่นที่อากาศเข้าไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถป้องกันผู้ใส่จากอนุภาคในอากาศเช่นไวรัส[7]
การใช้ช่วงขาดแคลน
แก้ในวิกฤติการณ์ที่ขาดแคลนหน้ากากเอ็น 95 เช่นการระบาดทั่วของโควิด-19 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) ได้แนะนำวิธีใช้หน้ากากให้ได้ดีที่สุดในสถานพยาบาล[4] คือหน้ากากสามารถใช้เกินอายุคุณภาพสินค้าที่ผู้ผลิตกำหนด แต่ส่วนต่าง ๆ เช่นสายรัดและแถบคาดจมูกก็อาจเสื่อม การเช็คของผู้ใส่ว่าหน้ากากปิดสนิทหรือไม่จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก[4][25] หน้ากากเอ็น 95 สามารถใช้ใหม่ได้เป็นจำนวนจำกัดหลังจากถอดแล้ว ตราบเท่าที่ไม่ได้ทำหัตถกรรมที่คนไข้สร้างละอองลอย และไม่เปื้อนสารคัดหลั่งของคนไข้ แต่นี่ก็ยังเพิ่มความเสี่ยงการเปื้อนเชื้อโรคที่ผิววัตถุต่าง ๆ ผู้ผลิตอาจแนะนำให้จำกัดจำนวนใช้ ถ้าผู้ผลิตไม่ได้ให้แนวปฏิบัติ ข้อมูลเบื้องต้นแสดงว่าให้จำกัดใช้หน้ากากหนึ่ง ๆ เพียง 5 ครั้ง[4][26] ยังสามารถใช้หน้ากากที่ประเทศอื่น ๆ อนุมัติถ้าคล้ายกับหน้ากากเอ็น 95 รวมทั้งหน้ากาก FFP2 และ FFP3 ซึ่งควบคุมโดยสหภาพยุโรป[4]
ตาม NIOSH หน้ากากยังสามารถใช้ในวิกฤติการณ์ถ้าการทดสอบว่าหน้ากากพอดีกับหน้าตามปกติไม่สามารถทำได้ เพราะหน้ากากเอ็น 95 ก็ยังดีกว่าหน้ากากอนามัยธรรมดาหรือว่าไม่ใส่หน้ากากเลย ในกรณีเช่นนี้ แนวปฏิบัติที่ดีสุดเพื่อให้ได้การผนึกกับใบหน้าที่ดีรวมการทดลองใส่หน้ากากรุ่นและขนาดต่าง ๆ ใช้กระจก หรือขอให้เพื่อนตรวจดูว่าหน้ากากอยู่ติดกับใบหน้า และตรวจดูการผนึกใบหน้าหลาย ๆ ครั้ง[7] เพราะอุปกรณ์ป้องกันตัว (รวมเสื้อผ้า หมวก แว่นตาเป็นต้น) มีขายในตลาดโลกไม่พอในช่วงโรคระบาด องค์การอนามัยโลกจนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2020 ได้แนะนำให้ลดการใช้อุปกรณ์ด้วยโทรเวช[B] ด้วยเครื่องกั้นเช่นกระจกใส อนุญาตให้บุคคลที่ดูแลคนไข้โดยตรงเท่านั้นเข้าห้องคนไข้ที่ติดโควิด ใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในหัตถกรรมโดยเฉพาะ ๆ คงใช้หน้ากากเดียวกันโดยไม่ถอดมันเมื่อดูแลคนไข้หลายคนที่ได้การวินิจฉัยเดียวกัน ตรวจติดตามและประสานโซ่อุปาทานของอุปกรณ์ป้องกันตัว และสนับสนุนคนที่ไม่มีอาการให้ไม่ใช้หน้ากาก[27] ควรเข้าใจว่าตามอัปเดตคำแนะนำจนถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2020 CDC และองค์การอนามัยโลกแนะนำให้บุคคลใส่หน้ากากซึ่งไม่จำเป็นต้องผลิตเพื่อการแพทย์ในที่สาธารณะซึ่งมีโอกาสติดต่อโรคสูงขึ้นเมื่อการเว้นระยะห่างทางสังคมทำได้ยาก[28][29][30] ประเทศและเขตปกครองมากมายสนับสนุนหรือบังคับให้ใช้หน้ากากซึ่งอาจเป็นหน้ากากผ้าในที่สาธารณะเพื่อจำกัดการแพร่ไวรัส[31][32]
ถ้าไม่สามารถให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนใส่หน้ากากเอ็น 95 ได้เมื่อดูแลคนไข้โควิด CDC แนะนำให้จัดลำดับให้หน้ากากกับผู้ทำหัตถกรรมกับคนไข้ที่มีอาการซึ่งสร้างละอองลอย และกับผู้ที่อยู่ภายในระยะสามฟุตของผู้มีอาการและไม่ใส่หน้ากากก่อน ในสถานการณ์เหล่านี้ การให้คนไข้ผู้มีอาการใส่หน้ากากอนามัยธรรมดาและการอยู่ห่าง ๆ คนไข้จึงสำคัญเป็นพิเศษเพื่อลดการติดต่อโรค เมื่อไม่เหลือหน้ากากแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้เสี่ยงป่วยเป็นโรครุนแรงสูงควรยกเว้นไม่ให้ดูแลคนไข้ และเจ้าหน้าที่ผู้ได้ฟื้นสภาพจากโรคโควิดแล้วควรเลือกให้ดูแลคนไข้ พัดลมเคลื่อนที่ซึ่งมีตัวกรองแบบ HEPA (high efficiency particulate air) อาจใช้เพื่อเพิ่มการถ่ายเทในห้องแยกคนไข้เมื่อใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแทนหน้ากากเอ็น 95 ถ้าไม่มีทั้งหน้ากากเอ็น 95 หรือหน้ากากอนามัยธรรมดา โดยเป็นทางเลือกสุดท้าย บุคลากรทางการแพทย์อาจใช้หน้ากากที่ไม่ได้ประเมินหรืออนุมัติโดย NIOSH หรือใช้หน้ากากทำเอง เช่น หน้ากากผ้า แต่ควรระวังให้ดีเมื่อใช้ทางเลือกนี้[4]
การขจัดสิ่งปนเปื้อน
แก้หน้าการกรองอากาศที่ทิ้งได้เช่น หน้ากากเอ็น 95 ไม่ได้อนุมัติให้ขจัดสิ่งปนเปื้อนตามธรรมดาเพื่อใช้สำหรับการดูแลรักษามาตรฐาน แต่การขจัดสิ่งปนเปื้อนและการนำไปใช้ใหม่อาจจำเป็นโดยเป็นกลยุทธ์ให้มีใช้ในวิกฤติการณ์[33]
มีงานศึกษาที่ประเมินวิธีการทำความสะอาดหน้ากากเมื่อขาดแคลนในภาวะฉุกเฉิน แม้นี่จะทำให้เป็นห่วงว่าอาจลดสมรรถนะของตัวกรอง หรือทำให้หน้ากากสวมได้ไม่สนิทเพราะเปลี่ยนรูปร่าง[34][35][36] นักวิจัยของมหาวิทยาลัยดุ๊กได้ตีพิมพ์วิธีการทำความสะอาดหน้ากากเอ็น 95 ซึ่งไม่ทำให้เสียหายโดยใช้ไอไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เพื่อให้สามารถใช้ใหม่ได้แม้ก็ยังทำได้เป็นจำนวนจำกัด[37][38][39] องค์กรวิจัยไม่หวังผลกำไรสหรัฐคือ Battelle Memorial Institute ได้รับการอนุญาตเพื่อใช้ฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยาสหรัฐสำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ฆ่าเชื้อที่หน้ากากเอ็น 95[40][41]
สำนักงานสุขภาพและความปลอดภัยทางอาชีพสหรัฐ (OSHA) ปัจจุบันไม่มีมาตรฐานฆ่าเชื้อหน้ากากเอ็น 95[35] แต่สถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งชาติสหรัฐ (NIOSH) ก็แนะนำว่า เมื่อเกิดขาดแคลน หน้ากากเอ็น 95 สามารถใช้ใหม่ได้ถึง 5 ครั้งโดยไม่ต้องทำความสะอาด ตราบเท่าที่ไม่ได้ทำหัตถกรรมที่เกิดละอองลอย และหน้ากากไม่ได้เปื้อนสารคัดหลั่งจากคนไข้ การเปื้อนอาจลดได้โดยใส่หน้ากากปิดทั้งหน้าซึ่งทำความสะอาดได้เหนือหน้ากากเอ็น 95 รวมทั้งใช้ถุงมือสะอาดเมื่อใส่และเช็คการปิดผนึกของหน้ากากเอ็น 95 ที่ใช้แล้ว แล้วทิ้งถุงมือทันทีหลังจากนั้น[26] ตาม CDC การฉายรังสีอัลตราไวโอเลต หรือการใช้ไอไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ และการใช้ไอน้ำร้อน ดูดีที่สุดเพื่อใช้เป็นวิธีการขจัดสิ่งปนเปื้อนของหน้ากากเอ็น 95 และหน้ากากกรองอากาศประเภทอื่น ๆ[33]
เปรียบเทียบกับหน้ากากอนามัยธรรมดา
แก้หน้ากากอนามัยธรรมดาเป็นอุปกรณ์ที่ใส่หลวม ๆ และทิ้งได้ เป็นเครื่องกั้นปากและจมูกของคนใส่จากสิ่งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมใกล้ ๆ ตัว ถ้าใส่อย่างถูกต้อง หน้ากากอนามัยจะช่วยกั้นหยดน้ำ การกระเด็น และฝอยน้ำที่อาจมีไวรัสหรือแบคทีเรีย หน้ากากอนามัยยังอาจช่วยลดไม่ให้ผู้อื่นมาสัมผัสกับน้ำลายและสารคัดหลั่งของคนใส่[42]
หน้ากากอนามัยธรรมดาไม่ได้ออกแบบให้กรองหรือกั้นอนุภาคในอากาศที่เล็กมากที่อาจติดต่อผ่านการไอ การจาม หรือหัตถกรรมทางการแพทย์บางอย่าง ไม่ได้ช่วยป้องกันอย่างสมบูรณ์จากเชื้อโรคหรือสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมเพราะผิวหน้ากากไม่ได้ปิดผนึกกับผิวใบหน้า[42] ประสิทสิทธิภาพตัวกรองของหน้ากากอนามัยธรรมดาอยู่ในพิสัยระหว่างน้อยกว่าอัตราร้อยละ 10 จนถึงเกือบร้อยละ 90 ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเมื่อวัดโดยใช้พารามิเตอร์ของ NIOSH แต่งานศึกษาหนึ่งก็พบว่า แม้จะได้หน้ากากอนามัยที่มีตัวกรองดี คนใส่อัตราร้อยละ 80-100 ก็ไม่ผ่านการทดสอบเชิงคุณภาพของ OSHA ว่าหน้ากากพอดีกับใบหน้า และการทดสอบเชิงปริมาณพบว่าหน้ากากรั่วในอัตราร้อยละ 12-25[43]
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยในหัตถกรรมที่ผู้ใส่อาจสร้างละอองลอยแล้วทำให้คนไข้ติดโรค[44]
ประวัติ
แก้หน้ากากเอ็น 95 มีบรรพบุรุษตามประวัติหลายรุ่น รุ่นหนึ่งออกแบบเป็นหน้ากากผ้าโดย นพ. วูเหลียนเต๋ (จีน: 伍連德) ผู้ทำงานให้กับราชสำนักจีนในฤดูใบไม้ตกปี 1910 ระหว่างการระบาดของกาฬโรคแมนชู เป็นหน้ากากแรกที่ป้องกันผู้ใช้จากแบคทีเรียโดยมีหลักฐานเชิงประสบการณ์ และเป็นแรงดลใจสร้างหน้ากากที่ใช้ในการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ ค.ศ. 1918[45] อีกรุ่นหนึ่งเป็นหน้ากากกันแก๊สพิษซึ่งพัฒนาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งต่อมาผู้ทำเหมืองแร่ปรับไปใช้ เป็นหน้ากากที่ใช้แล้วใช้อีก แต่ก็เทอะทะไม่สบายเพราะมีตัวกรองที่เป็นไฟเบอร์กลาสส์และโครงสร้างที่เป็นยางหนา[13][45] ในคริสต์ทศวรรษ 1970 สำนักงานเหมืองแร่สหรัฐ (United States Bureau of Mines) และ NIOSH ได้พัฒนามาตรฐานของหน้ากากแบบใช้ครั้งเดียว บริษัท 3M ก็เป็นผู้ผลิตรายแรกแล้วได้รับอนุมัติในปี 1972[45] 3M ได้ใช้กระบวนการ melt blowing[A] ซึ่งตนได้พัฒนาขึ้นเมื่อหลายทศวรรษก่อนแล้วใช้มาก่อนในผลิตภัณฑ์เช่นโบว์ริบบิ้นและคัพของยกทรง[46]
แม้ดั้งเดิมจะออกแบบให้ใช้ทางอุตสาหกรรม หน้ากากเอ็น 95 ได้กลายมาเป็นหน้ากากมาตรฐานของบุคลากรทางแพทย์หลังจากศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซีได้ประดิษฐ์เทคโนโลยีกันไวรัสขึ้น[47][48] ซึ่งได้สิทธิบัตรในปี 1995[49] ซึ่งเดิมพัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคที่ดื้อยา[13][45] หลังจากเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 ศ. ผู้นี้ได้ออกจากเกษียณเพื่อช่วยบรรเทาการขาดแคลนโดยวิจัยวิธีการขจัดสิ่งปนเปื้อนออกจากหน้ากาก[47] บริษัทอเมริกันจำนวนมากได้หยุดผลิตหน้ากากเอ็น 95 ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2000 เหตุค่าใช้จ่ายในการถูกฟ้องคดีและการแข่งขันของบริษัทต่างชาติ[50]
การระบาดทั่วของโควิด-19
แก้วันที่ 24 มกราคม 2020 ไต้หวันประกาศห้ามอย่างชั่วคราวไม่ให้ส่งออกหน้ากากที่ผลิต[51] หน้ากากได้กลายเป็นสิ่งขาดแคลนและมีความต้องการสูงในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้โก่งราคาและตุนหน้ากาก จนเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเข้ายึดในบางที่[52][53][54][55] การผลิตหน้ากากเอ็น 95 จำกัดเพราะการขาดแคลนผ้าพอลิโพรพิลีนแบบไม่ได้ทอ (nonwoven polypropylene fabric) ซึ่งใช้เป็นตัวกรองหลัก และการหยุดส่งออกของประเทศจีน[5][56] ประเทศจีนครองตลาดการผลิตหน้ากากทั่วโลกในอัตราร้อยละ 50 และเพราะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาดเอง จึงได้จำกัดหน้ากากที่ผลิตได้ทั้งหมดให้ใช้ภายในประเทศ และอนุญาตการส่งออกผ่านการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้น[5]
ในประเทศแคนาดา บริษัทเมืองควิเบกคือเอเอ็มดีเมดิคอมได้เริ่มผลิตหน้ากากในปี 1997 โดยมีข้อตกลงกับบริษัท United Medical Enterprises ในเมืองแอตแลนตา สหรัฐ ต่อมาจึงได้สร้างโรงงานในนครเซี่ยงไฮ้ปี 2002, เมืองหยีหลาน ประเทศไต้หวันในปี 2010 และในประเทศฝรั่งเศสปี 2011[57][ลิงก์เสีย] แต่เมื่อเหตุการณ์ระบาดทั่วแย่ลง ทุกประเทศต่างก็ห้ามการส่งออกหน้ากากแล้วเกณฑ์ไปให้ใช้ในประเทศเท่านั้น[58] รัฐบาลกลางแคนาดาจึงได้ตกลงกับเมดิคอมเพื่อซื้อหน้ากาก ๆ เป็นล้าน ๆ ชิ้นในทศวรรษต่อไป ทำให้เมดิคอมประกาศเปิดโรงงานใหม่ในเมืองมอนทรีออล บริษัทโนโวเท็กซ์ไทลส์ในรัฐบริติชโคลัมเบียจึงได้สั่งซื้อเครื่องทำหน้ากากอนามัยธรรมดา แล้วประกาศแผนการซื้อเครื่องทำหน้ากากเอ็น 95 ด้วย[59]
ในเดือนมีนาคม 2020 ประธานาธิบดีสหรัฐดอนัลด์ ทรัมป์ได้บังคับใช้กฎหมายการผลิตทางกลาโหมกับบริษัทอเมริกันคือ 3M เพื่อให้สำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลางสหรัฐสามารถซื้อหน้ากากเอ็น 95 จากบริษัทในจำนวนตามที่ต้องการ[60][61] ในต้นเดือนเมษายน 2020 นักการเมืองเมืองเบอร์ลินอ้างว่า หน้ากากเอ็น 95 สองแสนชิ้นที่เมืองได้สั่งจากผู้ผลิตอเมริกันคือ 3M จากโรงงานในจีนถูกสกัดในกรุงเทพมหานครแล้วส่งไปยังสหรัฐ ส่วนประธานของตำรวจเบอร์ลินกล่าวว่า เธอเชื่อว่า "นี่เกี่ยวกับการห้ามส่งออกของรัฐบาลกลางสหรัฐ"[62] ต่อมาตำรวจเบอร์ลินได้แก้ข่าวแล้วยืนยันว่า สินค้าไม่ได้ถูกยึดโดยเจ้าหน้าที่สหรัฐ เพียงแต่ได้ขายไปในราคาที่ดีกว่า โดยเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า พ่อค้าชาวเยอรมันหรือประเทศจีนเป็นผู้ซื้อ[63][64]
สิทธิบัตรคัดสรร
แก้- US patent 3333585, Robert J Barghini, Walter M Westberg, Patrick H Carey Jr, "Cold weather face mask", published 1967-08-01, issued 1967-08-01, assigned to 3M Co
- US patent 3971373A, David L. Braun, "Particle-loaded microfiber sheet product and respirators made therefrom", published 1976-07-27, issued 1976-07-27, assigned to 3M Co
- US patent 4215682A, Donald A. Kubik & Charles I. Davis, "Melt-blown fibrous electrets", published 1980-08-05, issued 1980-08-05, assigned to 3M Co
- US patent 4536440A, Harvey J. Berg, "Molded fibrous filtration products", published 1985-08-20, issued 1985-08-20, assigned to 3M Co
- US patent 4807619, James F. Dyrud, Harvey J. Berg, Alice C. Murray, "Resilient shape-retaining fibrous filtration face mask", published 1989-02-28, issued 1989-02-28, assigned to 3M Co
- US patent 4850347, Martin R. Skov, "Face mask", published 1989-07-25, issued 1989-07-25, assigned to Moldex Metric Inc
- US patent 4856509, Jerome H. Lemelson, "Face mask and method", published 1989-08-15, issued 1989-08-15
- US patent 5307796A, Joseph P. Kronzer, Roger J. Stumo, James F. Dyrud, Harvey J. Berg, "Methods of forming fibrous filtration face masks", published 1994-05-03, issued 1994-05-03, assigned to 3M Co
เชิงอรรถ
แก้- ↑ 1.0 1.1 melt blowing เป็นกระบวนการผลิตผ้าไมโครและผ้านาโนที่ละลายพอลิเมอร์แล้วใช้แก๊สเป่าความเร็วสูงฉีดผ่านหัวฉีดเล็ก ๆ เส้นใยที่ตกสั่งสมอย่างสุ่ม ๆ จะกลายเป็นแผ่น "ผ้า" ที่ไม่ได้ทอซึ่งสามารถใช้เป็นตัวกรอง ตัวซับ เป็นเสื้อผ้า และวิธีการส่งยา ประโยชน์ของกระบวนการ melt blowing ก็คือง่าย, ได้ผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจงมาก และไม่ต้องใช้ตัวทำละลาย
- ↑ โทรเวช (telemedicine) เป็นการใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมและสารสนเทศเพื่อให้บริการทางการแพทย์จากระยะไกล ซึ่งใช้แก้ปัญหาว่าคนไข้อยู่ไกลหมอ และเพื่อให้บริการทางการแพทย์ที่อาจไม่มีในชนบท และยังใช้กับคนไข้อาการวิกฤติหรือในสถานการณ์ฉุกเฉิน
อ้างอิง
แก้- ↑ "NIOSH-Approved N95 Particulate Filtering Facepiece Respirators - A Suppliers List". U.S. National Institute for Occupational Safety and Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-03-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-16. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ "Respirator Trusted-Source: Selection FAQs". U.S. National Institute for Occupational Safety and Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-03-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-15. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
- ↑ "Comparison of FFP2, KN95, and N95 and Other Filtering Facepiece Respirator Classes" (PDF). 3M Technical Data Bulletin. 2020-01-01. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "Strategies for Optimizing the Supply of N95 Respirators: Crisis/Alternate Strategies". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-03-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Xie, John (2020-03-19). "World Depends on China for Face Masks But Can Country Deliver?". Voice of America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-25.
- ↑ Feng, Emily (2020-03-16). "COVID-19 Has Caused A Shortage Of Face Masks. But They're Surprisingly Hard To Make". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-06.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 D’Alessandro, Maryann M.; Cichowicz, Jaclyn Krah (2020-03-16). "Proper N95 Respirator Use for Respiratory Protection Preparedness". NIOSH Science Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-17. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ ศ.เกียรติคุณ ดร.พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ, ดร.หทัยรัตน์ เลิศสำราญ (February 2020). "หน้ากากอนามัย : ใช้ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง" (PDF). มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคนิคการแพทย์. สืบค้นเมื่อ 2020-07-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Medical Evaluations for Workers Who Use Respirators". U.S. Occupational Safety and Health Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
- ↑ "Ancillary Respirator Information". U.S. National Institute for Occupational Safety and Health. 2018-01-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-15. สืบค้นเมื่อ 2020-02-12.
- ↑ Bach, Michael (2017-07-06). "Understanding respiratory protection options in healthcare: the overlooked elastomeric". NIOSH Science Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
- ↑
Garvey, Donald J. (2010-04-01). "Constructing a Powered Air Purifying Respirator System". EHS Today. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 13.0 13.1 13.2 Vargas, June (2020-03-26). "From the Industrial to the Medical - Evolution of the N95 Respirator". California Department of Consumer Affairs (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ "Building a Safety Program to Protect the Nanotechnology Workforce: A Guide for Small to Medium-Sized Enterprises". U.S. National Institute for Occupational Safety and Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-03-05.
- ↑ "Respiratory Protection for Workers Handling Engineered Nanoparticles". NIOSH Science Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). U.S. National Institute for Occupational Safety and Health. 2011-12-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 2017-03-15.
- ↑ "Multi-Walled Carbon Nanotubes; Significant New Use Rule (40 CFR 721.10155)". Federal Register, Volume 76 Issue 88. U.S. Environmental Protection Agency via U.S. United States Government Publishing Office. 2011-05-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-03-15.
- ↑ 17.0 17.1 Bollinger, Nancy (2004-10-01). "NIOSH respirator selection logic". U.S. National Institute for Occupational Safety and Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน): 5–9. doi:10.26616/NIOSHPUB2005100. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-15.
- ↑ "Respirator Reuse FAQs". U.S. National Institute for Occupational Safety and Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-01-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
- ↑ "Interim Infection Prevention and Control Recommendations for Patients with Suspected or Confirmed Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in Healthcare Settings". Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2020-05-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-06-08.
- ↑ "A Comparison of Surgical Masks, Surgical N95 Respirators, and Industrial N95 Respirators". Occupational Health & Safety (ภาษาอังกฤษ). 2014-05-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ "Respirator Trusted-Source Information: Ancillary Respirator Information". U.S. National Institute for Occupational Safety and Health. 2018-01-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-15. สืบค้นเมื่อ 2020-02-12.
- ↑ "Surgical N95 vs. Standard N95 - Which to Consider?" (PDF). 3M. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-06.
- ↑ Whalen, Jeanne (2020-03-20). "Change in U.S. law will make millions more masks available to doctors and nurses, White House says". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ 2007 Guideline for Isolation Precautions: Preventing Transmission of Infectious Agents in Healthcare Settings (PDF). U.S. Centers for Disease Control and Prevention. July 2019. pp. 55–56. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-24. สืบค้นเมื่อ 2020-02-09.
- ↑ "Release of Stockpiled N95 Filtering Facepiece Respirators Beyond the Manufacturer-Designated Shelf Life: Considerations for the COVID-19 Response". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-02-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
- ↑ 26.0 26.1 "Recommended Guidance for Extended Use and Limited Reuse of N95 Filtering Facepiece Respirators in Healthcare Settings". U.S. National Institute for Occupational Safety and Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-03-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
- ↑ "Rational use of personal protective equipment for coronavirus disease 2019 (COVID-19)" (PDF). World Health Organization. 2020-02-27. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
- ↑ "Wear masks in public says WHO, in update of COVID-19 advice". Reuters. 2020-06-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23.
- ↑ "Recommendation Regarding the Use of Cloth Face Coverings, Especially in Areas of Significant Community-Based Transmission". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2020-02-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ "Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public: When and how to use masks". World Health Organization (WHO). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-09.
- ↑ "Which countries have made wearing face masks compulsory?". Al Jazeera. 2020-05-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-13.
- ↑ Greenhalgh, T; Schmid, MB; Czypionka, T; Bassler, D; Gruer, L (April 2020). "Face masks for the public during the covid-19 crisis". BMJ. 369: m1435. doi:10.1136/bmj.m1435. PMID 32273267.
- ↑ 33.0 33.1 "Decontamination and Reuse of Filtering Facepiece Respirators". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-04-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Viscusi, Dennis J.; Bergman, Michael S.; Eimer, Benjamin C.; Shaffer, Ronald E. (November 2009). "Evaluation of Five Decontamination Methods for Filtering Facepiece Respirators". Annals of Occupational Hygiene. 53 (8): 815–827. doi:10.1093/annhyg/mep070. ISSN 0003-4878. PMC 2781738. PMID 19805391.
- ↑ 35.0 35.1
"Addressing COVID-19 Face Mask Shortages". Stanford University School of Medicine. 2020-03-25. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ March 2020, Rafi Letzter - Staff Writer. "Doctors scramble for best practices on reusing medical masks during shortage". livescience.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑
Schwartz, Antony; Stiegel, Matthew; Greeson, Nicole; Vogel, Andrea; Thomann, Wayne; Brown, Monte; Sempowski, Gregory D; Alderman, Thomas Scott; Condreay, James Patrick; Burch, James; Wolfe, Cameron; Smith, Becky; Lewis, Sarah. "Decontamination and Reuse of N95 Respirators with Hydrogen Peroxide Vapor to Address Worldwide Personal Protective Equipment Shortages During the SARS‐CoV‐2 (COVID‐19) Pandemic" (PDF). Duke University. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Andrew, Scottie (2020-03-27). "Duke researchers are decontaminating N95 masks so doctors can reuse them to treat coronavirus patients". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-25.
- ↑ Billman, Jeffrey C. (2020-03-26). "Duke Researchers Find Way to Decontaminate and Reuse N95 Masks, Possibly Alleviating Critical Shortfall". INDY Week (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ Schladen, Marty (2020-03-29). "FDA lifts restrictions on Ohio-based Battelle's mask-sterilizing technology amid coronavirus shortages". USA Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
- ↑ "COVID-19: Deploying a Critical New PPE Decontamination System". Battelle (ภาษาอังกฤษ). 2020-03-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-17. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
- ↑ 42.0 42.1 "N95 Respirators and Surgical Masks (Face Masks)". U.S. Food and Drug Administration (ภาษาอังกฤษ). 2020-03-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Brosseau, Lisa; Ann, Roland Berry (2009-10-14). "N95 Respirators and Surgical Masks". NIOSH Science Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-22. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Isolation Precautions". U.S. Centers for Disease Control and Prevention. 2019-07-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-17. สืบค้นเมื่อ 2020-02-09.
- ↑ 45.0 45.1 45.2 45.3 Wilson, Mark (2020-03-24). "The untold origin story of the N95 mask". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ Rees, Paula; Eisenbach, Larry (2020). "Ask Why: Sara Little Turnbull". Design Museum Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-01.
- ↑ 47.0 47.1 Bowman, Emma (2020-04-17). "N95 Mask Shortage Brings Inventor Out Of Retirement In Search Of Safe Reuse Method". Morning Edition. National Public Radio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
- ↑ "UT Researcher's Nonwoven Fabrics Protect the Health of More Than a Billion People". University of Tennessee Research Foundation. 2019-08-27. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
- ↑ "The Man Behind the Mask". Tickle College of Engineering, University of Tennessee, Knoxville. 2020-04-17. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
- ↑ Smith, Sandy (2006-06-22). "Six Respirator Manufacturers Warn President of Shortage of Masks". EHS Today.
- ↑ "Taiwan ups Chinese visitor curbs, to stop mask exports". Reuters. 2020-01-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-27.
- ↑ Johnson, Martin (2020-03-26). "Feds have 1.5 million expired N95 masks in storage despite CDC clearing them for use on COVID-19: report". TheHill. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30.
- ↑ Nicas, Jack (2020-04-03). "It's Bedlam in the Mask Market, as Profiteers Out-Hustle Good Samaritans". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-04-16.
- ↑ "Feds distribute 200K N95 masks seized from coronavirus hoarder". New York Post. 2020-04-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-16.
- ↑ Inc., Hearst Television (2020-04-03). "3 million masks ordered by Massachusetts were confiscated in Port of New York, leading to creative alternative". WCVB. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-16.
- ↑ Evan, Melanie; Hufford, Austen (2020-03-07). "Critical Component of Protective Masks in Short Supply - The epidemic has driven up demand for material in N95 filters; 'everyone thinks there is this magic factory somewhere'". The Wall Street Journal.
- ↑ https://www.medicom.com/en/about-us
- ↑ "Medicom to begin manufacturing N95 masks in Canada as foreign countries curb exports". The Globe and Mail. 2020-04-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ "COVID-19: Coquitlam company retools, will be first in Canada to produce N95 respirators" (ภาษาอังกฤษ). 2020-04-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
- ↑ Fabian, Jordan; Clough, Rick (2020-04-02). "Trump Attacks 3M Over Mask Production, Drawing Company Pushback". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ Whalen, Jeanne; Helderman, Rosalind S.; Hamburger, Tom (2020-04-03). "Inside Americas Mask Crunch". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-16.
- ↑ Betschka, Julius; Fröhlich, Alexander (2020-04-03). "Berlins Innensenator spricht von "moderner Piraterie"". Der Tagesspiegel (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23.
- ↑ Fröhlich, Alexander (2020-04-04). "200,000 respirators not confiscated: Delivery for Berlin police was bought in Thailand at a better price". Der Tagesspiegel (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Tisdall, Simon (2020-04-12). "US's global reputation hits rock-bottom over Trump's coronavirus response". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- หน้ากากอนามัย
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ N95 (mask)