หนานจง
ชื่อทางประวัติศาสตร์ที่ใช้เรียกภูมิภาคในยุคสามก๊กทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (มณฑลเสฉวน ยู
27°34′00″N 105°18′54″E / 27.566721°N 105.314941°E หนานจง (จีน: 南中; พินอิน: Nánzhōng) เป็นชื่อโบราณของภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนที่ครอบคลุมบางส่วนของมณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลเสฉวนทางตอนใต้ในปัจจุบัน[1]
ในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220–280) ของจีน ภูมิภาคหนานจงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของรัฐจ๊กก๊ก ในปี ค.ศ. 225 ข้าราชการท้องถิ่นบางคนก่อกบฏต่อต้านการปกครองของจ๊กก๊ก ในขณะที่ชนเผ่าลำมัน (หนานหมาน) บุกรุกเข้าไปในภูมิภาคหนานจง จูกัดเหลียงผู้สำเร็จราชการของจ๊กก๊กตอบโต้โดยนำกองกำลังดำเนินการรบในหนานจง และประสบความสำเร็จในการปราบปรามกบฏและทำให้ชนเผ่าลำมันสงบลง ในตำนาน จูกัดเหลียงจับและปล่อยเบ้งเฮ็ก ผู้นำชนเผ่าลำมัน 7 ครั้งจนกระทั่งเบ้งเฮ็กสาบานจะภักดีต่อจ๊กก๊กในที่สุด[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ Herman, John (2009). "The Kingdoms of Nanzhong: China's Southwest Border Region Prior to the Eighth Century". T'oung Pao. 95 (4): 241–286. doi:10.1163/008254309X507052. ISSN 0082-5433.
- ↑ Peng, Wenbin (2011). "Ethnic Memory and Space: Legends of Zhuge Liang in Southwest China". Inner Asia. 13 (1): 141–159. doi:10.1163/000000011797372797. ISSN 1464-8172.