หนอนนก
หนอนนก | |
---|---|
เป็นกระดิ่งเงินกระดิ่งทองเมื่อโตเต็มวัย | |
เมื่อเป็นหนอน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Insecta |
อันดับ: | Coleoptera |
วงศ์: | Tenebrionidae |
สกุล: | Tenebrio |
สปีชีส์: | T. molitor |
ชื่อทวินาม | |
Tenebrio molitor Linnaeus, 1758 |
หนอนนก (อังกฤษ: Mealworm) เป็นชื่อสามัญที่เรียกสำหรับหนอนของแมลงปีกแข็งชนิด Tenebrio molitor ปัจจุบันนิยมเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยมีความสำคัญใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น ปลาสวยงาม, นกสวยงาม, สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กบางชนิด เช่น แฮมสเตอร์ หรือ กระรอก
รูปร่างของหนอนนก เป็นหนอนที่มีเปลือก มีลำตัวยาวเรียวทรงกระบอกสีน้ำตาลอมเขียว เมื่อโตเต็มที่มีความกว้างลำตัว 0.28-3.2 มิลลิเมตร ยาว 29-35 มิลลิเมตร น้ำหนัก 0.2-0.24 กรัม มีอายุประมาณ 55-75 วัน ก่อนจะเข้าสู่ภาวะดักแด้ ซึ่งจะมีอายุในวงจรนี้ราว 5-7 วัน จากนั้นจะลอกคราบเป็นตัวโตเต็มวัย ซึ่งจะเป็นแมลงปีกแข็งลำตัวสีน้ำตาลอมดำ ซึ่งจัดเป็นแมลงศัตรูพืช มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรปในที่ ๆ ที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ซึ่งตัวเต็มวัยจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 3-6 เดือน ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ 1-2 ฟอง/วัน หรือ 80-85 ฟอง/ตลอดวงจรชีวิต
คุณค่าของหนอนนก คือ เป็นอาหารที่มีทั้งโปรตีนและไขมันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะไขมัน ในปลาสวยงามบางชนิด เช่น ปลาอะโรวาน่า หากให้หนอนนกในปริมาณที่มาก ปลาจะติดใจในบางตัวอาจจะไม่ยอมกินอาหารชนิดอื่นเลยก็เป็นได้ และจะสะสมไขมันในตัวซึ่งจะนำมาซึ่งอาการตาตก
นอกจากนี้แล้ว ในบางพื้นที่ ยังมีผู้รับประทานหนอนนกเป็นอาหารอีกด้วย ด้วยการทอดเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่น ๆ ที่รับประทานได้
ปัจจุบัน ได้มีผู้เพาะเลี้ยงหนอนนกเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยโรงเรือนที่เพาะต้องเป็นสถานที่ ๆ โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญคือ ต้องไม่ชื้น หากชื้นหนอนนกจะตายด้วยเชื้อราและไม่มีศัตรูตามธรรมชาติมารบกวน เช่น จิ้งจก, ตุ๊กแก หรือ มด ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เมื่อซื้อหนอนนกไปแล้ว จะนิยมเก็บด้วยการเทใส่ถาดหรือถังพลาสติกที่มีความสูงพอสมควรที่หนอนนกไม่สามารถปีนออกมาได้ ปิดฝาด้วยภาชนะแบบตะแกรง อาหารที่ให้สามารถให้ได้หลากหลาย ทั้ง ผักชนิดต่าง ๆ อาหารปลาเม็ด หรือ รำข้าว และต้องมีตะแกรงรองพื้น เพื่อช่วยในการร่อนมูลและเปลือกของหนอนนกที่ถ่ายออกมาด้วย
นิยมขายปลีกกันที่ขีดละ 40-80 บาท กิโลกรัมละ 300-500 บาท[1][2]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ หนอนนก
- ↑ Nanconnection. (แอบ) คุยเรื่องปลาตู้โครงการ 2. ตอน ปลาอโรตัวเป็นวาน่าเลี้ยง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2546. 224 หน้า. ISBN 9745348651
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- [https://web.archive.org/web/20100331113459/http://www.fisheries.go.th/if-inland_feed/knowleage/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%81.pdf เก็บถาวร 2010-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน การเพาะเลี้ยงหนอนนก โดยเว็บไซต์ของกรมประมง]