สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด
สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด เดิมชื่อ สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ในอดีตเคยชนะเลิศไทยลีก 2 ครั้ง และควีนส์คัพ 3 ครั้ง
ไฟล์:Airforce United.png | |||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด | ||
---|---|---|---|
ฉายา | อินทรีทัพฟ้า ดิ อีเกิล สิงห์ดอนเมือง | ||
ก่อตั้ง | 1946 ในนาม สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ 2010 ในนาม สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด 2013 ในนาม สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เอวีเอ เอฟซี 2014 ในนาม สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล | ||
ยุบ | 2019 (กลายเป็น อุทัยธานี) | ||
สนาม | สนามกีฬาธูปะเตมีย์ | ||
ความจุ | 25,000 ที่นั่ง | ||
เจ้าของ | บริษัท แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด จำกัด | ||
ประธาน | พีระพล นุชนาฎ | ||
ผู้จัดการ | พล.อ.ต. ณพล ฤๅไชยคาม | ||
ผู้ฝึกสอน | ธนเสฏฐ์ อมรสินกิตติโชติ | ||
|
สโมสรกีฬาของกองทัพอากาศไทย | ||
---|---|---|
ฟุตบอล (ชาย) | วอลเลย์บอล (ชาย) | วอลเลย์บอล (หญิง) |
ฟุตบอลสำรอง (ชาย) | ฟุตบอล (หญิง) |
ประวัติสโมสร
แก้สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2489 ในสมัยที่ พลอากาศโท หลวงเทวฤทธิ์พันลึก เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้การสนับสนุนถึงขนาดที่ท่านลงมาดูแลการซ้อมและควบคุมด้วยตัวเองทำให้สโมสรทหารอากาศประสบความสำเร็จอย่างมากมาย โดยในยุคนั้นจะมีสโมสรต่างๆเช่น ทีมธนาคารรวม ทีมมุสลิม ทีมชายสด ทีมกรมมหรสพ ที่ลงเล่นอยู่ในฟุตบอล ถ้วยพระราชทานประเภท ก. แต่สโมสรก็สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานประเภท ก. มากที่สุดถึง 12 ครั้ง และในจำนวนนี้เป็นการชนะเลิศติดต่อกัน 7 สมัยซ้อน ซึ่งยังเป็นสถิติที่ไม่มีสโมสรใดทำลายได้จนถึงปัจจุบัน และรวมไปถึงการชนะเลิศฟุตบอลถ้วยพระราชทานครบ 4 ระดับเป็นสโมสรฯแรกๆในประเทศ
ในยุคต่อมาสโมสรทหารอากาศ ได้รับการสนับสนุนจาก พลอากาศเอกบุญชู จันทรุเบกษา ผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้นซึ่งในห้วงเวลานี้เองที่สโมสรได้ผลักดันนักฟุตบอลคนสำคัญอย่าง ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน รวมไปถึงนักฟุตบอลร่วมรุ่นอย่าง ไพโรจน์ พ่วงจันทร์, ชลทิศ กรุดเที่ยง, ประทีป ปานขาว, นราศักดิ์ บุญเกลี้ยง, ชลอ หงษ์ขจร, วีระพงษ์ เพ็งลี, วิชิต เสชนะ เป็นต้น
และในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ ได้เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ และทำการปรับปรุงระบบการทำงานเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพ ตามกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมฟุตบอลแห่งเอเชียได้กำหนดไว้ถึงการเป็นนิติบุคคลอย่างสมบูรณ์เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานการแข่งขันหนึ่งเดียวกับนานาชาติ โดยได้ร่วมกับบริษัท แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด จำกัด เพื่อทำการ Re-Branding สู่ชื่อและภาพลักษณ์ใหม่ภายใต้ชื่อ สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด หรือ Air Force United Football Club ร่วมกับสโมสรสมาชิกอื่นๆอีกว่าร้อยองค์กรสำหรับการแข่งขันฟุตบอล
เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. พ.ศ. 2562 ทางสโมสรแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ได้แจ้งว่ามีการขายสิทธิ์การทำทีมให้กับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.อุทัยธานี สังกัดพรรคภูมิใจไทย และเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น อุทัยธานี เอฟซี เป็นที่เรียบร้อย ถือเป็นการปิดฉาก 73 ปีของตำนานทีมบอล[1] อย่างไรก็ตามยังคงมีทีมที่บริหารงานโดยกองทัพอากาศอยู่เองอีก 3 สโมสร ประกอบด้วย 1.ทหารอากาศ เอฟซี (ไทยลีก 3) 2.สวัสดิการ ทอ. และ 3.โรงเรียนนายเรืออากาศ โดยใช้บุคลากรของกองทัพอากาศ
-
สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ (2489-2553)
-
สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด (2554, 2562)
-
สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เอวีเอ เอฟซี (2555)
-
สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี (2556-2561)
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
แก้ฤดูกาล | ลีก[2] | เอฟเอคัพ | ควีนสคัพ | ลีกคัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | ประตู | ||||
2539–40 | ไทยลีก | 34 | 14 | 12 | 8 | 48 | 35 | 54 | อันดับ 7 | ชนะเลิศ | – | – | ส่งเสริม มาเพิ่ม | 12 |
2540 | ไทยลีก | 22 | 14 | 3 | 5 | 45 | 23 | 42 | ชนะเลิศ | — | – | – | — | — |
2541 | ไทยลีก | 22 | 10 | 10 | 2 | 52 | 31 | 40 | รองชนะเลิศ | — | – | – | — | — |
2542 | ไทยลีก | 22 | 11 | 6 | 5 | 43 | 27 | 39 | ชนะเลิศ | — | – | – | ส่งเสริม มาเพิ่ม | 11 |
2543 | ไทยลีก | 22 | 12 | 5 | 5 | 34 | 19 | 41 | รองชนะเลิศ | — | – | – | ส่งเสริม มาเพิ่ม | 10 |
2544–45 | ไทยลีก | 22 | 8 | 8 | 6 | 23 | 21 | 32 | อันดับ 4 | – | – | – | วรวิทย์ ถาวรวัน | 8 |
2545–46 | ไทยลีก | 18 | 7 | 2 | 9 | 26 | 29 | 23 | อันดับ 5 | – | – | – | ส่งเสริม มาเพิ่ม | 10 |
2547 | ไทยลีก | 18 | 4 | 4 | 10 | 14 | 38 | 16 | อันดับ 9 | – | – | – | — | — |
2548 | ดิวิชั่น 1 | 22 | 10 | 7 | 5 | 30 | 21 | 37 | อันดับ 4 | – | – | – | — | — |
2549 | ดิวิชั่น 1 | 22 | 5 | 8 | 9 | 30 | 36 | 23 | อันดับ 9 | – | – | – | — | — |
2550 | ดิวิชั่น 1 กลุ่ม บี | 22 | 12 | 6 | 4 | 41 | 22 | 42 | อันดับ 3 | – | – | – | วัชรพงษ์ จันทร์งาม | 9 |
2551 | ดิวิชั่น 1 | 30 | 10 | 10 | 10 | 40 | 32 | 40 | อันดับ 10 | – | – | – | วัชรพงษ์ จันทร์งาม | 8 |
2552 | ดิวิชั่น 1 | 30 | 12 | 6 | 12 | 45 | 36 | 42 | อันดับ 6 | รอบที่ 2 | รอบคัดเลือก รอบแรก | – | พรชัย อาจจินดา | 7 |
2553 | ดิวิชั่น 1 | 30 | 13 | 9 | 8 | 48 | 33 | 48 | อันดับ 6 | รอบสี่ | – | รอบสอง | พรชัย อาจจินดา | 15 |
2554 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 10 | 10 | 14 | 36 | 53 | 40 | อันดับ 14 | รอบสอง | – | รอบ 64 ทีม | อนุศักดิ์ เหล่าแสงไทย Kouassi Yao Hermann |
12 |
2555 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 12 | 8 | 14 | 45 | 45 | 44 | อันดับ 9 | รอบสอง | – | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | Kouassi Yao Hermann | 20 |
2556 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 20 | 9 | 5 | 51 | 28 | 69 | ชนะเลิศ | รอบสอง | – | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | Kouassi Yao Hermann | 16 |
2557 | ไทยลีก | 38 | 6 | 12 | 20 | 35 | 63 | 30 | อันดับ 19 | รอบสี่ | – | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | Kouassi Yao Hermann | 13 |
2558 | ดิวิชั่น 1 | 38 | 14 | 10 | 14 | 53 | 50 | 52 | อันดับ 9 | รอบสาม | – | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | — | — |
2559 | ดิวิชั่น 1 | 26 | 11 | 9 | 6 | 44 | 29 | 42 | อันดับ 4 | รอบแรก | – | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | Valdomiro Soares | 12 |
2560 | ไทยลีก 2 | 32 | 18 | 8 | 6 | 61 | 40 | 62 | รองชนะเลิศ | รอบแรก | – | รอบก่อนรองชนะเลิศ | — | — |
2561 | ไทยลีก | 34 | 4 | 4 | 26 | 32 | 78 | 16 | อันดับ 18 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | – | รอบก่อนรองชนะเลิศ | — | — |
2562 | ไทยลีก 2 | 34 | 9 | 7 | 18 | 39 | 53 | 34 | อันดับ 14 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | – | รอบเพลย์ออฟ | ||
ขายสิทธิให้กับ อุทัยธานี |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ผู้เล่นชุดฤดูกาล 2562 (ฤดูกาลสุดท้าย)
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผลงาน
แก้- ไทยลีก - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2540, 2542
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2556
- ควีนส์คัพ - ชนะเลิศ 3 ครั้ง - 2513 (แชมป์ร่วม), 2517, 2525
- ถ้วย ก - ชนะเลิศ 12 ครั้ง - 2495, 2496, 2500, 2501, 2502, 2503, 2504, 2505, 2506, 2510, 2530, 2539
- ถ้วย ข - ชนะเลิศ 16 ครั้ง - 2492, 2493, 2494, 2504, 2505, 2507, 2508, 2510, 2516, 2520, 2525, 2528, 2529, 2530, 2532, 2534
- ถ้วย ค - ชนะเลิศ 8 ครั้ง - 2509, 2513, 2514, 2526, 2528, 2529, 2530, 2533
- ถ้วย ง - ชนะเลิศ 4 ครั้ง - 2509, 2527, 2529, 2531
- เอฟเอคัพ - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2539
- ไทยลีกคัพ - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2530, 2537
ผลงานที่ดีสุดในระดับเอเชีย
แก้- เอเชียนแชมเปียนส์คัพ - รองรองชนะเลิศ ฤดูกาล 1988/89 (ถอนตัวภายหลังได้อันดับหนึ่งในรอบสอง), รอบ 2 ในฤดูกาล 2000/01, 2001/02
- เอเชียนคัพวินเนอร์คัพ - รอบ 2 ฤดูกาล 1997/98
อ้างอิง
แก้- ↑ แอร์ฟอร์ซขายสิทธิ์ทำทีมเปลี่ยนชื่อเป็น อุทัยธานี เอฟซี
- ↑ King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เก็บถาวร 2015-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ที่เฟซบุ๊ก