สโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์

สโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์ (อังกฤษ: Blackburn Rovers Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลในระดับเดอะแชมเปี้ยน​ชิพ​ของอังกฤษ เคยเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 1994–95 ตั้งอยู่ ณ เมืองแบล็กเบิร์น ในเทศมณฑลแลงคาเชียร์ ประเทศอังกฤษ มีสนามเหย้าชื่ออีวุดพาร์ก

แบล็กเบิร์นโรเวอส์
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์
ฉายาRovers
The Blue and Whites
The Riversiders[1]
กุหลาบไฟ (ในภาษาไทย)
ก่อตั้ง1875; 149 ปีที่แล้ว (1875)
สนามอีวุดพาร์ก
ความจุ31,367 ที่นั่ง[2]
เจ้าของVenkys London Ltd. (99.9%)
ซีอีโอสตีฟ แวกกอตต์
หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอห์น ดาห์ล โทมัสสัน
ลีกอีเอฟแอลแชมเปียนชิป
2022–23อันดับที่ 7
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

ประวัติ

แก้

สโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ก่อตั้งเมื่อปี 1875 และได้แชมป์ฟุตบอลลีกครั้งแรกในปี 1911 ได้สมัยที่ 2 ในปี 1913

ในปี 1992 มีการเปลี่ยนชื่อลีกสูงสุดเป็นพรีเมียร์ลีกหรือพรีเมียร์ชิพเป็นปีแรก สโมสร แบล็กเบิร์นโรเวอส์ จบด้วยอันดับ 4 แต่ด้วยการทุ่มทุนมหาศาลของแจ็ค วอร์กเกอร์ ประธานสโมสรผู้ทำธุรกิจเหล็กกล้า ซึ่งลงทุนจ้าง เคนนี ดัลกลิช อดีตผู้จัดการของ ลิเวอร์พูล พร้อมกับให้เงินดัลกลิชซื้อ อลัน เชียเร่อส์ มาจับคู่กับ คริส ซัตตัน จนสามารถชนะเลิศพรีเมียร์ลีกได้สำเร็จ อย่างไม่มีใครคาดคิด โดยมีคะแนนมากกว่าคู่แข่งสำคัญอย่าง แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เพียงคะแนนเดียว แต่ต่อมาในปี 1994–95 มา แบล็กเบิร์นโรเวอส์ จบด้วยอันดับ 7 และก็เสียผู้เล่นคนสำคัญอย่าง อลัน เชียเร่อส์, โทนี เกล, เดวิด แบ็ตตี้ ทำให้ แบล็กเบิร์นโรเวอส์ พยายามซื้อนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงอย่าง ซีเนอดีน ซีดาน แต่ก็ล้มเหลว ก่อนที่ทีมจะตกชั้นลงไปเล่นเดอะแชมเปียนชิปในปี 1998 และแจ็ค วอร์กเกอร์ได้เสียชีวิตด้วยวัย 71 ปี ในปี 2000 และในปี 2001–02 แบล็กเบิร์นสามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นพรีเมียร์ลีกได้สำเร็จพร้อมกับคว้าแชมป์คาร์ลิงคัพ มาครองได้สำเร็จ

แบล็กเบิร์นโรเวอส์ อยู่ในพรีเมียร์ลีกมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งใน ปี 2011–12 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ต้องตกชั้นลงไปสู่ เดอะแชมเปียนชิป ด้วยอยู่ในอันดับที่ 19 ของตาราง ด้วยคะแนนเพียง 31 คะแนนเท่านั้น[3][4]

ต่อมาในฤดูกาล 2016–17 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ต้องตกลงไปสู่ลีกวัน หรือระดับดิวิชัน 3 ด้วยการจบฤดูกาลที่อันดับที่ 22 แม้นัดสุดท้ายจะเป็นฝ่ายเอาชนะเบรนท์ฟอร์ด ไปได้ถึง 3-1 และแม้จะมีคะแนน 51 คะแนนเท่ากับ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ แต่ทว่ามีลูกเสียได้น้อยกว่า 2 ลูก ทำให้ต้องตกชั้นลงไปสู่ลีกวัน นับเป็นสโมสรแรกที่ได้แชมป์พรีเมียร์ลีกแต่ต้องลงไปเล่นในระดับลีกวัน[5]

ผู้เล่นชุดสร้างประวัติศาสตร์ แชมป์พรีเมียร์ลีก 1994-95

แก้

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   คริสเตียน วอลตัน
2 DF   ไรอัน เอ็นยัมเบ
3 DF   เดอรริค วิลเลียมส์
4 MF   แบร็ดลี่ย์ จอห์นสัน
5 DF   เกร็ก คันนิงแฮม
6 MF   ริชาร์ด สมอลวูด
7 FW   อดัม อาร์มสตรอง
9 FW   แซม กัลลาเกอร์
10 FW   แดนนี เกรแฮม
11 MF   แฮริสัน แชปแมน
12 FW   โดมินิค ซามูเอล
13 GK   เจสัน เลียตไวเลอร์
17 DF   อามารี' ไอ เบล
18 MF   จาคอบ ดาเวนพอร์ต
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 MF   สจวร์ต ดาวนิง
20 FW   เบน เบรเรตัน
23 MF   แบร็ดลีย์ แด๊ค
24 DF   โทซิน อดาเร่ไบโอโย่
26 DF   แดร์เร็ก เลนิฮาน
27 MF   เลวิส ทราวิส
29 MF   คอร์รี อีแวนส์
30 DF   แซม ฮาร์ท
31 MF   เอลเลียต เบนเน็ตต์
33 GK   แอนดี ฟิชเชอร์
34 FW   เดเนียล บัตเตอร์เวิร์ธ
35 DF   โจ เกรย์สัน
37 MF   โจ แรนกิน-คอสเทลโล
39 MF   จอห์น บัคลีย์

เกียรติประวัติ

แก้

ระดับประเทศ

แก้
  • ดิวิชันสอง
    • ชนะเลิศ (1): 1938–39
  • ดิวิชันสาม
    • ชนะเลิศ (1): 1974–75

สถิติและบันทึก

แก้

บันทึก

แก้
  • บันทึกผู้ทำประตู:

ไซมอน การ์เนอร์, 194 ประตู (168 ประตูในลีก), ฤดูกาล 1978–1979 ถึง ฤดูกาล 1991–1992

อ้างอิง

แก้
  1. "Nicknames". Club Nicknames. The-Football-Club.com. 2 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2 August 2009.
  2. "EFL Official Website – Blackburn Rovers". EFL. 3 January 2019. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
  3. "แบล็กเบิร์นตกชั้น!วีแกนอัด1-0". สนุกดอตคอม.[ลิงก์เสีย]
  4. "ตารางคะแนน ฟุตบอล พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ฤดูกาล 2011-2012". พรีเมียร์ดรีมดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-18. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.
  5. หน้า 19, กุหลาบช้ำ. "ตะลุยฟุตบอลโลก" โดย หมวดแซม. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21660: วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 แรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

53°43′42.85″N 2°29′21.14″W / 53.7285694°N 2.4892056°W / 53.7285694; -2.4892056