สุมิตร สุนทรเวช
สุมิตร สุนทรเวช (เกิด 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480) ประธานพรรคประชากรไทย[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย เป็นน้องชายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 25
สุมิตร สุนทรเวช | |
---|---|
หัวหน้าพรรคประชากรไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2544 – 20 เมษายน พ.ศ. 2562 (18 ปี 27 วัน) | |
ก่อนหน้า | สมัคร สุนทรเวช |
ถัดไป | คณิศร สมมะลวน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2519–2522) ประชากรไทย (2522–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้สุมิตร สุนทรเวช เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร:2445-2524) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก
สุมิตรเป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้
- พ.อ. (พิเศษ) พ.ญ.มยุรี พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว
- พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษากองทัพอากาศ (ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว)
- นายสมัคร สุนทรเวช - นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย (ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว)
- นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- นายสุมิตร สุนทรเวช - หัวหน้าพรรคประชากรไทย
การศึกษา
แก้สุมิตร สุนทรเวช จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเทเวศน์ศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ชั้นเตรียมอุดมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นจึงได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (สาขารัฐศาสตร์) และเข้ารับการอบรมประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาการปกครองระบอบประชาธิปไตย (ปปร.) รุ่นที่ 1
ตำแหน่งทางการเมือง
แก้สุมิตร สุนทรเวช เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชากรไทย เป็นกรรมการบริหารพรรค รองหัวหน้าพรรค และหัวหน้าพรรคประชากรไทย ในปี พ.ศ. 2544[2] โดยสุมิตร สุนทรเวช เป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2522 , 2526, 2531, 2538 และ พ.ศ. 2539 เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชากรไทย[3] แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ต่อมาด้วยอายุที่มากขึ้นและสุขภาพที่ไม่เอื้ออำนวยนายสุมิตรจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562 [4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ “พรรคประชากรไทย” กลับมาแล้ว “สุมิตร สุนทรเวช” ชู “สมัคร โมเดล” ทวงคะแนนนิยม
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชากรไทย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชากรไทย)
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชากรไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
ก่อนหน้า | สุมิตร สุนทรเวช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมัคร สุนทรเวช | หัวหน้าพรรคประชากรไทย (24 มีนาคม พ.ศ. 2544 - 20 เมษายน พ.ศ. 2562) |
คณิศร สมมะลวน |