สุชาติ สวัสดิ์ศรี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งราษฎร์ (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2488) เป็นนักเขียนชาวไทย ใช้นามปากกา สิงห์สนามหลวง และเป็นที่รู้จักจากการก่อตั้งรางวัลช่อการะเกด[1]
สุชาติ สวัสดิ์ศรี | |
---|---|
สุชาติ สวัสดิ์ศรี | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2488 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
นามปากกา | สิงห์สนามหลวง สีกัน บ้านทุ่ง บุญ ประคองศิลป์ |
อาชีพ | นักเขียน |
คู่สมรส | วรรณา ทรรปนานนท์ (พ.ศ. 2516–ปัจจุบัน) |
สุชาติเกิดที่ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาเป็นหมอเสนารักษ์ มารดาเป็นชาวนา สุชาติสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) สาขาประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2509 แล้วสมรสกับวรรณา สวัสดิ์ศรี (สกุลเดิม ทรรปนานนท์) นักเขียนเจ้าของนามปากกา "ศรีดาวเรือง" ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน
สุชาติเคยประกอบอาชีพและมีบทบาทหลากหลาย ตั้งแต่เป็นครูโรงเรียนราษฎร์ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเขียน บรรณาธิการนิตยสาร บรรณาธิการสำนักพิมพ์ ร่วมก่อตั้งกลุ่มวรรณกรรม ร่วมก่อตั้งกลุ่มละคร เป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรม ก่อตั้งรางวัลช่อการะเกด และก่อตั้งสำนักช่างวรรณกรรม
นอกจากผลงานด้านวรรณกรรม สุชาติยังมีผลงานศิลปะจากการศึกษาด้วยตัวเอง โดยจัดแสดงเป็นนิทรรศการศิลปะแล้วหลายครั้ง นอจากนี้ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา สุชาติมีบทบาทเป็นบรรณาธิการวารสารรายสามเดือนของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย[2]
กระทรวงวัฒนธรรมยกย่อง สุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2554[3]
20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีมติถอดสุชาติออกจากตำแหน่งศิลปินแห่งชาติ หลังจากวิพากษ์วิจารณ์ให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์[4][5]
ประวัติการทำงาน
แก้- บรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์
- บรรณาธิการนิตยสารโลกหนังสือ
- บรรณาธิการนิตยสารบานไม่รู้โรย
- บรรณาธิการวารสารช่อการะเกด
งานแสดงนิทรรศการศิลปะ
แก้งานแสดงกลุ่ม
แก้- 2544 - นิทรรศการ ศิลปะกับสังคม : สถาบันปรีดี พนมยงค์
- 2545 - นิทรรศการ ศิลปะกับสังคม : สถาบันปรีดี พนมยงค์
- 2546 - นิทรรศการ ศิลปะกับสังคม : สถาบันปรีดี พนมยงค์
- 2547 - นิทรรศการ ศิลปะกับสังคม : สถาบันปรีดี พนมยงค์
- นิทรรศการ เจ้าชายน้อย(เพื่อคนพิการ) : ภัทราวดีแกลเลอรี, กรุงเทพฯ
- นิทรรศการ "หงา คาราวาน" พบ "สิงห์สนามหลวง" (เพื่อ ’รงค์ วงษ์สวรรค์) : ร้านล็อต, เชียงใหม่
- นิทรรศการ "เพื่อนศิลปิน" : ร้านเจน, กรุงเทพฯ
- นิทรรศการ "JAZZ UP YOUR LIFE" ร่วมกับ “สิเหร่” : ร้านเฮ็มลอก, กรุงเทพฯ
- 2548 - นิทรรศการ ศิลปะกับสังคม : สถาบันปรีดี พนมยงค์
- นิทรรศการ "ศิลปะเกื้อกูลศิลปะ" : สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
นิทรรศการเดี่ยว
แก้- 2544 - งานติดตั้งจัดวาง นักเขียนเก่าไม่มีวันตาย : สถาบันปรีดี พนมยงค์
- 2546 - สุชาติโทเปีย [SUCH-ARTOPIA] งานแสดงจิตรกรรมภาคแรก : ห้องศิลปนิทรรศมารศรี พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
- 2547
- สุชาติมาเนีย [SUCH-ARTMANIA] งานแสดงจิตรกรรมภาคสอง งานติดตั้งจัดวางและเปิดตัวนวนิยายทัศนศิลป์ [Visual Art Novel] : สถาบันปรีดี พนมยงค์
- ดาวเรืองบินข้ามครรภ์ฟ้า : ร้านหนังสือใต้ดิน กรุงเทพฯ
- 2548 - สุชาติเฟลเลีย [SUCH-ARTFAILURE] งานแสดงจิตรกรรมภาคสาม : หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ รางวัลช่อการะเกด วิกิพีเดียประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2564-09-15
- ↑ "บันทึกเหตุการณ์ 14 ตุลา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2017-03-16.
- ↑ รายชื่อศิลปินแห่งชาติ วิกิพีเดียประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2564
- ↑ "ปลด "สุชาติ สวัสดิ์ศรี" พ้นศิลปินแห่งชาติ". ประชาชาติธุรกิจ. กรุงเทพฯ. 2564-08-20. สืบค้นเมื่อ 2564-08-20.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ถอด 'สุชาติ สวัสดิ์ศรี' ออกจาก 'ศิลปินแห่งชาติ'". กรุงเทพธุรกิจ. กรุงเทพฯ. 2564-08-20. สืบค้นเมื่อ 2564-08-20.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๕ (จำนวน ๕,๘๒๖ ราย) เก็บถาวร 2014-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔ ข ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ หน้า ๑๒๘
- ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4