สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2515) ชื่อเล่น เอ้ เป็นศาสตราจารย์ วิศวกร นักวิชาการ และนักการเมืองชาวไทย อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายกสภาวิศวกร นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ | |
---|---|
สุชัชวีร์ในปี พ.ศ. 2565 | |
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558[1] – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (6 ปี 71 วัน)[2] | |
ก่อนหน้า | ศาสตราจารย์ โมไนย ไกรฤกษ์ (รักษาราชการแทน) |
ถัดไป | รองศาสตราจารย์ อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ (รักษาราชการแทน) |
นายกสภาวิศวกร | |
ดำรงตำแหน่ง 19 มีนาคม พ.ศ. 2562[3] – 8 ธันวาคม พ.ศ 2564 (2 ปี 264 วัน)[4] | |
ก่อนหน้า | กมล ตรรกบุตร[5] |
ถัดไป | รองศาสตราจารย์ ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์[6] |
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (0 ปี 346 วัน) | |
หัวหน้า | เฉลิมชัย ศรีอ่อน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 เมษายน พ.ศ. 2515[4] อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2564—ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สวิตา สุวรรณสวัสดิ์ (2563—ปัจจุบัน) |
บุตร | 2 |
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ | |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | |
ประวัติและการศึกษา
แก้สุชัชวีร์ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2515 ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี[4] เป็นบุตรของ นายธีรศักดิ์ และนางวัลลีย์ สุวรรณสวัสดิ์ ซึ่งทั้งคู่เป็นครูอาชีวะอยู่ที่ จังหวัดระยอง[7][8]
สุชัชวีร์ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนระยองวิทยาคม [8][9] ก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมการก่อสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยเขาได้ทำโปรเจกต์จบเกี่ยวกับ "การออกแบบอุโมงค์รถไฟใต้ดินของกรุงเทพ" จากนั้นได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในสาขาวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน กับ ปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนโยบาย และระดับปริญญาเอก ในสาขาวิศวกรรมปฐพีจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) สหรัฐ[10]โดยเขาได้รับทุนจากรัฐบาลไทยเพื่อศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา และเป็นนักวิชาการของไมโครซอฟท์ขณะศึกษาอยู่ที่เอ็มไอที[9] ปัจจุบันกำลังศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 66 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย [11]
การทำงาน
แก้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
แก้สุชัชวีร์เริ่มอาชีพในตำแหน่งอาจารย์ ประจำสาขาวิศวกรรมโยธาที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใน พ.ศ. 2546[12] ซึ่งเขามีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค การก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์[13] และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดีในปีเดียวกัน [14]
ในปี พ.ศ. 2553 สุชัชวีร์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโยธาที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[15] และได้ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ในปีเดียวกัน [14]
สุชัชวีร์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สมัยแรกในปี พ.ศ. 2558 [1] และดำรงตำแหน่งสมัยที่สองในปี พ.ศ. 2562 [16]
ในระหว่างดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2560 สถาบันฯ ได้มีการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและการศึกษากับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ทำให้เกิดการจัดตั้งมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ขึ้น[17] [18] มีการจัดตั้งสถาบันไทย-โคเซน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(KOSEN - KMITL) หรือสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. เพื่อพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยี วิศวกรรม และนวัตกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันโคเซ็นประเทศญี่ปุ่นกับสจล. โดยสถาบันได้รับการจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 [19][20][21]
ในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการจัดตั้งสถาบันสอนการเขียนโปรแกรม 42 บางกอก ขึ้นที่สจล. ผ่านบันทึกความเข้าใจระหว่างสจล. กับ สถาบัน Ecole 42 ปารีสประเทศฝรั่งเศส [22][23] ปี พ.ศ. 2564 ได้มีการริเริ่มจัดสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาและสนับสนุนศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์ครบวงจร ทำให้ภาครัฐลดการนำเข้าเทคโนโลยีทางการแพทย์จากต่างประเทศ กระจายความช่วยเหลือโรงพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสามารถต่อยอดนวัตกรรมทางการแพทย์สู่เชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต และเขายังดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิ ของโรงพยาบาลอีกด้วย[24][25][26][27] นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งคณะและวิทยาลัยใหม่ทั้ง วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต (IMSE) [28] โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า (KMIDS). [29][30] และคณะแพทยศาสตร์ [31][32] ทำให้ สจล. กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 22 ของประเทศ[33]
นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเด็กเล็ก (Kids University by KMITL) ในปี 2563 โดยเป็นโครงการหลักสูตรระยะสั้นสำหรับเด็กเล็กวัย 3-10 ปี ที่มุ่งเน้นการเฟ้นหาความสามารถพิเศษ (Talent Developer) พร้อมด้วยทักษะใหม่ (New Skill) เพื่อส่งเสริมความสามารถพิเศษของเด็กปฐมวัย[34]
ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้รับการว่าจ้างจากงบประมาณของ กรุงเทพมหานคร ด้วยวงเงิน 120 ล้านบาท เพื่อให้สจล.ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีกลุ่มศิษย์เก่าสถาปัตยกรรมศาสตร์ ของสถาบันฯ บางส่วนได้ยื่นจดหมายถึงผู้บริหารสถาบัน เพื่อคัดค้านการที่สถาบันฯ เป็นที่ปรึกษางานสำรวจ ออกแบบ และจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และขอให้สถาบันฯ ถอนตัว เนื่องจากมีความสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียความน่าเชื่อถือของสจล. ในหมู่นักวิชาชีพ เพราะโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบที่ซับซ้อน ในขณะที่ภาคประชาชนก็ยังไม่มีความเห็นเป็นผลสรุปชัดเจนในหมู่นักวิชาชีพ โดยเฉพาะสถาปนิก นักวางผังเมือง ก็ยังมีความเห็นแตกต่างอย่างชัดเจน ในสถานการณ์เช่นนี้ สจล.จึงควรวางตัวเป็นกลาง และระมัดระวังในการเข้าไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตัวเขานั้นได้ มอบหมายให้ อันธิกา สวัสดิ์ศรี อาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในฐานะโฆษกโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ชี้แจงว่า เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกของศิษย์เก่าฯ อาจมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อน เพราะการเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการของรัฐ ก็ถือว่าเป็นภารกิจของสถาบันการศึกษา ส่วนข้อสงสัยต่อโครงการ ก็อยากให้กลุ่มศิษย์เก่าฯ เข้ามาพูดคุยเพื่อความเข้าใจต่อไป [35]
สุชัชวีร์ได้รับเลือกเป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) 2 วาระติดต่อกัน[36] โดยมีวาระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 [37] จนถึงปี พ.ศ. 2563 [38]
ในปี พ.ศ. 2561 ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายที่จะปรับปรุงระบบ การคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศ โดยมีหลักการ 3 ประการ คือ
- (1) นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6
- (2) นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ในการตอบรับสาขาวิชาที่เลือกเพื่อความเสมอภาค
- (3) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ทุกแห่งจะเข้าสู่ระบบเคลียร์ริ่งเฮาส์ เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ของนักเรียน และเพื่อให้ระบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระบบใหม่มีความชัดเจนป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในภายหลัง[39] [40]
ในปีแรกที่เริ่มใช้ระบบTCAS ได้เกิดปัญหาขึ้น เช่น ปัญหาระบบล่มตั้งแต่วันแรก[41] เนื่องจากมีผู้ใช้งานที่มาก โดยมีผู้สมัครเข้ามาในระบบถึง 40,000 คน ต่อวินาที[42] ความไม่เข้าใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการใช้ระบบ รวมไปถึงปัญหาการเลือกอันดับ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้เข้าสอบคะแนนสูงสามารถเลือกคณะที่ต้องการเข้าศึกษาได้ และยังสามารถสำรองที่นั่งให้ตัวเองได้ ทำให้จำนวนที่นั่งที่มหาวิทยาลัยเปิดรับนั้นเต็มอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเรียนบางส่วนเดือดร้อนเพราะไม่สามารถเลือกคณะที่ต้องการได้ [43] การเปลี่ยนระบบนี้สร้างความไม่พอใจในหมู่ผู้ปกครองกับนักเรียนในปีนั้น[44] และระบบ TCAS ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ขาดการมีส่วนรวมของนักเรียนในการออกแบบระบบตั้งแต่ต้น[45] เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทางทปอ.จึงได้มีการประชุมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบ TCAS ปี 2562 ด้วยกันทั้งหมด 3 ชุด ประกอบด้วย
- คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของระบบการคัดเลือกระบบ TCAS ปีการศึกษา 2561 มีนาย สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นประธาน
- คณะกรรมการพัฒนาระบบTCAS ปีการศึกษา 2562 มีนายชูศักดิ์ ลิ่มสกุล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธาน
- คณะกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศ ของระบบTCAS ปีการศึกษา 2562 มี นายแพทย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) เป็นประธาน
เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบ TCAS ในปีถัดมา และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเดิม[46] ในฐานะประธาน ทปอ. สุชัชวีร์ได้กล่าวถึงการแก้ปัญหานี้ว่า "นโยบายที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากระบบ TCAS นั้น ทปอ. จะมุ้งเน้น การหาแนวทางที่จะลดค่าใช้จ่ายในการสมัครให้มากที่สุด โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนจะมีการทำประชาพิจารณ์จากผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง และมหาวิทยาลัย รวมถึงกำหนดให้การจัดเวทีสาธารณะ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากนักศึกษาให้มากขึ้น โดยเวทีดังกล่าวจะสามารถเสนอแนะความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศ"[47] จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ ทปอ. มีการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการรับสมัครในระบบ TCAS เพื่อให้สามารถรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก [48] และปรับปรุงข้อสอบ TCAS โดยจะถูกนำมาใช้ในปีการศึกษา 2565 [49]
ในช่วงปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563 สุชัชวีร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้[50] ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือสถาบันสมาชิกในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับตนเองผ่านการช่วยเหลือร่วมกัน ให้สามารถบรรลุความแตกต่างในด้านการสอน การวิจัย และการบริการสาธารณะ ระหว่างสมาชิกสถาบันในประเทศของตนและประเทศอื่นๆที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [51]
วิศวกร
แก้ระหว่างศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สุชัชวีร์ได้กลับมาประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2542-2543 เพื่อทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี ในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร[52] ณ เวลานั้น เขาได้ก่อตั้งคณะกรรมการยุววิศวกรแห่งประเทศไทย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งประธานคนแรก [53] ในปี พ.ศ. 2542 เขายังเป็นกรรมการ วิศวกรรมธรณี ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ [52] และยังเป็นสมาชิกของหน่วยงานรัฐบาลที่ตรวจสอบความเสียหายของรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินแห่งใหม่ [54][55]
สุชัชวีร์ได้รับเลือกเป็นประธานของคณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ (Thailand Underground and Tunneling Group:TUTG) ในปี พ.ศ. 2555 [56] ในฐานะที่เขาเป็นสมาชิกของสมาคมอุโมงค์และพื้นที่ใต้ดินนานาชาติ(International Tunneling and Underground Space Association:ITA) ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาติที่ส่งเสริมการใช้พื้นที่ใต้ดินเพื่อประโยชน์ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม [57]
ในปี พ.ศ. 2557 สุชัชวีร์ได้รับเลือกเป็นนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[58] โดยมีวาระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2559 [59]
สุชัชวีร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในกรรมการสภาวิศวกร ในปี พ.ศ. 2558 [60]ต่อมาเขาได้รับเลือกให้เป็นนายก สภาวิศวกร ในปี พ.ศ. 2562 [61][62][63] และเขาได้ลาออกในปี พ.ศ. 2564 เพื่อลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[64]
บทบาทอื่น ๆ
แก้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551 สุชัชวีร์ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยและยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกของคณะกรรมการ[65][66] จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 [67]
มกราคม พ.ศ. 2555 สุชัชวีร์ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ [68] โดยเขาได้มีการนำเสนอแผนเปิดตัวโครงการที่พักอาศัย 22 โครงการ จำนวน 7,812 ยูนิต มูลค่า 4,700 ล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 [69] จนกระทั่งเขาได้ลาออกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 [70]
สิงหาคม พ.ศ. 2557 หัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้แต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)[71]คณะกรรมการบริหารขององค์กรได้มีมติแต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ คณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี [72] จนกระทั่งเขาลาออกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559 [73]
20 มิถุนายน 2561 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งกรรมการ(ผู้ส่งคุณวุฒิจากภาคธุรกิจ) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) [74] โดยครบกำหนดวาระในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564 [75]
นอกจากนี้สุชัชวีร์ยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สมัยแรก วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 [76] และสมัยที่สอง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560[77] กรรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2564 [78][79]มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560 [80]
ปัจจุบันสุชัชวีร์ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย[81] และดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ [82]
บทบาททางการเมือง
แก้สุชัชวีร์มีกระแสข่าวมาหลายปีแล้วว่าเตรียมลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมีการนำเสนอนโยบายและแนวคิด มาโดยตลอด ในช่วงปลายปี 2564 ก็มีข่าวว่าเขาพยายามมองหาพรรคการเมืองสังกัด จนวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้สุชัชวีร์เป็นสมาชิกพรรคตลอดชีพ[12] และเป็นว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสังกัดของพรรค โดยสุชัชวีร์ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีผลในวันเดียวกัน[33]
การลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
แก้วันที่ 15 ธันวาคม 2564 สุชัชวีร์ได้ประกาศตัวเป็นว่าที่ผู้สมัครรับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเขาได้มีการนำเสนอนโยบาย เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้ โดยมี 2 แนวทางย่อย ได้แก่ "เปลี่ยนชีวิตคนกรุงเทพฯ" ที่กล่าวถึง การสร้างอาชีพและสวัสดิการ การพัฒนาระบบสาธารณสุข และการศึกษา กับ "เปลี่ยนโครงสร้างเมือง" ที่กล่าวถึง การแก้ปัญหาจราจร การสร้างแก้มลิงใต้ดินเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม การสร้างเมืองให้มีความปลอดภัย[4] และเสนอให้ กทม. เสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2036[83]
เขาเป็นผู้สมัครหมายเลข 4 ในการรับการเลือกตั้งหลังยื่นใบสมัครอย่างเป็นทางการ[84]ระหว่างหาเสียงเขาได้นำเสนอวิสัยทัศน์ เพื่อทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองสวัสดิการต้นแบบของอาเซียน ให้ได้ภายใน 4 ปี [85]
วันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ได้มีการลงคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผลปรากฏว่าเขาไม่ได้รับเลือกตั้งโดยได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับสอง คือ 254,723 คะแนน คิดเป็น 9.60% ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนั้น [86] เขาได้แถลงยอมรับความพ่ายแพ้ และได้โทรศัพท์ไปแสดงความยินดีกับชัชชาติ สิทธิพันธุ์ซึ่งเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อไป [87]
ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
แก้ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2565 สุชัชวีร์ได้รับการเสนอชื่อเป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ในลำดับที่ 12 [88] โดยเขาได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าทีมนโยบายการศึกษาทันสมัยของพรรค[89] ต่อมาในเดือนตุลาคม จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ลงนามแต่งตั้งเขาให้เป็นประธานคณะทำงานด้านนโยบายของพรรคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมกับวทันยา บุนนาคซึ่งได้รับการมอบหมายให้เป็นประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมืองกรุงเทพฯ [90] เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร [91]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ปัจจุบัน สุชัชวีร์ สมรสกับ นางสวิตา สุวรรณสวัสดิ์ และมีบุตรชาย 3 คน[92]
เขายังได้รับฉายา “The Disruptor เมืองไทย” ในฐานะเป็นผู้พลิกฟื้น สจล. ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี สู่องค์กรระดับนานาชาติ ปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา ปัญหาการเสียดุลทางการแพทย์และเทคโนโลยี ฯลฯ สู่สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งหนึ่งของไทย[93][94]
ผลงานการเขียนหนังสือ
แก้สุชัชวีร์เคยเป็นคอลัมนิสต์ “มองอนาคตไทย” ของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ [95]และเป็นผู้เขียนหนังสือ
- เทคโนโลยีการก่อสร้างอุโมงค์ Tunneling Technology. พ.ศ. 2551, ISBN 974-150-054-8[96]
- คิดต่างสร้างการเปลี่ยนแปลง. พ.ศ. 2563, ISBN 978-616-93529-0-7[97]
- A story of the impossible สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. พ.ศ.2563 [98]
- คิด Smart โอกาสเปลี่ยนโลก พ.ศ.2567, ISBN 978-974-02-1919-4[99]
รางวัลและเกียรติคุณ
แก้- “นักบริหารดีเด่นแห่งปี ประจำปี 2555 ” สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา [100]
- ประธานาธิบดี ดไวท์ ไอเซนฮาว เฟลโลว์ซิฟ ในปี 2556 (President Eisenhower Fellowship 2013) [101]
- รางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2557 จาก สมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย [102]
- Distinguished Honorary Award สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ โทยามะ ประเทศญี่ปุ่น[103]
- Honorary Doctorate Awarded จาก มหาวิทยาลัยโตไกประเทศญี่ปุ่น ในปี 2560[104]
- รางวัล “อินทรจักร” สาขาบุคคลที่น่ายกย่องแห่งปี 2561 จากสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการวัยรุ่นไทยและวัยทำงาน ในฐานะบุคคลตัวอย่าง ที่มีความโดดเด่นในการงานอันเป็นประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ และเป็นแรงบันดาลใจแก่สาธารณชน [105]
- Fukuoka Institute of Technology Chairman’s Medal Ceremony 2565 [106]
- ศิษย์เก่าเกียรติยศ 62ปี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (The World Master of Innovation) ปี 2565[107]
- วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาการ สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในฐานะผู้ที่สามารถนำความรู้ ความสามารถด้านงานวิศวกรเมืองมาช่วยพัฒนาประเทศ [108]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[109]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[110]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ตอนพิเศษ 241 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Report) (เล่ม 132 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 2015-10-06. p. 2.
- ↑ ""พี่เอ้ ดร.สุชัชวีร์" ลาออกจากอธิการบดีสจล". pptvhd36.com. 9 Dec 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร [จำนวน ๕ ราย ๑. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ฯลฯ], เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๙๕ ง หน้า ๕, ๑๗ เมษายน ๒๕๖๒
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 NATT W. (2022-04-07). "เปิดประวัติ สุชัชวีร์ (ดร.เอ้) "The Disruptor เมืองไทย"". สปริงนิวส์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-15. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
- ↑ "คณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 6 (2558-2561)". สภาวิศวกร. 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-15. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
- ↑ สภาวิศวกร - Council of Engineers Thailand (2021-12-09). "คณะกรรมการสภาวิศวกร ได้มีมติเลือก รองศาสตราจารย์ ปิยะบุตร วาณิชพงษพันธุ์ ดำรงตำแหน่งนายกสภาวิศวกร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-15. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
- ↑ NATT.W (7 April 2022). "เปิดประวัติ สุชัชวีร์ (ดร.เอ้) "The Disruptor เมืองไทย"". สปริงนิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
- ↑ 8.0 8.1 "'Disruptor' Suchatvee Suwansawat ready to shine his bright light on Bangkok". Thai PBS. 14 December 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
- ↑ 9.0 9.1 ""Suchatvee Suwansawat"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2017. สืบค้นเมื่อ 31 October 2022.
- ↑ ""Professor Dr. Suchatvee Suwansawat"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2022. สืบค้นเมื่อ 31 October 2022.
- ↑ ""ครม. อนุมัติรายชื่อหลักสูตร วปอ. รุ่น 66 จำนวน 289 คน"". 11 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2023. สืบค้นเมื่อ 22 December 2023.
- ↑ 12.0 12.1 "สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ : จาก "พี่เอ้" อธิการบดี สจล. ผู้ "ไม่กลัวทัวร์" ก่อนเปิดตัวลงผู้ว่าฯ กทม". BBC. 10 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
- ↑ "บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ". www.basd.mhesi.go.th. 27 December 2019. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 14.0 14.1 "หมายเลข 4 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์". mgronline.com. 11 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
- ↑ "ตอนพิเศษ 166 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ (Report) (เล่มที่ 129 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 31 October 2012. p. 9.
- ↑ "ตอนพิเศษ 49 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Report) (เล่มที่ 137 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 2 March 2020. p. 8.
- ↑ Burns, Krista (28 November 2017). "CMU and KMITL Announce Research and Education Collaboration". Carnegie Mellon University (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
- ↑ "CMKL's AI Supercomputer Leads the Battle Against COVID-19". บางกอกโพสต์ (ภาษาอังกฤษ). 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Kosen-KMITL History". Kosen-KMITL (ภาษาอังกฤษ). 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
- ↑ "ศธ.ผุดสถาบันไทยโคเซ็น ผลิตวิศวกรนักปฏิบัติป้อน EEC". ประชาชาติ. 30 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
- ↑ ดิจิทัล, ฐานเศรษฐกิจ (31 March 2022). "รู้จัก สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตอธิการบดี สจล. สู่สนามเลือกตั้งกทม". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
- ↑ "The Founding of 42 Bangkok". 42 Bangkok (ภาษาอังกฤษ). 15 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
- ↑ ""Ecole 42 Bangkok" เรียนฟรีนักโปรแกรมเมอร์ระดับโลก". Bangkokbiznews. 3 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
- ↑ "ตอนพิเศษ 49 ง.". Notification of King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang Re: Establishment of Divisions of King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (No.18), B.E. 2564 (A.D. 2021) (PDF) (Report) (ภาษาอังกฤษ) (เล่ม 138 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 28 January 2021. p. 67.
- ↑ "ประวัติความเป็นมา". KMCHF. สืบค้นเมื่อ 2 November 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สจล.รุกตั้ง "โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร" เป็นศูนย์การแพทย์". ไทยรัฐ. 22 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2 November 2022.
- ↑ โซเชียลนิวส์ (19 October 2021). "สจล. เดินเครื่องก่อสร้าง "รพ. พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร" คาดแล้วเสร็จใน 2 ปี หนุนการเข้าถึงระบบสาธารณสุข และ นวัตกรรมทางการแพทย์". MCOT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2 November 2022.
- ↑ ""วิศวลาดกระบัง "ยืนหนึ่งหลักสูตรมากสุด เป้ายกระดับเป็น 1ใน10อาเซียน". คมชัดลึก. 2021-09-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
- ↑ Ken Mathis Lohatepanont (2021-12-20). "The Bangkok gubernatorial election explained". Thai Enquirer (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
- ↑ "เอ้ สุชัชวีร์ บนเก้าอี้อธิการบดี : การพลิกโฉม สจล. สู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ". สปริงนิวส์. 2022-05-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
- ↑ ""วิศวลาดกระบัง "ยืนหนึ่งหลักสูตรมากสุด เป้ายกระดับเป็น 1ใน10อาเซียน". คมชัดลึก. 2021-09-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
- ↑ Thammarat Thadaphrom (2018-03-01). "KMITL opens international program in medical science". Nation News Bureau of Thailand (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
- ↑ 33.0 33.1 ""พี่เอ้" สุชัชวีร์ ชายผู้ประกาศตัว "ไม่กลัวทัวร์" ก่อนเปิดตัวลงผู้ว่าฯ กทม". BBC News ไทย. 10 Dec 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Techsauce Team (2021-11-11). "สจล. เปิด KIDS University มหาวิทยาลัยเด็กเล็ก พร้อมหลักสูตรสร้าง New Skills ดันเด็กไทยให้ก้าวล้ำนานาชาติ". Techsauce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-07. สืบค้นเมื่อ 2023-04-07.
- ↑ "ปม"สจล."ที่ปรึกษาโครงการริมฝั่งเจ้าพระยา "177ศิษย์เก่าสถาปัตย์"&"ผู้บริหาร" ใครเข้าใจผิด??". ผู้จัดการ. 23 April 2016. สืบค้นเมื่อ 25 December 2021.
- ↑ CUPT (2022). "เกี่ยวกับเรา รายชื่อประธาน". Council of University Presidents of Thailand (CUPT). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
- ↑ "ทปอ. เดินหน้าบทบาท มหาวิทยาลัย 4.0 เลือก 'สุชัชวีร์' นั่ง ปธ.คนใหม่". ไทยรัฐ. 2016-08-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
- ↑ "'ทปอ.' ยก 'สุชัชวีร์' อธิการ สจล. นั่งเก้าอี้ต่อ ดัน ทีแคส คัดนศ.เข้ามหาวิทยาลัย ปี 62". ข่าวสด. 2018-08-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ (PDF) (Report). กระทรวงศึกษาธิการ. 2017-05-23. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
- ↑ "เปลี่ยนชื่อระบบรับนศ.'แอดมิชชั่น'เป็น'TCAS'". dailynews. 2017-06-01.
- ↑ "วันแรกก็ล่มแล้ว!! สมัครเข้ามหา'ลัย ระบบ TCAS รอบ 3 นร.บ่นอนาคตเนี่ยจะล่ม". mgronline.com. 2018-05-09.
- ↑ "4หมื่นคนต่อวินาที!ทปอ.แจงเด็กแห่สมัครTCASรอบ3เพียบทำระบบล่ม". แนวหน้า. 2018-05-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
- ↑ "ปัญหา 'กั๊กที่นั่ง' ที่ระบบบังคับ- เมื่อ "TCAS" ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทำเด็ก 'ปวดหัว'". ข่าวสด. 2018-05-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บทเรียนเจ็บปวด TCAS : ผู้ใหญ่คิด แต่เด็กรับกรรม". VoiceTV. 1 Jun 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ชำแหละจุดอ่อน TCAS ภาระหนักอึ้งของ #Dek61 สะท้อนปัญหาใหญ่ระบบการศึกษาไทย". THE STANDARD. 2018-06-13.
- ↑ "'ทปอ.' ยก 'สุชัชวีร์' อธิการ สจล. นั่งเก้าอี้ต่อ ดัน ทีแคส คัดนศ.เข้ามหาวิทยาลัย ปี 62". ข่าวสด. 2018-08-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
- ↑ "ทปอ. ตั้งบอร์ด 3 ด้าน สางปัญหา TCAS พร้อมเปิดรอบ 5 รับตรงเดือนหน้า". เวิร์คพอยท์. 2018-06-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
- ↑ "ทปอ.เปิดตัว 3 ระบบไอที รับสมัคร TCAS 62 รองรับการใช้งานสูงสุด 30,000 ครั้งต่อวินาที เริ่มใช้งาน 1 ธ.ค.นี้". ไทยพีบีเอส. 2018-09-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
- ↑ "มติทปอ.เตรียมปรับปรุงข้อสอบ TCAS เริ่มใช้ปี 65". ผู้จัดการออนไลน์. 2019-04-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
- ↑ "Presidents of ASAIHL". Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ภาษาอังกฤษ). 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
- ↑ "Contact US". Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning. สืบค้นเมื่อ 8 November 2022.
- ↑ 52.0 52.1 Suwansawat, Suchatvee (2002). Earth pressure balance (EPB) shield tunneling in Bangkok : ground response and prediction of surface settlements using artificial neural networks (Sc.D.) (ภาษาอังกฤษ). Massachusetts Institute of Technology. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
- ↑ AFEO. "Engineering Institute of Thailand (Young Engineer chapter)". The ASEAN Federation of Engineering Organisations (AFEO) (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
- ↑ Fuller, Thomas (February 2, 2007). "Thailand's airport imbroglio grows - Asia - Pacific - International Herald Tribune". International Herald Tribune – โดยทาง The New York Times.
- ↑ "Thailand's airport imbroglio grows - International Herald Tribune". www.iht.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-04.
- ↑ TunnelTalk (2012). "WTC Bangkok extends official welcome to ITA". TunnelTalk (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
- ↑ "The Thailand Underground and Tunnelling Group (TUTG) of the Engineering Institute of Thailand, under His Majesty the King's Patronage, says the country has the potential to become a hub for Asean underground and tunnel construction, provided it receives m". เนชั่นทีวี (ภาษาอังกฤษ). 2012-05-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
- ↑ PR COE (2014-01-21). "กิจกรรมของสภาวิศวกร: แสดงความยินดีกับนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย" (PDF) (Press release). The Council of Engineers Thailand. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
- ↑ "แต่งตั้งลงนามและมอบหมายหน้าที่คณะกรรมการอำนวยการ วาระปี พ.ศ. 2557-2559". คำสั่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ 001/2557 (PDF). Department of Children and Youth (Report). The Engineering Institute of Thailand. 2014-01-02. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
- ↑ "ตอนพิเศษ 289 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร (Report) (เล่มที่ 132 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 9 November 2015. p. 1.
- ↑ "ตอนพิเศษ 95 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร (Report) (Vol. 136 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 17 April 2019. p. 5.
- ↑ "ศ. ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7". Engineering today. 2019-04-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
- ↑ ""ศ.ดร.สุชัชวีร์" ดำรงตำแหน่งนายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 ชูบทบาทยกระดับมาตรฐานวิศวกรให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม". RYT9. 2019-04-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
- ↑ ""ดร.สุชัชวีร์" ลาออกจากสภาวิศวกร ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกรแทน". เนชั่นทีวี. 2022-04-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-09.
- ↑ "48 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (Report) (เล่ม 125 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 24 April 2008. p. 1.
- ↑ "ข่าวมอนิเตอร์ประจำวันที่ 9 ธันวาคม 2551". ประชาไท. 2008-12-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
- ↑ "คณะกรรมการการรถไฟฯ". State Railway of Thailand Annual Report 2009 (PDF). การรถไฟแห่งประเทศไทย Official Website (Report). การรถไฟแห่งประเทศไทย. 2009. p. 82. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-01-31. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
- ↑ "26 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ (Report) (เล่ม 129 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 31 January 2012. p. 25.
- ↑ "NHA ready to launch 22 housing projects". บางกอกโพสต์ (ภาษาอังกฤษ). 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ รายงานประจำปีการเคหะแห่งชาติปี 2556 (PDF). การเคหะแห่งชาติ Official Website (Report). 2013. p. 27. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
{{cite report}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "65 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (Report) (Vol. 133 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 17 March 2016. p. 18.
- ↑ "Order of the Bangkok Mass Transit Authority No.991-2557". Bangkok Mass Transit Authority Annual Report 2015 (PDF). องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ Official Website (Report) (ภาษาอังกฤษ). องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. 2015. p. 72. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
- ↑ "BMTA Board of Directors (October 2015-30 September 2016) held a total of 15 meeting". Bangkok Mass Transit Authority Annual Report 2016 (PDF). องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ Official Website (Report) (ภาษาอังกฤษ). องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. 2016. p. 92. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
- ↑ "ตอนพิเศษ 142 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง (Report) (เล่มที่ 135 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 20 June 2018. p. 9.
- ↑ "คณะกรรมการ การไฟฟ้านครหลวงปี 2564". รายงานประจำปีการไฟฟ้านครหลวง 2021. การไฟฟ้านครหลวง Official Website (Report). การไฟฟ้านครหลวง. 2021. p. 74. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
- ↑ "ตอนพิเศษ 28 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (Report) (Vol. 128 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 10 June 2011. p. 26.
- ↑ "ตอนพิเศษ 248 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (Report) (Vol. 134 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 6 October 2017. p. 3.
- ↑ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยรังสิต (2016). "กรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ. 2559". หอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
- ↑ รายงานการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 4/2564 (PDF). มหาวิทยาลัยรังสิต Official Website (Report). สภามหาวิทยาลัยรังสิต. 2021-09-17. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-14.
- ↑ "ตอนพิเศษ 150 ง.". ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (Report) (Vol. 133 ed.). ราชกิจจานุเบกษา. 4 July 2016. p. 19.
- ↑ "ทุนรัฐบาลดีเด่น+ดาวรุ่ง 8 ราย 8 สาขา ขับเคลื่อนประเทศ". ประชาชาติธุรกิจ. 2020-12-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารชูเทคโนโลยีการแพทย์ พร้อมให้บริการปี 67". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'สุชัชวีร์' เปิดตัวโชว์วิสัยทัศน์ ชูเปลี่ยนกทม.เมืองสวัสดิการทันสมัย มั่นใจแก้ปัญหาคนกรุง น้ำท่วม-การศึกษา". WorkpointTODAY1. 2021-12-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- ↑ "เปิดหมายเลขผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-03-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
- ↑ "เอ้ สุชัชวีร์ โชว์วิสัยทัศน์ขอโฟกัส 4 ปี ดันกทม.เป็นเมืองสวัสดิการต้นแบบของอาเซียน". สยามรัฐ. 2022-04-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
- ↑ MCOT HD (2022-05-23). "(คลิปเต็ม) เจาะผลเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก". YouTube. สืบค้นเมื่อ 2022-06-01.
- ↑ ""สุชัชวีร์" แถลงรับแพ้เลือกตั้ง ยินดี "ชัชชาติ" เป็นผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่". ไทยรัฐ. 2022-05-22.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- ↑ Aekarach Sattaburuth (2022-09-04). "Suchatvee in city education drive". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
- ↑ "Democrats set sights on city". บางกอกโพสต์ (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
- ↑ ""เดชอิศม์" นั่งเลขาฯ ปชป. "ดร.เอ้" รองหัวหน้าพรรค คุม กทม. "นราพัฒน์-ตั๊น จิตภัสร์" ขึ้นรอง หน.ตามภารกิจ" (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-22. สืบค้นเมื่อ 2023-12-22.
- ↑ "เจาะธุรกิจ "เมีย" - โชว์หลักฐาน! "ดร.เอ้" แจ้ง ป.ป.ช. "จดทะเบียนสมรส" ปี 63". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-10-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "THe Disruptor' เมืองไทย สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์". bangkokbiznews. 2019-08-01.
- ↑ "ถอดรหัสลับสู่ความสำเร็จในฐานะ The Disruptor แถวหน้าของเมืองไทย". ThaiPR.NET. 2021-09-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ข่าวสื่อมวลชน :มองอนาคตไทย". KMITL. 2017-02-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
- ↑ เทคโนโลยีการก่อสร้างอุโมงค์ Tunneling Technology. Author : สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
- ↑ คิดต่างสร้างการเปลี่ยนแปลง. Author : สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
- ↑ A story of the impossible สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. Author : สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
- ↑ คิด Smart โอกาสเปลี่ยนโลก Author : สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
- ↑ "รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รับรางวัล "นักบริหารดีเด่นแห่งปี 2555". PRESS RELEASE. 2012-09-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
- ↑ "Suchatvee 'Vince' Suwansawat". Eisenhower Fellowships (ภาษาอังกฤษ). 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายก วสท. รับรางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2557". RYT8. 2014-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
- ↑ kejjy (2015-12-17). "NIT Toyama College – KMITL President's Distinguished Honorary Award". Office of International Affairs :KMITL (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
- ↑ superdia (2017-11-01). "Honorary Doctorate awarded to Prof. Dr. Suchatvee Suwansawat". Office of International Affairs :KMITL (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
- ↑ "ศ.ดร.สุชัชวีร์ อธิการบดี สจล. ได้รับรางวัล บุคคลที่น่ายกย่องแห่งปี 2561". สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง . 2018-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายก วสท. รับรางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2557". ไทยรัฐ . 2014-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
- ↑ ""สุชัชวีร์" ติด1ใน12 ผู้รับรางวัลศิษย์เก่าเกียรติยศ สจล.ครบรอบ62ปี". คมชัดลึก. 2014-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
- ↑ "ม.เกษมบัณฑิต มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้ "พี่เอ้ สุชัชวีร์" อดีตอธิการบดี สจล."". เดลินิวส์. 2023-02-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-07. สืบค้นเมื่อ 2023-04-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๖, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๑๔๖, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ที่เฟซบุ๊ก
- เว็บไซต์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เก็บถาวร 2021-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน