สิทธิสตรีในกัมพูชา
สตรีในกัมพูชามีภาพลักษณ์เช่นเดียวกับอัปสราในนครวัดคือมีรอยยิ้มสุภาพ นอกจากนั้น ภาพลักษณ์ของสตรีในอุดมคติยังได้จากนิทานพื้นบ้าน Srey Kroup Leakhnak ในชนบท หญิงกัมพูชามีบทบาทในการดูแลบ้าน เป็นผู้ดูแลสมาชิกในครอบครัวและการเงิน รักษาพรหมจรรย์จนกว่าจะแต่งงาน[1] เป็นภรรยาที่ซื่อสัตย์ เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้เป็นสามี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน หญิงกัมพูชาก้าวพ้นจากโลกในครอบครัว เข้ามาสู่การทำงานนอกบ้านและโลกทางการเมืองมากขึ้น
การทำงาน
แก้เมื่อสงครามกลางเมืองกัมพูชาสิ้นสุดลง กัมพูชาประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานชาย ทำให้หญิงมีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ภายใต้กฎหมายของกัมพูชา หญิงที่ทำงานจะได้ค่าแรงเช่นเดียวกับชาย แต่ในความเป็นจริงยังมีหญิงที่ได้ค่าแรงต่ำกว่าชายอยู่ ในช่วง พ.ศ. 2533 มีการอพยพเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น
ศาสนา
แก้หญิงมีบทบาทในศาสนาพุทธและการเข้าร่วมพิธีกรรมและงานเฉลิมฉลองทางศาสนา หญิงที่มีอายุมากหรือเป็นหม้ายมักบวชชี
การศึกษา
แก้ใน พ.ศ. 2547 มีสตรีกัมพูชา 45% ที่รู้หนังสือและมีเพียง 16% ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[2] สาเหตุที่ทำให้เด็กหญิงในกัมพูชามีการศึกษาน้อยมีหลายประการ เช่น ต้องเลี้ยงน้องอยู่กับบ้าน ทำงานบ้าน หรือโรงเรียนอยู่ไกลเกินไป แต่แนวโน้มการศึกษาของหญิงในกัมพูชากำลังเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2547 20% ของผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเป็นผู้หญิง[2]
สถานะทางการเมือง
แก้ก่อน พ.ศ. 2523 หญิงกัมพูชาที่มีบทบาททางการเมืองมีน้อยมาก แต่หลังจาก พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา มีหญิงเข้าร่วมในการเมืองและองค์ต่างๆมากขึ้นเพื่อเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิสตรี ใน พ.ศ. 2537 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเป็นหญิง 10% สมาชิกสภาระดับชุมชนเป็นหญิง 8%.[2]
สถานะทางกฎหมาย
แก้สถานะทางกฎหมายในกัมพูชา ระบุว่าชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน หญิงมีสิทธิในการหย่าร้างได้ง่าย
โสเภณี
แก้โสเภณีในกัมพูชาเกี่ยวข้องกับผู้หญิงระดับล่างและหญิงจากเวียดนาม[3] มีความเชื่อมโยงกับขบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย การแพร่หลายของโสเภณีทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์[4]
สวัสดิการ
แก้ในชนบท หญิงมักพบปัญหาความรุนแรงเพราะมีการศึกษาต่ำ[5] จึงปกป้องตัวเองได้น้อยจากอาชญากรรม การข่มขืน ความไม่เท่าเทียมทางเพศง
สถานะทางสังคม
แก้หญิงวัยรุ่นในปัจจุบันในกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมาก หญิงกัมพูชาโดยเฉพาะในพนมเปญดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น มักมีปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว มีเพื่อนชายมาก [6]
อ้างอิง
แก้- ↑ Chey, Elizabeth. The Status of Khmer Women, Mekong.net
- ↑ 2.0 2.1 2.2 The Status of Women in Cambodia[ลิงก์เสีย], Gender and Development for Cambodia, online.com.kh
- ↑ Cambodia, Factbook on Global Sexual Exploitation, uri.edu
- ↑ The Status of Women in Society เก็บถาวร 2015-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, seasite.niu.edu
- ↑ Gender Roles and Statuses, everyculture.com
- ↑ Women in Cambodia are increasingly becoming social drinkers เก็บถาวร 2012-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Phnom Penh Post. April 6, 2011.
อ่านเพิ่มเติม
แก้- McCarthy, Casey. Cambodia's First Lady becomes National Champion for Women's and Children's Health เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, February 21, 2011, un.org.kh
- Cambodia's First Lady appointed national champion for women’s and children’s health, Feature Story, February 23, 2011, unaids.org
- The Situation of Women in Cambodia, July 2004, 55 pages.
- Staff. Accelerating the Global Health Initiative: Cambodia's HIV/AIDS Efforts Put Women in the Driver's Seat เก็บถาวร 2011-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Women in Development, February/March 2011, USAID from the American people, usaid.gov
- Outreach Worker Manual เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Cambodian Women's Health Project, January 1998, 60 pages, cancercontrol.cancer.gov