สิงโตทะเล
สิงโตทะเล | |
---|---|
สิงโตทะเลกาลาปากอส (Zalophus wollebaeki) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
อันดับย่อย: | Caniformia |
วงศ์: | Otariidae |
วงศ์ย่อย: | Otariinae |
สกุล[1] | |
สิงโตทะเล หรือ หมีทะเล (อังกฤษ: Sea lions, Sea bears) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Otariidae ในวงศ์ใหญ่Pinnipedia หรือแมวน้ำ จัดเป็นแมวน้ำมีหูจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก ตั้งแต่ทะเลเขตหนาวแถบขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติก และเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นในทวีปแอฟริกาหรืออเมริกาใต้ หรือบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น เกาะกาลาปากอส
สิงโตทะเล มีลักษณะแตกต่างจากแมวน้ำ คือ มีใบหูขนาดเล็กที่ข้างหัวทั้งสองข้าง สามารถใช้ครีบทั้งสี่ข้างนั้นคืบคลานไปมาบนบกได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนเดิน ต่างจากแมวน้ำที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เมื่ออยู่บนบกครีบของแมวน้ำใช้ได้เพียงแค่คืบคลานหรือกระเถิบตัวเพื่อให้เคลื่อนที่เท่านั้น
สิงโตทะเลโดยทั่วไปมีอายุโดยเฉลี่ย 20–30 ปี อาหารหลัก คือ ปลาและปลาหมึก มีลักษณะและขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดในแต่ละภูมิภาค โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ สิงโตทะเลสเตลลาร์ (Eumetopias jubatus) ที่ตัวผู้อาจยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม สิงโตทะเลชนิดที่พบได้บ่อย คือ สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย (Zalophus californianus) ตัวผู้มีความยาว 2.41 เมตร เมื่อโตเต็มที่ น้ำหนัก 300 กิโลกรัม[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Otariinae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ หน้า 3 ในประเทศ, สิงโตทะเล (Sea Lion) ในเรื่องเล่าข้ามโลก. "NOW WATCH". คมชัดลึกปีที่ 15 ฉบับที่ 5448: วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559