สังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นสาขาวิชาการและวิชาชีพซึ่งมุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของปัจเจกบุคคล กลุ่มหรือชุมชน โดยดำเนินการผ่านการวิจัย นโยบาย การจัดการชุมชน การปฏิบัติโดยตรง และการสอนในนามของผู้ที่ประสบความยากจนหรือผู้ที่ได้รับหรือรู้เห็นความอยุติธรรมในสังคมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การวิจัยมักมุ่งไปยังขอบเขต เช่น การพัฒนามนุษย์ นโยบายสังคม การบริหารสาธารณะ การประเมินผลโครงการ และการพัฒนาระหว่างประเทศและชุมชน นักสังคมสงเคราะห์จัดเป็นกลุ่มวิชาชีพท้องถิ่น ระดับชาติ ภูมิภาคและระหว่างประเทศ สังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นแวดวงสหวิทยาการ ครอบคลุมทั้งทฤษฎีวิชาเศรษฐศาสตร์ การศึกษา สังคมวิทยา การแพทย์ ปรัชญา การเมืองและจิตวิทยา

ประวัติศาสตร์

แก้

มโนทัศน์การกุศลสืบย้อนไปได้ถึงครั้งโบราณกาล และการปฏิบัติสนับสนุนคนยากจนนั้นมีที่มาในหลายอารยธรรมโบราณหลักและศาสนาสากล

สังคมสงเคราะห์มีที่มาในการยกระดับทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่สังคมต่อสู้เพื่อจัดการกับยากจนและปัญหาผลพวง เพราะการจัดการกับความยากจนเป็นความสนใจหลักของสังคมสงเคราะห์ระยะแรก จึงมีความเชื่อมโยงกับมโนทัศน์งานการกุศลอย่างแยกไม่ค่อยออก แต่ปัจจุบันได้มีความหมายกว้างกว่าในอดีตมาก ตัวอย่างเช่น นักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่มักไม่ค่อยจัดการกับปัญหาผลพวงอันเกิดจาก "ปัญหาสังคม" อื่นทั้งหลาย เช่น การเหยียดเชื้อชาติ การกีดกันทางเพศ การกลัวคนและการเลือกปฏิบัติเพราะอายุหรือความสามารถทางกายหรือจิต แต่นักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่หลายคนก็จัดการกับผลพวงของปัญหาเหล่านี้และปัญหาสังคมอื่นอีกมากในทุกภาคส่วนของงานบริการสังคม เช่นเดียวกับในสาขาอื่นๆ

ขณะที่สังคมสงเคราะห์ดำเนินการบนรากฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าโดยมุ่งควบคุมและปฏิรูปปัจเจกบุคคล (ครั้งหนึ่ง ได้มีการสนับสนุนญัตติว่าความยากจนเป็นโรคอย่างหนึ่ง) ในสมัยปัจจุบันได้มีการใช้แนวเข้าสู่การศึกษาที่มีวิจารณญาณและเป็นองค์รวมมากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจและแทรกแซงปัญหาสังคม ตัวอย่างเช่น สังคมสงเคราะห์ปัจจุบันได้นำไปสู่การสร้างกรอบมโนทัศน์ความยากจนใหม่ว่าเป็นปัญหาของผู้มีอันจะกินต่อผู้ไม่มีอันจะกินมากกว่าสถานะในอดีตที่เป็นโรค ความเจ็บป่วยหรือข้อบกพร่องทางศีลธรรมที่ต้องการการรักษา ซึ่งยังชี้ไปยังการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งในวิวัฒนาการของสังคมสงเคราะห์ คือ เมื่อสังคมสงเคราะห์มีส่วนมากขึ้นในการควบคุมสังคม ก็ได้กลายมาเป็นวิชาชีพที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างพลังทางสังคมมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่านักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่ไม่ได้ข้องเกี่ยวกับการควบคุมสังคม (พิจารณาตัวอย่างเช่น นักคุ้มครองเด็กตามกฎหมาย) และนักสังคมสงเคราะห์ส่วนมากจะตกลงว่าสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่เป็นความตึงเครียดและการถกเถียงที่กำลังดำเนินอยู่

การพัฒนาวิชาชีพร่วมสมัย

แก้

สหพันธ์นักสังคมสงเคราะห์สากลแถลงเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ปัจจุบันว่า

"สังคมสงเคราะห์อาศัยวิธีการจากงานความรู้อิงหลักฐานเป็นระบบ ซึ่งได้มาจากการวิจัยและการปฏิบัติประเมินค่า รวมทั้งความรู้ท้องถิ่นและพื้นเมืองเจาะจงต่อบริบทของมัน สังคมสงเคราะห์เล็งเห็นความซับซ้อนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และขีดความสามารถของมนุษย์ทั้งที่ได้รับผลกระทบจากและเปลี่ยนแปลงอิทธิพลทั้งหลายที่มีต่อเขาเหล่านั้น รวมทั้งปัจจัยทางชีว-จิตสังคม วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ดึงทฤษฎีการพัฒนามนุษย์ ทฤษฎีสังคมและระบบสังคมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ซับซ้อนและเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การเปลี่ยนแปลงปัจเจกบุคคล องค์การ สังคมและวัฒนธรรม"[1]

คุณสมบัติ

แก้

นักสังคมสงเคราะห์อาชีพโดยทั่วไปพิจารณาว่าผู้นั้นต้องสำเร็จปริญญา นอกจากนี้ มักต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือขึ้นทะเบียนวิชาชีพด้วย

การศึกษานักสังคมสงเคราะห์เริ่มต้นด้วยปริญญาตรีด้านสังคมสงเคราะห์ บางประเทศยังมีการสอนบัณฑิตวิทยาลัยด้านสังคมสงเคราะห์ เช่น ปริญญาโทหรือปริญญาเอก มีผู้สำเร็จการศึกษาสังคมสงเคราะห์ศึกษาหลังปริญญาเอกเพิ่มขึ้นทุกที มีการถกเถียงว่าการศึกษาสังคมสงเคราะห์ควรเป็นกระบวนการตลอดชีวิต

ในประเทศและเขตอำนาจจำนวนหนึ่ง ผู้ที่ทำงานเป็นนักสังคมสงเคราะห์ต้องขึ้นทะเบียนหรือการทำใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและมีคุณสมบัติบังคับไว้[2] ส่วนในประเทศอื่น สมาคมวิชาชีพกำหนดคุณสมบัติทางวิชาการสำหรับการเข้าเป็นสมาชิก ความสำเร็จในความพยายามของหน่วยงานวิชาชีพเหล่านี้ปรากฏในข้อเท็จจริงที่ว่ามีข้อกำหนดเดียวกันรับรองโดยนายจ้างว่าจำเป็นต่อการว่าจ้าง[3]

บทบาทของวิชาชีพ

แก้

งานหลักของนักสังคมสงเคราะห์อาชีพมีบริการหลายอย่าง เช่น การจัดการรายกรณี (เชื่อมโยงผู้ใช้บริการกับหน่วยงานและโครงการซึ่งจะเป็นไปตามความต้องการทางจิตสังคมของพวกเขา พบทั่วไปในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร) ให้คำปรึกษาและจิตบำบัด การจัดการบริการสังคม วิเคราะห์นโยบายสวัสดิการสังคม การพัฒนานโยบายและการปฏิบัติ การจัดการชุมชน การพัฒนาระหว่างประเทศ สังคมและชุมชน การว่าความ การสอน (ในโรงเรียนหรืองานสังคมสงเคราะห์) และการวิจัยทางสังคมและการเมือง

อ้างอิง

แก้
  1. "Definition of Social Work". IFSW General Meeting in Montreal, Canada, July 2000. International Federation of Social Workers. October 4, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2012. สืบค้นเมื่อ February 19, 2008.
  2. The National Association of Social Workers (NASW, 2005). NASW Fact Sheet. Retrieved November 15, 2006 from http://www.socialworkers.org.
  3. "Catholic Social Workers National Association". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2012-01-02.