สหัส บัณฑิตกุล
สหัส บัณฑิตกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[1] และอดีตรองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย
สหัส บัณฑิตกุล | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 16 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | นายสมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม สนธิ บุญยรัตกลิน |
ถัดไป | ชวลิต ยงใจยุทธ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล สนั่น ขจรประศาสน์ โอฬาร ไชยประวัติ |
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2493 กรุงเทพ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้สหัส บัณฑิตกุล หรือ ดร.สหัส บัณฑิตกุล เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโท วิศวกรรมเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปริญญาตรีรุ่นเดียวกับนายธีรพล นพรัมภา) ระดับปริญญาโท ใบที่สอง สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ และระดับปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเข้ารับการศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูง จากสถาบันพระปกเกล้า และหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)
การทำงาน
แก้ดร.สหัส บัณฑิตกุล เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2514- พ.ศ. 2516 แล้วจึงย้ายมาทำงานเป็นวิศวกร สังกัดการรถไฟแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2521 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2532 ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ แล้วลาออกไปทำงานในบริษัทเอกชนระหว่างปี พ.ศ. 2534- พ.ศ. 2542
หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทำให้มีชื่อของนายสหัส บัณฑิตกุล เข้ามาเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา[2] ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชาชน โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้นายสหัส บัณฑิตกุล ได้รับตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคนสนิทของนายสมัคร สุนทรเวช และเป็นญาติห่างๆ กับคุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช[3] ซึ่งนายสหัส บัณฑิตกุล ได้ลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัตินายสหัส บัณฑิตกุล
- ↑ นายสหัส บัณฑิตกุล เข้ามาเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปิดปูมรมต."สมัคร 1" ด้านสังคม-การเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-01.
- ↑ สหัส โบกมือลาทิ้งเก้าอี้รองนายกฯ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓