พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6[1] (ทั้งภาษาเดนมาร์กกับนอร์เวย์:Frederik; 28 มกราคม พ.ศ. 2311 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก (13 มีนาคม พ.ศ. 2351 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382) และพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์กกับสมเด็จพระราชินีมาทิลดาแห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นพระขนิษฐาในพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น พระประมุขสูงสุดที่ทรงภูมิธรรม (An enlightened despot) ในยุคเรืองปัญญา คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ พระผู้เป็นเจ้าและความยุติธรรม (Gud og den retfærdige sag)

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์13 มีนาคม ค.ศ. 1808 – 3 ธันวาคม ค.ศ. 1839
ราชาภิเษก31 กรกฎาคม ค.ศ. 1815
ปราสาทเฟรเดอริกส์บอร์ก
ก่อนหน้าพระเจ้าคริสเตียนที่ 7
ถัดไปพระเจ้าคริสเตียนที่ 8
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
ครองราชย์13 มีนาคม ค.ศ. 1808 – 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1814
ก่อนหน้าพระเจ้าคริสเตียนที่ 7
ถัดไปพระเจ้าคริสเตียน เฟรเดอริก
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์
ระหว่าง14 เมษายน ค.ศ. 1784 – 13 มีนาคม ค.ศ. 1808
ก่อนหน้าเจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก
พระมหากษัตริย์พระเจ้าคริสเตียนที่ 7
พระราชสมภพ28 มกราคม ค.ศ. 1768
พระราชวังคริสเตียนบอร์ก โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
สวรรคต3 ธันวาคม ค.ศ. 1839
พระราชวังอามาเลียนบอร์ก โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
(พระชนมายุ 71 พรรษา)
คู่อภิเษกเจ้าหญิงมารี โซฟีแห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิล
พระราชบุตร
เจ้าชายคริสเตียน
เจ้าหญิงมารี หลุยส์
เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งเดนมาร์ก
เจ้าหญิงหลุยส์
เจ้าชายคริสเตียน
เจ้าหญิงจูเลียนา หลุยส์
เจ้าหญิงเฟรเดอริเก มารี
เจ้าหญิงวิลเฮลมิเน มารีแห่งเดนมาร์ก
โลวีซา เคานท์เตสแห่งเดนเนมานด์
คาโรไลน์ เคานท์เตสแห่งเดนเนมานด์
เฟรเดอริก เคานท์แห่งเดนเนมานด์
วัลเดมาร์ เคานท์แห่งเดนเนมานด์
ราชวงศ์ราชวงศ์ออลเดนบูร์ก
พระราชบิดาพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาเจ้าหญิงแคโรไลน์ มาทิลดาแห่งบริเตนใหญ่

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

แก้
 
พระนางมาทิลดาทรงพระประสูติกาลเจ้าชายเฟรเดอริก ในปี พ.ศ. 2311

เจ้าชายเฟรเดอริกพระราชสมภพในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2311 ณ พระราชวังคริสเตียนเบอร์ก โคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก พระราชบิดาคือพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ส่วนพระราชมารดาคือสมเด็จพระราชินีมาทิลดาแห่งเดนมาร์ก ซึ่งทรงเป็นสมาชิกในราชวงศ์อังกฤษ หลังจากพระราชสมภพ เจ้าชายทรงได้รับพระอิศริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์

พระราชบิดาของพระองค์มีพระสติวิปลาส ในตอนที่พระนางมาทิลดาทรงประสูติพระโอรสซึ่งก็คือเจ้าชายเฟรเดอริก ก็ไม่ทำให้พระอาการทุเลาขึ้น หลังการประสูติกาลได้เพียงหนึ่งปี พระนางมาทิลดา พระมารดาได้มีความสัมพันธ์กับ โจฮันน์ ฟรีดิช สตรูเอนซี จิตแพทย์ชาวเยอรมันและแพทย์ส่วนพระองค์ของพระเจ้าคริสเตียน และทำให้สตรูเอนซีได้ก้าวขึ้นมามีบทบาททางการเมือง

พระนางมาทิลดาและสตรูเอนซีเป็นผู้กำหนดการศึกษาของพระโอรส ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2314 พระนางมาทิลดาทรงพระประสูติกาลพระธิดาองค์หนึ่งอย่างลับ ๆ ที่พระราชวังเฮิร์สโชล์ม ซึ่งก็คือ เจ้าหญิงหลุยส์ ออกัสตาแห่งเดนมาร์ก และเป็นที่ลือกันว่าพระบิดาของเจ้าหญิงไม่ใช่พระเจ้าคริสเตียนแต่เป็นสตรูเอนซี แต่พระเจ้าคริสเตียนกลับทรงยินดีที่ได้พระธิดาและทรงเชื่อว่าเป็นสายพระโลหิตของพระองค์จริง พระองค์ได้ลงพระปรมาภิไธยยอมรับการประสูติกาล ซึ่งทำให้เจ้าหญิงเป็นพระขนิษฐาของเจ้าชายเฟรเดอริคโดยอัตโนมัติ

ผู้สำเร็จราชการแห่งเดนมาร์ก

แก้
 
พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก เมื่อครั้งยังทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ

ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2315 เจ้าชายเฟรเดอริก ขณะมีพระชนมายุ 3 พรรษา ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้สำเร็จราชการแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ โดยทรงอยู่ภายใต้พระนางมาทิลดา ผู้เป็นพระมารดาและสตรูเอนซี ซึ่งได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ในคืนวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2315 พระนางจูเลียนา มาเรีย พระราชชนนี พระมารดาเลี้ยงของพระเจ้าคริสเตียนและเหล่าขุนนางที่เป็นศัตรูกับสตรูเอนซี ได้ก่อการรัฐประหารพระนางมาทิลดาและสตรูเอนซี พระนางจูเลียนาและคณะผู้ไต่สวนได้ตัดสินประหารชีวิตสตรูเอนซี ส่วนพระนางมาทิลดาทรงถูกบังคับให้ทรงหย่ากับพระเจ้าคริสเตียนแล้วถูกเนรเทศออกจากเดนมาร์ก พระนางสิ้นพระชนม์อย่างโดดเดี่ยวที่เมืองเชลล์

ในปีพ.ศ. 2327 มกุฎราชกุมารเฟรเดอริกทรงได้รับสิทธิตามกฎหมายโดยพระองค์มีพระชนมายุครบ 16 พรรษา ซึ่งเลยกำหนดที่พระพันปีหลวงจูเลยนาจะมอบพระราชอำนาจคืนถึง 2 ปี พระนางทรงพยายามชักจูงให้พระนัดดาทรงมอบพระราชอำนาจให้พระนางไปก่อน หรือไม่ก็อาศัยคำแนะนำของพระนางในด้านต่างๆ และพระนางทรงบังคับให้พระเจ้าคริสเตียนทรงลงนามในพระราชกฤษฎีกาโดยกำหนดให้ มกุฎราชกุมารต้องยินยอมในคำแนะนำปรึกษาตั้งแต่ทรงเริ่มดำรงพระยศจนถึงปัจจุบัน โดยทรงต้องรับฟังบุคคล 3 คน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เจ้าชายเฟรเดอริก ผู้สำเร็จราชการ และพระนางจูเลียนา พระราชชนนี[2]. พระนางทรงร่วมมือกับโอฟ โฮห์-กัลด์เบิร์กซึ่งเป็นายกรัฐมนตรีในตอนนั้นพยายามยึดอำนาจเจ้าชายเฟรเดอริค อย่างไรก็ตามมกุฎราชกุมารทรงพยายามขจัดอำนาจของพระนางจูเลียนา พระอัยยิกาและพระโอรสของพระนาง และในการร่วมสภาครั้งแรกของพระองค์ พระองค์ทรงไล่คณะรัฐบาลหลวงโดยที่ไม่ได้แจ้งแก่พระนางจูเลียนา และทรงแต่งตั้งคนของพระองค์เข้ารับตำแหน่ง อีกทั้งมกุฎราชกุมารทรงบังคับให้พระบิดาซึ่งมีพระจริตฟั่นเฟือนลงนามในเอกสารแต่งตั้งพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนมกุฎราชกุมารกับผู้สนับสนุนพระพันปีหลวงจูเลียนา พระนางทรงพยายามแย่งชิงกษัตริย์จากพระหัตถ์ของพระนัดดา แต่ฝ่ายที่ได้รับชัยชนะคือ มกุฎราชกุมารเฟรเดอริค ซึ่งนับเป็นจุดจบในระบอบเก่าสมัยยุคกลางของเดนมาร์ก รัชกาลที่ปกครองโดยพระราชชนนีจูเลียนาและพระโอรสของพระนางสิ้นสุดลง ซึ่งถือเป็นการรัฐประหารในพ.ศ. 2327 โดยชาวเดนมาร์กต่างยินดีกันทั่งหน้าซึ่งจบสิ้นยุคสมัยของพระราชชนนีซึ่งปกครองเดนมาร์กอย่างกดขี่และทารุณ พระองค์ทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการจนกระทั่งพระเจ้าคริสเตียน พระบิดาเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2351

ในระหว่างทรงดำรงเป็นผ้สำเร็จราชการ มกุฎราชกุมารทรงทำการปฏิรูปเดนมาร์กให้เป็นไปตามแนวทางแบบเสรีนิยมร่วมกับรัฐมนตรีแอนเดรียส ปีเตอร์ เบิร์นสตอฟ ซึ่งทรงประกาศยกเลิกระบบมาเนอร์ที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคกลาง ในปีพ.ศ. 2331 วิกฤตที่เกิดขึ้นในสมัยนี้คือ ทรงไม่เห็นด้วยที่ชาวอังกฤษลำเลียงสินค้าส่งทางเรืออย่างไม่เป็นธรรม ทำให้สหราชอาณาจักรได้ประกาศสงครามกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ ซึ่งเป็นสมรภูมิทางทะเลเกิดขึ้นที่โคเปนเฮเกน เรียกว่า สมรภูมิโคเปนเฮเกน ส่งผลให้เดนมาร์กพ่ายแพ้อย่างหนัก

มกุฎราชกุมารเฟรเดอริกอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมารี โซฟีแห่งเฮสส์-คาสเซิล พระญาติชั้นหนึ่งและเป็นสมาชิกราชวงศ์เยอรมันและการอภิเษกครั้งนี้จะเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างพระราชวงศ์เดนมาร์กและอังกฤษ ทั้ง 2 พระองค์อภิเษกสมรสที่ก็อตธ็อปในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 มีพระโอรสและพระธิดาร่วมกัน 8 พระองค์ แต่มีพระธิดาเพียง 3 พระองค์ทรงรอดพระชนม์ชีพจากวัยเยาว์มาได้ เจ้าหญิงวิลเฮลมิเน มารีแห่งเดนมาร์กพระธิดาองค์สุดท้องต่อมาทรงได้เป็นพระชายาในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก เนื่องจากทรงไม่มีพระราชโอรสซึ่งดำรงพระชนม์ชีพ เมื่อพระองค์สวรรคต ราชบัลลังก์จึงไปได้แก่ พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก พระญาติของพระองค์ ซึ่งเป็นพระนัดดาในพระนางจูเลียนา มาเรีย พระราชชนนี

พระมหากษัตริย์เดนมาร์กและปัญหาราชบัลลังก์สวีเดน

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
 
เจ้าชายเฟรเดอริกทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์เดนมาร์กในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2351 ณ พระราชวังเฟรเดอริคเบอร์ก

เจ้าชายเฟรเดอริกทรงชึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2351 ในปีพ.ศ. 2351 ราชบัลลังก์สวีเดนเริ่มปรากฏสัญญาณแห่งการว่างลง เนื่องจากพระเจ้ากุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟแห่งสวีเดนทรงถูกปฏิวัติรัฐประหารและทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ พระเจ้าเฟรเดอริกทรงหวังว่าจะได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์สวีเดน พระเจ้าเฟรเดอริกเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กและนอร์เวย์พระองค์แรกที่ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้ากุสตาฟที่ 1 แห่งสวีเดน ผู้ซึ่งประกาศอิสรภาพสวีเดนหลังจากยุคสมัยของสหภาพที่รวมด้วยประเทศในแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย (นอกจากนี้พระขนิษฐาของพระเจ้าเฟรเดอริกยังทรงเป็นเชื้อสายของพระเจ้ากุสตาฟโดยผ่านทางพระมารดาของพระนาง ตลอดจนเจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์พระปิตุลาของพระองค์ด้วย ซึ่งเป็นทายาทของพระนางจูเลียนา) ในตอนแรก เฟรเดอริก คริสเตียนที่ 2 ดยุกแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-ออกัสเตนเบิร์กพระขนิษฐภรรดา(น้องเขย)ของพระเจ้าเฟรเดอริกทรงได้รับการเลือกให้เป็นกษัตริย์แห่งสวีเดนองค์ต่อไปซึ่งจะมีผลหลังจากพระเจ้าคาร์ลที่ 13 แห่งสวีเดนสวรรคต แต่ในภายหลังจอมพลฌ็อง เบอร์นาดอตต์ซึ่งได้รับเลือกจากพระเจ้าชาลส์ที่ 13 ให้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าคาร์ลที่ 14 โยฮันแห่งสวีเดน นับเป็นจุดสิ้นสุดราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อตธ็อปและเริ่มต้นราชวงศ์เบอร์นาด็อตต์ของสวีเดน ในสงครามนโปเลียน พระองค์ทรงนำเดนมาร์กเข้าสู่สงครามโดยเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส

หลังจากที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1ทรงหนีออกจากมอสโก และความปราชัยของพระองค์ในยุทธการที่ไลพ์ซิก ในปีพ.ศ. 2356 ทำให้ทรงถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา การปราชัยครั้งนี้ส่งผลให้เดนมาร์กอยู่ในสถานะผู้แพ้ สวีเดนโดยรัชทายาทคาร์ล จอห์นได้รีบดำเนินการอย่างรวดเร็วทรงส่งกองทัพที่ประจำอยู่ที่ฮ็อลชไตน์เพื่อการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเดนมาร์กและสวีเดนในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2357 โดยในสนธิสัญญากำหนดให้เดนมาร์กต้องมอบนอร์เวย์ให้แก่สวีเดน และสวีเดนจะยกแคว้นโพเมราเนียและรูเกนให้เป็นส่วนหนึ่งของเดนมาร์กเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน และจ่ายเงินสมทบสำหรับการเสียนอร์เวย์แก่เดนมาร์ก ซึ่งเรียกว่า สนธิสัญญาเคล และเรียกเหตุการณ์นี้ว่า การสูญเสียนอร์เวย์ของเดนมาร์ก พระเจ้าเฟรเดอริกทรงยอมในสนธิสัญญาเคล พระองค์ทรงเห็นว่าสวีเดนและอังกฤษพยายามจะแบ่งประเทศเดนมาร์ก และทรงเห็นว่ารัชทายาทแห่งสวีเดนจะคุกคามเดนมาร์กทุกเมื่อถ้ามีโอกาส พระองค์ทรงพิจารณาว่าภัยคุกคามของสวีเดนต่อเดนมาร์กนั้นรุนแรง พระองค์ทรงดำริที่จะดึงมหาอำนาจมาช่วยเหลือเดนมาร์กจากการคุกคามของสวีเดน อังกฤษและรัสเซีย

 
พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์กในพระราชพิธีราชาภิเษก วาดโดยฮันส์ ฮันเซน

ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2357 เสด็จประพาสเวียนนาเป็นการส่วนพระองค์ พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับจากจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่หน้าประตูเมือง พระเจ้าเฟรเดอริกและพระจักรพรรดิเสด็จประทับรถม้าพระที่นั่งไปยังพระราชวังฮอฟบวร์ก พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับจากชาวออสเตรียอย่างอบอุ่น แต่ชาวออสเตรียบางคนกล่าวว่าการต้อนรับของจักรพรรดิครั้งนี้เป็นเพียงประเพณีและทั้งสองพระองค์มีกตรัสเรื่องส่วนพระองค์มากกว่าเรื่องการเมือง

 
การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา

อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างพระราชวงศ์ออสเตรียในระหว่างการเสด็จประพาสกรุงเวียนนาของพระเจ้าเฟรเดอริกได้รับการบรรยายว่าดูดีที่สุด ในการประชุมข้อเสนอของพระองค์ที่เวียนนาทำให้ขัดต่อพระประมุขของรัฐอื่น ๆ มากที่สุด แต่พระองค์กลับได้รับความนิยมจากประชาชนในกรุงเวียนนาอย่างมากในการเรียกร้องสิทธิของเดนมาร์ก เนื่องจากความขัดแย้งกับประมุขรัฐต่างๆทำให้ทรงถูกประณามจากพระประมุขรัฐต่างๆว่า เป็นบุคคลที่น่ารังเกียจ

ในการประชุมที่เวียนนาครั้งนี้ พระเจ้าเฟรเดอริคทรงไม่ได้รับการให้เกรียติเทียบเท่าพระประมุขรัฐอื่นๆ แต่การประชุมที่เวียนนาครั้งนี้มีผู้มาเข้าชมมากมาย มีการเต้นรำและความบันเทิง ซึ่งทำให้ถูกเรียกว่า "การประชุมเต้นรำ" และมีเรื่องน่าขบขันคือ "จักรพรรดิออสเตรียทรงสนุกสนานกับทุกสิ่ง จักรพรรดิรัสเซียทรงรักทุกอย่าง และพระมหากษัตริย์เดนมาร์กทรงดำริถึงทุกคน" ในระหว่างทรงประทับอยู่ที่เยนนา ทรงรับเอาแคโรไลน์ เซาเฟิร์ต สตรีชาวออสเตรียที่เป็นนักเต้นรำในการประชุมวัย 18 ปีมาเป็นพระสนม โดยเธออยู่ร่วมกับพระเจ้าเฟรเดอริคในเวลาอันสั้นตลอดเวลาที่ประทับในเวียนนา


แม้ว่าจะมีการจัดการให้มีความบันเทิงในการประชุมที่ตึงเครียด รัชทายาทคาร์ล จอห์นแห่งสวีเดนทรงเชื่อมั่นว่า พระเจ้าเฟรเดอริคจะไม่สามารถต้านทานกระแสการต่อต้านจากชาวนอร์เวย์ และจากสนธิสัญญาเคลทำให้เศรษฐกิจเดนมาร์กซบเซาอย่างมาก

เมื่ออาณาจักรล้มละลาย ทูตรัสเซียได้รายงานว่า "น่าแปลกในดินแดนนี้ นำมาซึ่งความรุ่งเรืองครั้งสุดท้ายและกลายเป็นซากจากการคุกคาม ต้องมีการแก้ปัญหา"

เจ้าหน้าที่เดนมาร์กทำงานอย่างหนัก เพื่อให้รัชทายาทคาร์ล จอห์นแห่งสวีเดนทรงปฏิบัติตามสนธิสัญญาเคล ในการชดเชยการสูญเสียนอร์เวย์ อย่างไรก็ตามสวีเดนได้เกิดความล้มเหลวจากการสัมปทานแผ่นดินที่ได้มา และรัสเซียจำต้องลดค่าบำรุงกองทัพรัสเซีย

ในเดนมาร์ก

แก้

แม้ว่าด้วยความติ้นรนของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ในการประชุมที่เวียนนาจะสามารถช่วยประเทศเดนมาร์กของพระองค์จากการคุกคามของมหาอำนาจได้ แต่ก็ทรงผิดหวังที่ประเทศไม่ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเท่าที่ควร ในช่วงที่เสด็จกลับฮ็อลชไตน์และเดนมาร์กได้มีการฉลองชัยชนะของพระองค์ ซึ่งมีกระแสความนิยมระบอบกษัตริย์ แต่มีประชาชนบางกลุ่มมีความรู้สึกหวาดกลัวที่สถาบันพระมหากษัตริย์จะกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ในทุกๆที่ของเมืองอัลโทนา พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับจากประตูเมืองอย่างสมพระเกียรติ มีการยิงสลุตและฝูงชนที่ปิติยินดีมาถวายการต้อนรับ ในเมืองเรนส์บูร์ก พระองค์ทรงประทับรถพระที่นั่งผ่านในเวลากลางคืนเพื่อเสด็จไปประทับที่พระราชวัง ทุกสิ่งสว่างไสว เหล่าสตรีออกมาร้องเพลงสรรเสริญพระองค์ และการจัดงานเฉลิมฉลองพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 6 มีทุกท้องที่จนถึงเมืองหลวง

 
อนุสาวรีย์พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ในกรุงโคเปนเฮเกน

เนื่องจากความต้องการประชาธิปไตยในประชาชนมีสูง รวมทั้งความนิยมในพระองค์ก็สูงเช่นกัน พระองค์ทรงไม่เต็มใจที่สละพระราชอำนาจในวิธีการประชาธิปไตย พระองค์ทรงให้มีการเลือกตั้งstænderforsamlingerทั้ง 4 เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินระบอบประชาธิปไตยแม้ว่าพระองค์จะทรงเห็นว่าพวกเขาเป็นเพียงคณะที่ปรึกษาเท่านั้น โดยให้มีการเลือกตั้งกันทั่งราชอาณาจักร

ในปีพ.ศ. 2380 ได้มีการจัดแสดงศิลปวัตถุประจำชาติเพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศในการสร้างพิพิธภัณฑ์ในโคเปนเฮเกน ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการคือ เบอร์เทล โทรวัลด์เซน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2381 โทรวัลด์เซนจึงเดินทางกลับเดนมาร์กหลังจากอาศัยอยู่ที่โรมเป็นเวลา 40 ปี และในปีนั้นพระเจ้าเฟรเดอริคทรงมอบที่ดินสำหรับสร้างพิพิธภัณฑ์ซึ่งตั้งอยู่ถัดจากพระราชวังคริสเตียนเบอร์กไปทางขวา นครโคเปนเฮเกนได้เจริญขึ้นจากการที่มีพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ซึ่งสถาปัตยกรรมของพิพิธภัณฑ์ออกแบบโดย ไมเคิล ก็อตท์ทีบ บินเดสโบล์ ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2391 ได้มีการเปิดพิพิธภัณฑ์โทรวัลด์เซน ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของเดนมาร์ก

ในช่วงนั้นได้มีปัญหาเกี่ยวกับการมีทาส พระองค์ทรงพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างหนัก ในระหว่างปี พ.ศ. 2344 ซึ่งเกิดสงครามกับอังกฤษในสมรภูมิโคเปนเฮเกน มีทาสชาวนิโกรสองคนคือ ฮันส์ โจนาธานและปีเตอร์ ซามูเอลจากทะเลแคริบเบียน ในมาถึงกรุงโคเปนเฮเกนในระหว่างสงคราม ทั้งสองคนได้ร่วมสู้กับกองทัพเรืออังกฤษ หลังสิ้นสุดสงคราม พระองค์ทรงประทานตำแหน่งในกองทัพเรือเป็นรางวัล แต่ทั้งสองปฏิเสธเพราะตนเองเป็นทาสและต้องกลับไปทำงานรับใช้นายจ้างของตน โดยใช้แรงงานไร่กาแฟทางภาคตะวันตกของอินเดีย พระองค์จึงริเริ่มหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องทาส ด้วยการบริหารของพระเจ้าเฟรเดอริค ปีเตอร์ แอนเดรียส ไฮเบิร์กนักปรัชญาชาวเดนมาร์ก ได้ออกมาวิพากย์วิจารณ์การบริหารของพระองค์ พระองค์ทรงรู้สึกว่าไฮเบิร์กดูถูกพระองค์ตลอดเวลาตั้งแต่ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2333 ขณะยังทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ เมื่อพระองค์และพระนางมารี โซฟีพระชายาซึ่งทรงเป็นที่สนใจในวงการสังคม และไฮเบิร์กได้บรรยายถึงพระองค์ว่า "ของตกแต่งในพระตำหนักจัดอย่างน่าเกลียด เหล่าขุนนางจับปากกาและผูกริบบินเหมือนพวกโบราณ...อย่างไรก็ตาม ฝ่าบาท พวกเขาดูดีอยู่อย่างเดียวคือ การที่ไม่ได้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของพระองค์" พระองค์ทรงตอบกลับว่า"ความจริงแล้วข้าพเจ้ายินดีต้อนรับสุภาพบุรุษเหล่านี้ทุกคน แต่เพียงคุณเท่านั้นที่ข้าพเจ้าจะไม่เมตตาอีกต่อไป" ในคริสต์มาสอีพ พ.ศ. 2342 ไฮเบิร์กถูกเนรเทศตลอดชีวิต

สวรรคต

แก้

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 เสด็จสวรรคตในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382 ณ พระราชวังอามาเลียนเบอร์ก กรุงโคเปนเฮเกน สิริพระชนมายุ 71 พรรษา พระบรมศพได้ถูกฝังที่มหาวิหารร็อคสไลด์ พระองค์ทรงครองราชสมบัติเป็นเวลาทั้งหมด 55 ปี โดย 24 ปีแรกทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 และอีก 31 ปี เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก

การสืบราชบัลลังก์

แก้

พระเจ้าเฟรเดอริคที่ 6 เสด็จสวรรคตโดยปราศจากพระราชโอรสที่สามารถสืบราชบัลลังก์ เนื่องจากพระโอรสของพระองค์ซึ่งประสูติแต่พระราชินีมารี โซฟีสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์และพระโอรสที่ประสูติแต่พระสนม เฟรเดอริเก เดนเนมานด์ ก็ไม่มีสิทธิในราชบัลลังก์ ทำให้ราชบัลลังก์ไปได้แก่ เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริก พระราชโอรสในเจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ พระปิตุลาของพระเจ้าเฟรเดอริคและเป็นพระนัดดาในพระนางจูเลียนา มาเรีย พระอัยยิกาซึ่งเคยเป็นศัตรูกับพระเจ้าเฟรเดอริกในช่วงแรก เจ้าชายคริสเตียนได้ขึ้นครองราชย์ พระนาม พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก

หลังจากพระเจ้าคริสเตียนที่ 8 สวรรคต พระโอรสของพระองค์ได้ครองราชย์ต่อเป็นสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงวิลเฮลมิเน มารีแห่งเดนมาร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แต่หลังจากนั้นทรงหย่ากันโดยไม่มีพระโอรส-ธิดา ซึ่งหมายความว่าเชื้อสายของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ซึ่งเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ได้หมดสิ้นลง คงเหลือแต่พระโอรสและพระธิดาที่ประสูติแต่พระสนม เฟรเดอริเก เดนเนมานด์ ที่มีทายาทสืบสกุลของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ต่อไปแต่ไม่มีสิทธิในราชวงศ์

พระโอรส-ธิดา

แก้

พระโอรส-ธิดาที่ประสูติแต่เจ้าหญิงมารี โซฟีแห่งเฮสส์-คาสเซิล

แก้
 
เจ้าหญิงมารี โซฟีแห่งเฮสส์-คาสเซิลพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 6
  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส (ประสูติและสิ้นพระชนม์) และพระโอรส-ธิดา
  เจ้าชายคริสเตียน 179122 กันยายน
พ.ศ. 2334
179123 กันยายน
พ.ศ. 2334
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
  เจ้าหญิงมารี หลุยส์ 179219 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2335
179312 ตุลาคม
พ.ศ. 2336
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
  เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งเดนมาร์ก 179328 ตุลาคม
พ.ศ. 2336
188131 มันาคม
พ.ศ. 2424
อภิเษกสมรส 1 สิงหาคม พ.ศ. 2372
เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก (พ.ศ. 2335–2406)
ไม่มีพระโอรสธิดา
  เจ้าหญิงหลุยส์ 179521 สิงหาคม
พ.ศ. 2338
17957 ธันวาคม
พ.ศ. 2338
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
  เจ้าชายคริสเตียน 17971 กันยายน
พ.ศ. 2340
17975 กันยายน
พ.ศ. 2340
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
  เจ้าหญิงจูเลียนา หลุยส์ 180212 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2345
180223 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2345
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
  เจ้าหญิงเฟรเดอริเก มารี 18083 มิถุนายน
พ.ศ. 2348
180814 กรกฎาคม
พ.ศ. 2348
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
  เจ้าหญิงวิลเฮลมิเน มารีแห่งเดนมาร์ก 179318 มกราคม
พ.ศ. 2351
188130 พฤษภาคม
พ.ศ. 2434
อภิเษกสมรสครั้งแรก 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371
เจ้าชายเฟรเดอริคแห่งเดนมาร์กซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก (พ.ศ. 2351–2406) ต่อมาทรงหย่า
ไม่มีพระโอรสธิดา

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2
ดยุคคาร์ลแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ชอนเดนบวร์ก-กลีคสบวร์ก (พ.ศ. 2356 - พ.ศ. 2421) ซึ่งต่อมาเป็นพระเชษฐาในสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
ไม่มีพระโอรสธิดา

พระราชโอรสธิดาที่ประสูติแต่พระสนมเฟรเดอริเก เดนเนมานด์

แก้
 
พระสนมเฟรเดอริเก เดนเนมานด์ ในปีพ.ศ. 2405
  • โลวีซา เคาน์เตสแห่งเดนเนมานด์ (16 เมษายน พ.ศ. 2353 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2481) สมรสในปีพ.ศ. 2379 กับวิลเลียม ฟาน ซาชารี(พ.ศ. 2350 - พ.ศ. 2414) มีบุตรธิดา
  • คาโรไลน์ เคาน์เตสแห่งเดนเนมานด์ (พ.ศ. 2355 - พ.ศ. 2387) สมรสในปีพ.ศ. 2380 กับอดอล์ฟ เฟรเดอริค ชาค ฟาน บร็อคดอร์ฟ(พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2402) มีบุตรธิดา
  • เฟรเดอริก เคาน์แห่งเดนเนมานด์ (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2356 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2431) สมรสครั้งแรกในปีพ.ศ. 2383 กับฟรานซิสกา ฟาน สชอเทน(พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2387) ไม่มีบุตรธิดา,สมรสครั้งที่สองในปีพ.ศ. 2388 กับโลวีซา เกรฟวินด์ ชชูลิน(พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2427) ไม่มีบุตรธิดา,สมรสครั้งที่สามในปีพ.ศ. 2427 กับวิลเฮลมินา เลาว์เซน(พ.ศ. 2383 - พ.ศ. 2433) ไม่มีบุตรธิดา
  • วัลเดมาร์ เคานท์แห่งเดนเนมานด์ (6 มิถุนายน พ.ศ. 2362 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2373)

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550,, หน้า 513
  2. Alf Henrikson: Dansk historia (Danish history) 1989 (in Swedish)
ก่อนหน้า พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
พระเจ้าคริสเตียนที่ 7    
พระมหากษัตริย์เดนมาร์ก
(13 มีนาคม พ.ศ. 2351 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382)
  พระเจ้าคริสเตียนที่ 8
พระเจ้าคริสเตียนที่ 7    
พระมหากษัตริย์นอร์เวย์
(13 มีนาคม พ.ศ. 2351 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2357)
  การสูญเสียนอร์เวย์ของเดนมาร์ก
พระเจ้าคริสเตียน เฟรเดอริกแห่งนอร์เวย์
พระเจ้าคริสเตียนที่ 7    
ดยุกแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(13 มีนาคม พ.ศ. 2351 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382)
  พระเจ้าคริสเตียนที่ 8
พระเจ้าคริสเตียนที่ 7    
ดยุกแห่งแซ็กซ์-เลาว์บูร์ก
(ราชวงศ์ออลเดนบูร์ก)

(13 มีนาคม พ.ศ. 2351 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382)
  พระเจ้าคริสเตียนที่ 8