สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว)

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม แพ พงษ์ปาละ ฉายา ติสฺสเทโว เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481[1] ในรัชสมัยพระสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 6 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ขณะพระชันษาได้ 88 ปี 14 วัน

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(แพ ติสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ดำรงพระยศ15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 (6 ปี 11 วัน)
สถาปนา15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
ก่อนหน้าพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ถัดไปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พรรษา68
สถิตวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
ประสูติ12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399
จังหวัดธนบุรี
แพ
สิ้นพระชนม์26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 (88 ปี)
วัดสุทัศน์
พระบิดานุตร พงศ์ปาละ
พระมารดาอ้น พงษ์ปาละ

พระประวัติ

แก้

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่าแพ ประสูติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี พระชนกชื่อนุตร พงษ์ปาละ พระชนนีอ้น พงษ์ปาละ[2]

เมื่อพระชันษาได้ 7 ปี ได้ไปศึกษาอักษรสมัยกับสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) ขณะยังเป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร เมื่อสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) ย้ายไปครองวัดราชบุรณราชวรวิหาร พระองค์ได้ย้ายตามไปด้วย ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2411 โดยมีสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) ย้ายไปครองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ก็ให้รับพระองค์ไปอยู่ด้วย ขณะอยู่วัดพระเชุตพนฯ พระองค์ได้ศึกษากับสมเด็จพระวันรัตน์เป็นหลัก นอกจากนี้ก็ศึกษากับเสมียนตราสุขบ้าง พระโหราธิบดี (ชุ่ม) บ้าง อาจารย์โพบ้าง ได้เข้าสอบครั้งแรกที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทในปี พ.ศ. 2419 แต่สอบไม่ผ่าน[2]

พ.ศ. 2419 ท่านอายุครบอุปสมบท แต่สมเด็จพระวันรัต (สมบุรณ์) อาพาธ พระองค์อยู่พยาบาลจนกระทั่งท่านมรณภาพ จึงไปฝากตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) วัดสุทัศนฯ ตามที่สมเด็จพระวันรัต (สมบุรณ์) ฝากฝังไว้ ในปีเถาะ พ.ศ. 2422 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเศวตฉัตร โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วย้ายมาอยู่วัดสุทัศนฯ ศึกษากับสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เป็นหลัก และไปศึกษากับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) บ้าง เข้าสอบอีกครั้งที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ต่อมาปีระกา พ.ศ. 2428 เข้าสอบที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แปลเพิ่มได้อีก 1 ประโยค เป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค[3]

ลำดับสมณศักดิ์

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช
 
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม
พะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พ.ศ. 2423 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรมในพระธรรมวโรดม (แดง สีลวฑฺฒโน) ในตำแหน่งพระครูใบฎีกา พระครูมงคลวิลาส และพระครูวินัยธร ตามลำดับ[3]
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสมโพธิ มีนิตยภัตเดือนละ 4 ตำลึง[4]
  • พ.ศ. 2439 ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพ[3]
  • พ.ศ. 2441 ได้เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี[5]
  • พ.ศ. 2443 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมโกษาจารย์ สุนทรญาณนายก ตรีปิฎกมุนี มหาคณาธิบดีสมณิศร บวรสังฆารามคามวาสี[6]
  • พ.ศ. 2455 ได้รับพระราชทานหิรัญบัฏเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะกลางที่ พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณ ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูษิต มัชฌิมคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สังฆนายก[7]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2458 โปรดให้ย้ายมาเป็นเจ้าคณะรองหนใต้[8]
  • 14 มีนาคม พ.ศ. 2458 โปรดให้บัญชาคณะมณฑลที่ขึ้นกับคณะใต้แทนสมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)[9]
  • พ.ศ. 2466 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสีที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ ศิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณฤศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สรรพสมณคุณ วิบุลยประสิทธิ์ บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี มหาสังฆนายก[10]
  • กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะทักษิณมหาคณิศวราธิบดีที่ สมเด็จพระวันรัต ปริยัตติพิพัฑฒนพงศ์ วิสุทธสงฆปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร มหาทักษิณคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[11]
  • 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช[1]
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2482 ได้รับเฉลิมพระนามตามสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมวิธานธำรง สกลสงฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุศโลภาส อานันทมหาราชพุทธมามกาจารย์ ติสสเทวภิธานสังฆวิสสุต ปาวจนุตตมโศภน วิมลศีลสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลคัมภีรญาณสุนทร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญญวาสี[12]

เมื่อมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. 2484 เพื่อประสานนโยบายฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรให้เป็นไปด้วยดี พระองค์ก็ได้บริหารงานคณะสงฆ์ให้ลุล่วงไป โดยแต่งตั้งพระมหาเถรานุเถระในสังฆสภา ให้ดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติ แห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับดังกล่าวโดยครบถ้วนด้วยดีทุกประการ

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระวันรัต ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ก, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑, หน้า ๖๖๙
  2. 2.0 2.1 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 7
  3. 3.0 3.1 3.2 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 226
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 6, 19 พฤษภาคม 2432, หน้า 63
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 15, ตอน 34, 20 พฤศิกายน 2441, หน้า 353
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 17, หน้า 731
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชาคณะ, เล่ม 29, ตอน ก, 13 พฤศจิกายน 2455, หน้า 233-5
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี พระราชทานตราตำแหน่งย้ายเจ้าคณะรอง, เล่ม 32, ตอน 0 ง, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458, หน้า 2826
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ ย้ายตำแหน่งเจ้าคณะ, เล่ม 32, ตอน 0 ง, 19 มีนาคม 2458, หน้า 3170
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 40, 25 พฤศจิกายน 2466, หน้า 2591
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 46, 26 กุมภาพันธ์ 2472, หน้า 359-360
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 52, 25 กันยายน 2482, หน้า 1783
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 7-17. ISBN 974-417-530-3
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 225-229. ISBN 974-417-530-3


ก่อนหน้า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) ถัดไป
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
   
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2487)
  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์