สมเด็จพระราชินีเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัม

สมเด็จพระราชินีเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัม (Цэндийн Дондогдулам; 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1876 - ค.ศ. 1923) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีของมองโกเลีย และเป็นพระอัครมเหสีในบ็อกด์ ข่าน

เซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัม
พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระราชินีเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัม
สมเด็จพระราชินีแห่งมองโกเลีย
ครองราชย์29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 –
ค.ศ. 1923
ก่อนหน้าตำแหน่งสถาปนาใหม่
ถัดไปสมเด็จพระราชินีเกอเนอพิล
ประสูติ15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1876(1876-11-15)
จังหวัดเฮ็นตี, มองโกเลียภายใต้ราชวงศ์ชิง
สวรรคตค.ศ. 1923 (47 ปี)
อูลานบาตาร์, ราชอาณาจักรมองโกเลีย
ฝังพระศพหุบเขาซาการ์มอริต แม่น้ำซาลเบ, อูลานบาตาร์
ชายาใน บอจด์ ข่าน
พระนามเต็ม
ด็อนด็อกโดลัม ทเซน อูล์ซิน เออร์ ฑากิณ
พระราชบิดาไม่ปรากฏพระนาม
พระราชมารดาไม่ปรากฏพระนาม
ศาสนาศาสนาพุทธแบบทิเบต

พระประวัติ

แก้

ด็อนด็อกโดลัม ประสูติในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1876 (บางแหล่งข้อมูลระบุว่าประสูติในปี ค.ศ. 1874) ประสูติที่จังหวัดเฮ็นตี[1] เขตบายัน-อดาร์กา ทรงพบกับบ็อกด์ ข่าน ซึ่งขณะนั้นถูกเรียกว่า "บ็อกด์ กาเกน" ในปีค.ศ. 1895 โดยยังไม่ได้ทรงครองราชย์ บ็อกด์ กาเกนเดินทางไปเยือนอารามเออเดอนีซู และทั้งคู่พบกันอีกครั้งในปีค.ศ. 1900 ที่อารามอามาร์บายัสการันต์[2] ด็อนด็อกโดลัมขณะนั้นทำงานเป็นคนรับใช้ในภรรยาเอกของ จูง วัน ทซ็อกบาดรัช ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่ติดตามบ็อกด์ กาเกนมาถึงมองโกเลีย[3] ที่ถูกเรียกว่าบ็อกด์ กาเกน เพราะมีความเชื่อตามศาสนาพุทธนิกายมหายานทิเบต ที่ว่า บอดจ์ กาเกน คือ ร่าวอวตารองค์ที่ 8 ของจอว์ซาน ดัมบา คูทักต์ (Jebtsundamba Khutuktu) โดยการยอมรับของทะไลลามะที่ 13 กับเท็นไป วังชุก ปันเชนลามะที่ 8 และทรงส่งมาให้ปกครองพุทธศาสนาในมองโกเลีย[4]

ในปีค.ศ. 1902 ด็อนด็อกโดลัมได้เสกสมรสกับบ็อกด์ กาเกน, จอว์ซาน ดัมบา คูทักต์ องค์ที่ 8 ทั้งสองได้รับเลี้ยงโอรสบุญธรรม 1 พระองค์ ที่มีการระบุชื่อว่า คูบิลกัน ยัลกูซาน-ฮูทักต์ (ไม่ปรากฏชะตากรรมของโอรสคนนี้หลังการปฏิวัติมองโกเลีย) ทั้งสองพระองค์บูชาเทพฑากิณีและพระโพธิสัตว์ตารา (มองโกเลีย: Цагаан Дарь Эх) ในปี ค.ศ. 1903 ได้มีการจัดสรรระบบ อัยมัก (Aimag) ซึ่งเป็นระบบจังหวัดของมองโกเลีย ได้มีการสร้างวัดเออรค์-ฑากินิน-อายกิม-คูรัล ขึ้นที่ศูนย์กลางของเมืองหลวง[5] หลังจากมีการประกาศเอกราชมองโกเลียในปี ค.ศ. 1911 ด็อนด็อกโดลัมได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น "อูล์ซิน เออร์ ฑากิณ" แปลว่า "พระมารดาแห่งฑากิณีรัฐ" ซึ่งก็คือ ตำแหน่งสมเด็จพระราชินี ตามพระสวามีที่ครองราชย์เป็นบอดจ์ ข่านแห่งมองโกเลีย

สมเด็จพระราชินีเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัมและพระสวามีทรงมีความคิดสร้างสรรค์และทรงร่วมสร้างตำหนักที่ประทับด้วยพระองค์เอง และทรงใช้ตำหนักเป็นศูนย์กลางที่ตั้งของคณะช่างศิลปการ พระนางด็อนด็อกโดลัมทรงทำตามธรรมเนียมโบราณของชนชั้นสูงในการรับอุปการะเด็กอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเด็กที่ครองครัวไม่มีความสามารถในการเลี้ยงดูหรือบิดามารดาเสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ หนึ่งในนั้นคือ แอล.มอร์ดอร์ซ ซึ่งพระนางรับอุปการะ โดยต่อมาจะเป็นนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงของมองโกเลีย[6]

สมเด็จพระราชินีทเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัมสิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 1923 หนึ่งปีก่อนที่พระสวามีจะสวรรคต ซึ่งเป็นวันที่ 15 ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงสุดท้าย[7] พระบรมศพได้ถูกเผาที่ต้นทางของแม่น้ำซาลเบ ใกล้อูลานบาตาร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระนางและพระสวามีประทับในช่วงฤดูร้อน หุบเขาต้นแม่น้ำถูกเรียกว่า "ซาร์กามอริต"

พระบุคลิกอุปนิสัย

แก้
 
พระบรมสาทิสลักษณ์ ด็อนด็อกโดลัม "อูล์ซิน เออร์ ฑากิณ" หรือ "พระมารดาแห่งฑากิณีรัฐ" วาดโดยมาร์ซาน ชาราฟ จิตรกรชาวมองโกเลีย

สมเด็จพระราชินีด็อนด็อกโดลัมทรงเป็นผู้ที่มีความรู้ มีความสามารถในการอ่านอักษรมองโกเลียและภาษาทิเบตได้อย่างดีเยี่ยม ประชาชนชาวมองโกลเคารพพระองค์อันเนื่องมาจากความทรงปัญญาของพระองค์ รวมถึงทรงมีการศึกษาและมีสามารถอ่านพระไตรปิฎก ตำราธรรม บทกลอนในทำนองสรภัญญะที่ไพเราะ พระอาจารย์ส่วนพระองค์ของพระนางด็อนด็อกโดลัม คือ ทซอร์ซิ ลูซานดอนด็อบ ได้ถวายพระอักษรให้พระนางทรงมีความรู้ในด้านวัตรปฏิบัติและพิธีกรรมของพระพุทธศาสนา และพระนางทรงเข้าไปมีบทบาทในรัฐสภาคูรัลของมองโกเลียด้วย[1] สมเด็จพระราชินีทรงเป็นผู้ที่มีอารมณ์อ่อนไหว ร่าเริง เฉลียวฉลาด กระตือรือร้นและมีลักษณะเป็นสตรีผู้ทรงอำนาจ[3] จากการบันทึกในแหล่งข้อมูลบางแหล่งระบุว่า สมเด็จพระราชินีด็อนด็อกโดลัมทรงปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพิธีต้อนรับเพื่อเป็นเกียรติแก่ซันโดโม ราชทูตจากราชวงศ์ชิง ที่เขตมองโกเลียส่วนนอก แม้ว่าเขาจะถูกส่งมาในฐานะตัวแทนของจักรพรรดิชาวแมนจูของราชวงศ์ชิงก็ตาม พระราชินีเป็นแกนนำในการสนับสนุน ขอดจ์ กาเกน พระสวามีในการต่อสู้เพื่อสร้างเอกราชของราชอาณาจักรมองโกเลีย[6] ตามบันทึกของปีเตอร์ คอสลอฟ นักสำรวจชาวรัสเซีย บันทึกว่า พระนาง "...เสด็จประพาสพร้อมพระราชสวามีทั่วทุกหนแห่ง ทรงร่วมเก็บเกี่ยวหัวหอม ตกปลา แต่ไม่ทรงเสวยน้ำจัณฑ์สุรา"[8] ฟรานส์ ออกัสต์ ลาร์สัน มิชชันนารีชาวสวีเดน ซึ่งเคยเข้าเฝ้าทั้งสองพระองค์บ่อยครั้ง ได้บันทึกว่า "ชาวมองโกลไม่เคยพูดคุยกับพระนางอย่างคนธรรมดา แต่พูดคุยในฐานะที่พระนางเป็นเทพี ทรงเป็นสตรีนักปฏิบัติและยึดหลักเหตุผล และทำหน้าที่ภรรยาอย่างสง่างาม พระนางเป็นเหมือนผู้ปัดเป่าความมืดมิดในอารามของพระพุทธองค์ที่มีมาแต่ก่อนให้มลายสิ้นไป พระนางเป็นมิตรสหายที่สนุกสนาน เป็นผู้แนะแนวทางที่ดีและชี้จุดประเด็นอย่างดีเยี่ยม บ็อกด์ ข่านคงจะทรงยินดีปรีดาภาคภูมิใจในตัวพระนาง"[9]

ที่ระลึกถึงพระนาง

แก้
  • พระราชวังฤดูหนาวของบอดจ์ ข่าน ที่อูลานบาตาร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้มีการจัดนิทรรศการเพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชินีเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัม โดยมีการจัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ของพระราชินี และมีรูปหล่อหุ่นขี้ผึ้งของพระนางจัดแสดงด้วย
  • นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 ที่สถานที่ประสูติของสมเด็จพระราชินีด็อนด็อกโดลัมในจังหวัดเฮ็นตี มีอนุสรณ์สถาน "Монголын их хатдын өргөө" เป็นการสร้างเพื่ออุทิศแด่องค์คาตุน หรือพระราชินีของชาวมองโกลที่มีพระราชประวัติอันโดดเด่น

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Д. Гомбосvрэн «Хувь зохиолын тeрелх мэргэх ухаантай» Эх Дагина
  2. Бадарчи О. С., Дугарсурэн Ш. Н. Богд хааны амьдралын он дарааллын товчоон. Улаанбаатар: Хаадын сан, 2000 — с.188
  3. 3.0 3.1 Тудэв Л. (ред.) VIII Богд хаан. Улаанбаатар: Хаадын сан, 1998. — с.24-25.
  4. Knyazev, N.N. The Legendary Baron. - In: Legendarnyi Baron: Neizvestnye Stranitsy Grazhdanskoi Voiny. Moscow: KMK Sci. Press, 2004, ISBN 5-87317-175-0 p. 67
  5. หลังจากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งมองโกเลีย ได้เปลี่ยนวัดเป็นโรงละครสัตว์ เมื่อสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียล่มสลาย วัดและสำนักสงฆ์ได้ถูกสร้างใหม่อีกครั้ง
  6. 6.0 6.1 Сухбаатар Д. Дондогдулам — «Мать-Дакини» Монгольского государства
  7. Бадарчи О. С., Дугарсурэн Ш. Н. Богд хааны амьдралын он дарааллын товчоон. Улаанбаатар: Хаадын сан, 2000. — с.188
  8. Козлов П. К. Тибет и Далай-лама. М.: КМК, 2004. ISBN 5-87317-176-9 сс. 106—107
  9. Larson F.A. Larson Duke of Mongolia. Boston, Little, Brown: and Co., 1930 — p. 128