สมาคมการค้าเสรียุโรป
สมาคมการค้าเสรียุโรป หรือ เอฟตา (อังกฤษ: European Free Trade Association; EFTA) เป็นกลุ่มการค้าของทวีปยุโรป ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2503 เป็นอีกกลุ่มนอกจากประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในตอนนั้น มีสมาชิกก่อตั้งคือออสเตรีย เดนมาร์ก นอร์เวย์ โปรตุเกส สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ปัจจุบันเอฟตามีสมาชิกคือไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์
สมาคมการค้าเสรียุโรป ชื่อพื้นเมือง:
| |
---|---|
สำนักงานเลขาธิการ | เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ 46°57′N 7°27′E / 46.950°N 7.450°E |
เมืองใหญ่สุด | ออสโล นอร์เวย์ |
ภาษาทำงาน | อังกฤษ |
ภาษาราชการ | |
ประเภท | องค์การภูมิภาค, เขตการค้าเสรี |
ชาติสมาชิก | |
ผู้นำ | |
• เลขาธิการ | Henri Gétaz |
• ประธานสภา | ไอซ์แลนด์[2] |
ก่อตั้ง | |
• ลงนามอนุสัญญา | 4 มกราคม 1960 |
• สถาปนา | 3 พฤษภาคม 1960 |
พื้นที่ | |
• รวม | 529,600 ตารางกิโลเมตร (204,500 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 2020 ประมาณ | 14,400,000[3] |
26.5 ต่อตารางกิโลเมตร (68.6 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 1.0 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
• ต่อหัว | 70,000 ดอลลาร์สหรัฐ |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
• ต่อหัว | 79,000 ดอลลาร์สหรัฐ |
สกุลเงิน | |
เขตเวลา | |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
Note: ไอซ์แลนด์ใช้เวลายุโรปตะวันตกตลอดทั้งปี ในขณะที่ลีชเทินชไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ใช้เวลายุโรปกลาง และเวลาออมแสงยุโรปกลาง | |
เว็บไซต์ efta |
ฟินแลนด์เริ่มเป็นสมาชิกสมทบในปี พ.ศ. 2504 และกลายมาเป็นสมาชิกเต็มในปี พ.ศ. 2529 และไอซ์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2513 สหราชอาณาจักรและเดนมาร์กเข้าร่วมประชาคมยุโรปในปีพ.ศ. 2516 จึงหมดสมาชิกภาพของเอฟตา โปรตุเกสเข้าประชาคมยุโรปเช่นกันในปี พ.ศ. 2528 ลิกเตนสไตน์เข้าร่วมเอฟตาในปี พ.ศ. 2534 และสุดท้ายฟินแลนด์ สวีเดน ออสเตรีย ออกจากเอฟตาไปเข้าร่วมสหภาพยุโรปใน พ.ศ. 2538 [4]
ชาติสมาชิก
แก้สมาชิกปัจจุบัน
แก้คู่สัญญา | เข้าร่วม | ประชากร[5] (พ.ศ. 2560) |
พื้นที่ (km²) | เมืองหลวง | จีดีพี ต่อล้าน (PPP)[note 1] | จีดีพีต่อหัว (PPP)[note 1] |
---|---|---|---|---|---|---|
ไอซ์แลนด์ | 1 มกราคม 1970 | 332,474 | 103,000 | เรคยาวิก | 12,831[6] | 39,223[6] |
ลีชเทินชไตน์ | 1 มกราคม 1991 | 37,666 | 160.4 | วาดุซ | 3,545[note 2] | 98,432[note 2] |
นอร์เวย์ | 3 พฤษภาคม 1960 | 5,254,694 | 385,155 | ออสโล | 265,911[7] | 53,470[7] |
สวิตเซอร์แลนด์ | 3 พฤษภาคม 1960 | 8,401,739 | 41,285 | แบร์น | 363,421[8] | 45,417[8] |
อดีตสมาชิก
แก้ชาติ | เข้าร่วม | ถอนตัว | เข้าร่วม EEC หรือ สหภาพยุโรป |
---|---|---|---|
ออสเตรีย | 3 พฤษภาคม 1960 | 31 ธันวาคม 1994 | 1 มกราคม 1995 |
เดนมาร์ก | 3 พฤษภาคม 1960 | 31 ธันวาคม 1972 | 1 มกราคม 1973 |
ฟินแลนด์ | 5 พฤศจิกายน 1985 | 31 ธันวาคม 1994 | 1 มกราคม 1995 |
โปรตุเกส | 3 พฤษภาคม 1960 | 31 ธันวาคม 1985 | 1 มกราคม 1986 |
สวีเดน | 3 พฤษภาคม 1960 | 31 ธันวาคม 1994 | 1 มกราคม 1995 |
สหราชอาณาจักร | 3 พฤษภาคม 1960 | 31 ธันวาคม 1972 | 1 มกราคม 1973 (ถอนตัว 31 มกราคม 2020) |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Láhkasánit - Saamelaiskäräjät" (PDF). Sámi Parliament of Finland. สืบค้นเมื่อ 2019-08-29.
- ↑ "Chairmanship". www.efta.int. EFTA. July 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Report for Selected Countries and Subjects". imf.org.
- ↑ EFTA History เก็บถาวร 2007-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 23 มี.ค. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ 6.0 6.1 "Iceland". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 17 April 2013.
- ↑ 7.0 7.1 "Norway". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 20 April 2012.
- ↑ 8.0 8.1 "Report for Selected Countries and Subjects". Imf.org. 2006-09-14. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน