สมการของเดรก (Drake equation) บางครั้งอาจเรียกว่า Green Bank formula เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านชีววิทยาอวกาศ และการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว (เซติ) Search for Extraterrestrial Intelligence - SETI

สมการของเดรก เป็นสูตรคำนวณที่นำเสนอโดย ดร. แฟรงก์ เดรก นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ในการประชุมที่หอดูดาวกรีนแบงก์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย เมื่อปี ค.ศ. 1960 เพื่อประมาณการความเป็นไปได้ ของจำนวนอารยธรรมของสิ่งมีชีวิต ในแกแลกซีทางช้างเผือก โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในรูปสมการทางคณิตศาสตร์

สมการของเดรก ระบุว่า


โดยที่

N หมายถึง จำนวนอารยธรรมต่างดาวที่มีความสามารถติดต่อกันได้ทางคลื่นวิทยุ

และ

R* หมายถึง อัตราการเกิดของดาวฤกษ์ที่มีสภาพเหมาะสม และเกิดขึ้นนานพอที่เกิดสภาพเหมาะสมที่จะพัฒนาไปสู่สิ่งมีชีวิตชั้นสูง
fp หมายถึง สัดส่วนของดาวฤกษ์ที่มีระบบดาวเคราะห์ (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว 0.2 - 0.5)
ne หมายถึง สัดส่วนของดาวเคราะห์ที่สิ่งมีชีวิตน่าจะใช้อยู่อาศัยได้ (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว 1 - 5)
f หมายถึง สัดส่วนของดาวเคราะห์ที่เกิดสิ่งมีชีวิต (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว 1)
fi หมายถึง สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตที่จะพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตชั้นสูง และทรงภูมิปัญญา (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว ต่ำกว่า 1 เล็กน้อย)
fc หมายถึง สัดส่วนที่สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานั้นสามารถพัฒนาเทคโนโลยี จนถึงขั้น สามารถตรวจรับการสื่อสารจากโลกอื่นได้ (ประมาณไว้ที่ราว 0.1 - 0.2)
L หมายถึง ระยะเวลาเป็น (ปี) ที่อารยธรรมนั้น ส่งสัญญาณสื่อสารตอบกลับ (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว หนึ่งพัน - หนึ่งร้อยล้านปี)


คาร์ล เซแกน นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ให้การยอมรับสมการของเดรก และนำไปอ้างถึงในรายการโทรทัศน์ของเขาอยู่เสมอ จนบางครั้งถูกกล่าวถึงโดยความเข้าใจผิดว่า คาร์ล เซแกน เป็นผู้คิดสมการนี้ และเรียกว่า สมการของเซแกน

ประวัติ

แก้

ในเดือนกันยายน ปี 1959 นักฟิสิกส์จูเซปเป้ คอคคอนี (Giuseppe Cocconi) และฟิลิป มอร์ริสัน (Philip Morrison) ได้ตีพิมพ์บทความในวารสาร เนเจอร์ ที่มีชื่อเรื่องที่เร้าใจว่า "การค้นหาการสื่อสารระหว่างดวงดาว"

 
ดร. แฟรงก์ เดรก (Dr. Frank Drake)

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้