สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ

สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ (ฝรั่งเศส: Assemblée nationale constituante) ก่อตั้งขึ้นจากการแปรรูปสมัชชาแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 อยู่ในบทแรกของการปฏิวัติฝรั่งเศส สภาแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และผู้ร่างรัฐธรรมนูญในองค์กรเดียว สภานี้สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1791 และถูกแทนที่ด้วยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Assemblée nationale législative)[1]

สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ

Assemblée nationale constituante
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ประเภท
ประเภท
สภาเดี่ยว
ประวัติ
สถาปนา9 กรกฎาคม 1789
ยุบ30 กันยายน 1791
ก่อนหน้าสมัชชาแห่งชาติ
ถัดมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สมาชิกไม่ตายตัว; สูงสุด 1315 คน
ที่ประชุม
ไม่ตายตัว

ประวัติ

แก้

ฐานันดรที่สาม (สามัญชน) ไม่พอใจระบบการลงคะแนนเสียงในสภาฐานันดร จึงแยกออกมาตั้งสภาเป็นของตัวเองชื่อว่าสมัชชาแห่งชาติ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พยายามล้มล้างสภานี้แต่ก็ไม่เป็นผล ในที่สุดพระองค์จึงขอร้องให้ฐานันดรที่หนึ่ง (พระสงฆ์) และฐานันดรที่สอง (ขุนนาง) เข้าร่วมประชุมกับสมัชชาแห่งชาติ ฐานันดรพระสงฆ์เกินครึ่งยอมเข้าร่วม แต่ฐานันดรขุนนางยอมเข้าร่วมเพียง 47 คน ในที่สุด สภาใหม่ที่เกิดจากสามฝ่ายนี้จึงใช้ตั้งชื่อว่า "สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ" ในวันที่ 9 กรกฎาคมนั้นเอง ต่อมาภายหลังการทลายคุกบัสตีย์ในวันที่ 14 กรกฎาคม สภาแห่งนี้ก็เริ่มทำหน้าที่เป็นรัฐบาลฝรั่งเศสในตัว

สภาแห่งนี้ไม่ได้กำหนดจำนวนสมาชิกที่แน่นอน ในกลางเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1789 สภานี้มีผู้แทนทั้งหมด 1,177 คน เป็นพระ 295 คน, เป็นขุนนาง 278 คน และเป็นสามัญชน 604 คน ในบางช่วง จำนวนสมาชิกในสภาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึง 1,315 คน

อ้างอิง

แก้
  1. Leo Gershoy, The French Revolution and Napoleon (1964) pp. 107–71