สนามกีฬาสแตมฟอร์ดบริดจ์

สแตมฟอร์ดบริดจ์ (อังกฤษ: Stamford Bridge) เป็นสนามฟุตบอลในเขตฟูลัม ติดกับเขตเชลซีในลอนดอนตะวันตก เป็นสนามเหย้าของเชลซี ด้วยความจุ 40,341 ที่นั่ง เป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2022–23 และเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับ 11 ในอังกฤษ

สแตมฟอร์ดบริดจ์
The Bridge
ภาพถ่ายบนสนามสแตมฟอร์ดบริดจ์
แผนที่
ชื่อเต็มStamford Bridge
ที่ตั้งฟูลัม, ลอนดอน, SW6 1HS
พิกัด51°28′54″N 0°11′28″W / 51.48167°N 0.19111°W / 51.48167; -0.19111
เจ้าของChelsea Pitch Owners plc
ผู้ดำเนินการสโมสรฟุตบอลเชลซี
ที่นั่งพิเศษ51
ความจุ40,341[2][3]
ขนาดสนาม103 x 67 เมตร (112.6 x 73.3 หลา) [4]
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ก่อสร้างพ.ศ. 2419
เปิดใช้สนาม28 เมษายน พ.ศ. 2420[1]
ปรับปรุง1904–1905, 1998
สถาปนิกArchibald Leitch (1887)
การใช้งาน
London Athletics Club (1877-1904)
สโมสรฟุตบอลเชลซี (ค.ศ. 1905–ปัจจุบัน)
London Monarchs (NFL Europe) (1997)

เปิดใช้ในปี ค.ศ. 1877 สนามถูกใช้โดยสโมสรกีฬาลอนดอนจนถึงปี ค.ศ. 1905 เมื่อเจ้าของคนใหม่คือ กัส เมียร์ส ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเชลซีเพื่อครอบครองสนาม เชลซีเล่นเกมเหย้าที่นั่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สนามมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดในช่วงทศวรรษที่ 1990 ได้มีการปรับปรุงให้เป็นสนามฟุตบอลที่ทันสมัยแบบมีที่นั่งทั้งหมด

สแตมฟอร์ด บริดจ์เคยเป็นสนามฟุตบอลสำหรับแมตช์ทีมชาติของทีมชาติอังกฤษ, เอฟเอ คัพ รอบชิงชนะเลิศ, เอฟเอ คัพ รอบรองชนะเลิศ และเกมแชริตี้ ชิลด์ จำนวนผู้ชมสูงสุดอย่างเป็นทางการของสนามคือ 82,905 คน เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 ระหว่างเชลซีและอาร์เซนอลเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1935

โครงการสนามใหม่

แก้

อนาคตสโมสรได้เสนอยื่นเรื่องขอซื้อที่ดินบริเวณโรงไฟฟ้าเก่าแบทเทอร์ซี ที่มีพื้นที่ขนาด 39 เอเคอร์ ย่านชานกรุงลอนดอน เพื่อเดินหน้าโครงการก่อสร้างสนามเหย่าแห่งใหม่ โดยจะมาปรับแต่งให้กลายเป็นสังเวียนแข้งขนาดใหญ่รองรับแฟนบอลได้กว่า 60,000 ที่นั่ง

อ้างอิง

แก้
  1. Stadium History chelseafc.com
  2. "General Club Information" (ภาษาอังกฤษ). | site=chelseafc.com.
  3. "Premier League Handbook 2020/21" (PDF). Premier League. p. 12. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  4. CLUB INFORMATION chelseafc.com