สนามกีฬาพระราเมศวร
สนามกีฬาพระราเมศวร เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ประจำจังหวัดลพบุรี เป็นสนามกีฬาระดับมาตรฐานแห่งหนึ่งที่ใช้ในการจัดแข่งขันกีฬาระดับจังหวัดหรือระดับภูมิภาคหรือองค์กรต่าง ๆ และยังเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนและออกกำลังกายของชาวลพบุรี สนามกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่บน ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ด้านหลังศาลากลางจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีสนามต่าง ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาหลากหลายประเภท ปัจจุบันบริหารงานโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี
ที่ตั้ง | จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย |
---|---|
พิกัด | 14°48′03″N 100°38′51″E / 14.800862°N 100.647405°E |
เจ้าของ | องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี |
ผู้ดำเนินการ | องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี |
ความจุ | 5,500[1] |
พื้นผิว | หญ้า |
การใช้งาน | |
สโมสรฟุตบอลลพบุรี (พ.ศ. 2523–2558) สโมสรฟุตบอลลพบุรี ซิตี้ (พ.ศ. 2565–) |
อาคารสถานที่
แก้สนามกีฬาพระราเมศวรมีสนามแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ดังนี้
- สระว่ายน้ำจามเทวี มีขนาด 50 เมตร เป็นสระว่ายน้ำระดับมาตรฐานและมีบริการสอนว่ายน้ำ จากชมรมว่ายน้ำจังหวัดลพบุรี ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ดูแล
- สนามฟุตบอล มี 3 สนาม ได้แก่ 1.สนามฟุตบอล1 2.สนามฟุตบอล2 3.สนามฟุตบอล3
- สนามฟุตบอล 1 ภายในสนามแบ่งเป็น
- สนามฟุตบอล 1 สนาม สำหรับจัดการแข่งขัน
- สนามลู่วิ่งกรีฑา จำนวน 8 ลู่ สำหรับการแข่งขันและการออกกำลังเดินวิ่ง
- บ่อทราย 2 บ่อ สำหรับการแข่งขันกรีฑา
- สิ่งก่อสร้างโดยรอบสนามฟุตบอล 1 ประกอบไปด้วย
- อัฒจันทร์ประธาน
- อัฒจันทร์กองเชียร์
- อัฒจันทร์แปรอักษร
- ไฟฟ้าส่องสว่าง
- สนามฟุตบอล 2 เป็นสนามฟุตบอล สำหรับประชาชนทั่วไป และสำหรับกิจกรรมอื่นๆ
- สนามฟุตบอล 3 เป็นสนามฟุตบอล สำหรับประชาชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี พร้อมไฟส่องสว่าง และสำหรับกิจกรรมอื่นๆ
- สนามแบดมินตัน สนามแบดมินตัน มีทั้งหมด 8 คอร์ท อยู่ภายในโรงยิมกาฬวรรณดิส สนามกีฬาจังหวัดลพบุรี
- ห้องบริหารกล้ามเนื้อ (เวทเทรนนิ่ง) ตั้งอยู่ภายในโรงยิมกาฬวรรณดิส ห้องบริหารกล้ามเนื้อ มีให้บริการ 2 ห้อง ห้องฟรีเวท และ เวทแมชชีน
- ห้องบริหารหัวใจ (คาร์ดิโอ) ตั้งอยู่ภายในโรงยิมกาฬวรรณดิส มีให้บริการ 2 ห้อง
- สนามเทเบิลเทนนิส สนามเทเบิลเทนนิส มี 4 โต๊ะ อยู่บนชั้น 2 ภายในโรงยิมกาฬวรรณดิส
- สนามบาสเก็ตบอล มี 1 สนาม พร้อมไฟฟ้าส่องสว่าง ติดกับ โรงยิมกาฬวรรณดิส
- สนามเทนนิส สนามเทนนิส มีทั้งสิ้น 4 คอร์ท
- สนามฟุตซอล มี 1 สนาม พร้อมโดมหลังคาคลุมกันแดดและไฟฟ้าส่องสว่าง
- สนามฟุตซอลดาดฟ้า มี 2 สนาม อยู่ชั้นบนสุดดาดฟ้าอาคารจอดรถยนต์ 3 ชั้น
- สนามเปตอง มี 8 สนาม ตั้งอยู่ข้างโรงยิมพิสุทธิธรรมธาดา
- เต้นแอโรบิค ตั้งอยู่ลานหน้าอาคารศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน
- รำไทเก็ก ตั้งอยู่ที่อาคารเอนกประสงค์ อยู่ระหว่าง สนามบาสและสนามฟุตซอล
นอกจากนี้ยังมีอาคารจอดรถยนต์ 3 ชั้นซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้จำนวน 240 คัน และยังมีที่จอดรถเพิ่มเติมบริเวณโดยรอบสระว่ายน้ำจามเทวีสำหรับรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ภายในสนามกีฬาพระราเมศวรยังเป็นที่ตั้งของส่วนราชการสองแห่งในจังหวัดลพบุรีได้แก่สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลพบุรีและสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดลพบุรี
สนามแข่งขันฟุตบอลลีก
แก้สนามกีฬาพระราเมศวรเคยเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลลพบุรีจนกระทั่งสโมสรพักทีมหลังจบฤดูกาลแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2558 ต่อมาใน พ.ศ. 2562 มีรายงานข่าวว่าอาร์มี่ ยูไนเต็ดในไทยลีก 2 จะย้ายมาใช้สนามนี้แข่งขันในฤดูกาล 2563[1] อย่างไรก็ตาม อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการกองทัพบกในขณะนั้นได้ประกาศยุบสโมสรอาร์มี่ ยูไนเต็ด[2] สนามกีฬาพระราเมศวรจึงยังไม่มีสโมสรใดเป็นสนามเหย้าจนกระทั่งเมื่อลพบุรี ซิตี้แข่งขันได้อันดับรองชนะเลิศไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีกโซนภาคตะวันตกในฤดูกาล 2565 และได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3 สโมสรได้เลือกใช้สนามกีฬาพระราเมศวรแข่งขันในฤดูกาล 2565–66
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "เผยสนามใหม่ อาร์มี่ ย้ายมาใช้แห่งนี้เป็นรังเหย้า!!". nutnaldo. SMMSPORT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-01. สืบค้นเมื่อ November 28, 2019.
- ↑ "ตัวแทนอาร์มี่! ไทยลีก ยัน ระนอง เลื่อนขึ้นลีกพระรอง". supersubthailand.com. 13 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)